ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิศวกรรมเคมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Colonne distillazione.jpg|thumb|right|250px|วิศวกรเคมีออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตทางเคมี]]
 
'''วิศวกรรมเคมี''' ({{lang-en|chemical engineering}}) เป็นการประยุกต์ใช้[[วิทยาศาสตร์]], [[คณิตศาสตร์]], [[ของไหล]], [[การแลกเปลี่ยนความร้อน]]และ และ[[เศรษฐศาสตร์]] กับกระบวนการเปลี่ยนวัตถุดิบ หรือ [[เคมีภัณฑ์]] ให้อยู่ในรูปที่มีประโยชน์
 
วิศวกรรมเคมีเป็นวิชาที่ว่าด้วยการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมีในระดับมหภาพ '''วิศวกรเคมี'''ที่ทำงานในด้านการควบคุมกระบวนการมักจะถูกเรียกว่า'''วิศวกรกระบวนการ (Process Engineer) '''
 
== การเรียนการสอนในประเทศไทย ==
 
มีการเรียนการสอนครั้งแรกโดยภาควิชาเคมีเทคนิค [[คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] จากวิสัยทัศน์ของ ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ ที่เห็นว่าอุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมีจะเป็นอุตสาหกรรมที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศ ถึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งภาควิชาเคมีเทคนิคขึ้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาควิชาแรกที่จัดการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมเคมีในประเทศไทย โดยส่งอาจารย์ไปเรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอกสาขาวิศวกรรมเคมีที่สหรัฐอเมริกา และร่างหลักสูตรมาจากหลักสูตรต้นแบบของอเมริกาโดยใช้ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขา[[เคมีวิศวกรรม]] (Bachelor of Science in Chemical Engineering)
 
โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2516 [[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] ได้จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สองในประเทศไทยโดยใช้ชื่อหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) เป็นแห่งแรก ซึ่งต่อมา ในปีพ.ศ. 2517 [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี]] จึงได้ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สามของประเทศไทย และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้หลักสูตรของญี่ปุ่น และต่อมาในปีพ.ศ. 2518 [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ก็ได้จัดการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สี่ของประเทศไทย