ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนการเรียงลำดับในหมวดหมู่:สมเด็จพระราชินี ให้เรียงด้วย ด้วย[[วิกิพีเดีย:ฮอทแคต|ฮอ...
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 5:
 
== พระอิสริยยศ ==
สำหรับพระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถผู้ทรงปกครองประเทศนั้น ส่วนมากมักไม่ได้ใช้พระอิสริยยศ "สมเด็จพระราชา" (King Consort) แม้ว่าจะมีปรากฏบ้างในสมัยก่อน เช่น[[พระเจ้าฟรองซัวที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]]<ref>เมื่อเวลาที่ทรงเสกสมรสกับ[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์]] นั้นพระองค์ยังคงทรงเป็น '''มกุฎราชกุมาร'' (Dauphin) อยู่ แต่รัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ผ่านพระราชบัญญัติให้ออกพระอิสริยยศว่า พระราชาแห่งสกอตแลนด์ (King Consort of Scotland) ดังนั้นพระองค์และพระราชินีแมรีจึงมีพระอิสริยยศว่า Their Majesty the Queen and King of Scotland, Dauphin and Dauphine of France and etc. หลังจากที่ฟรานซิสเสด็จขึ้นครองราชย์บัลลังก์ฝรั่งเศสแล้ว ทั้งสองพระองค์ทรงใช้พระปรมาภิไธยว่า Their Majesty the King and Queen of France, King and Queen of Scotland and etc.</ref> [[พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน]]<ref>เมื่อเวลาที่ทรงเสกสมรสกับ[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ]] นั้นพระองค์ยังไม่ได้ครองราชย์บัลลังก์สเปน แต่สมเด็จพระราชินีนาถแมรีมีพระบรมราชโองการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น "พระราชา" แล้ว นั่นคือพระปรมาภิไธยสำหรับทั้งสองพระองค์คือ Their Majesty the King and Queen of England สังเกตได้ว่า King อยู่หน้า Queen อันต่างจากกรณีของฟรานซิสกับแมรี หลังจากที่ฟิลิปเสด็จขึ้นครองราชย์บัลลังก์สเปนแล้ว พระองค์และแมรีทรงใช้พระปรมาภิไธยว่า Their Majesty the King and Queen of Spain, King and Queen of Portugal, King and Queen of Naples, King and Queen of Spain and of Sicily, King and Queen of England and etc.</ref> ส่วนมากมักทรงได้รับพระราชทานยศ "เจ้าชาย" และมักถวายพระอิสริยยศว่า "เจ้าชายพระราชสวามี" มากกว่า
 
'''สมเด็จพระราชินี''' เป็นพระอิสริยยศที่เท่าเทียมกับ '''สมเด็จพระราชา''' เหมือนดั่งที่ดยุค เท่ากับ ดัชเชส หรือ เจ้าชาย เท่ากับเจ้าหญิง ถ้าหากว่าฝ่ายชายดำรงยศอะไร ฝ่ายหญิงที่สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายก็ย่อมต้องดำรงยศนั้นที่เท่าเทียมกันด้วย สำหรับองค์กษัตริย์นั้น มีทั้งจักรพรรดิ (และจักรพรรดินี) พระราชา (และพระราชินี) เจ้าชาย (และเจ้าหญิง) แต่สำหรับประเทศที่มีระบบ "ผัวเดียวหลายเมีย" polygamy ดังเช่นประเทศไทยเองนั้น มีกฎเกณฑ์มากกว่านั้น มิใช่เพียงว่าเป็นภรรยาของพระมหากษัตริย์และจะเป็นพระราชินีไปเสียหมด
บรรทัด 12:
โดยทั่วไปองค์พระราชสวามีหรือพระมเหสีจะไม่มีพระราชอำนาจในทางการเมือง แม้ว่าพระองค์จะมีพระอิสริยยศในระดับเดียวกันกับองค์พระมหากษัตริย์ก็ตามที อย่างไรก็ตามอาจมีบางกรณีที่พระราชินีในรัชกาลก่อน จะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น[[ผู้สำเร็จราชการ]] ซึ่งนั่นก็หมายความว่าสมเด็จพระราชินีผู้สำเร็จราชการ (Queen Regent) นั้นมีพระราชอำนาจเกือบจะเหมือนและเสมอกับสมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) เลยทีเดียว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็ดังเช่น[[แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ|สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ]] ซึ่งทรงเป็นผู้สำเร็จราชการตลอดระยะเวลาอันยาวนานของกษัตริย์ถึง 4 รัชกาล <ref> (ปลายรัชกาลของพระสวามี ตลอดรัชกาลของพระราชโอรสองค์โต ตลอดรัชกาลของพระราชโอรสพระองค์รอง และตอนต้นของรัชกาลพระราชโอรสพระองค์เล็ก) </ref>
 
อีกบางกรณี แม้องค์พระราชินีจะไม่ทรงว่าราชการเองในฐานะผู้สำเร็จราชการ แต่อาจเป็นในลักษณะ "อำนาจหลังราชบัลลังก์" ก็ได้ พระราชินีที่เข้มแข็งและเฉลียวฉลาด อาจทรงมีอิทธิพลครอบงำเหนือพระราชาที่อ่อนแอได้ ดังเช่น[[มารี อองตัวเนต|สมเด็จพระราชินีมารี อองตัวเนต]] พระมเหสีใน[[สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส]] , [[จักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย|สมเด็จพระจักรพรรดินีซารินาอเล็กซานดรา]] พระมเหสีใน[[สมเด็จพระจักรพรรดิซานิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย]] หรือ [[ราชินีมิน|สมเด็จพระจักรพรรดินีมิน]] พระมเหสีใน [[พระเจ้าโกจง|สมเด็จพระจักรพรรดิโกงจง แห่งเกาหลี]] เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีนี้
 
=== ผู้ปกครองร่วม ===
บรรทัด 22:
ข้อยกเว้นในปัจจุบันคือ [[คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์]] ซึ่งเป็นพระชายาองค์ที่ 2 ของ[[เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์]] สาเหตุจากการที่เป็นหญิงซึ่งเคยหย่ามาแล้ว มีการประกาศล่วงหน้าจากสำนักพระราชวังคลาเรนซ์ว่าหากเมื่อใดที่ชาร์ลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ คามิลล่าจะดำรงพระอิสริยยศเป็น[[เจ้าหญิงพระชายา]] ไม่ใช่สมเด็จพระราชินี แต่อย่างไรก็ตามตามกฎหมายแล้วพระองค์มีสิทธ์โดยถูกต้องที่จะดำรงพระอิสริยยศ '''สมเด็จพระราชินี แห่งสหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์เหนือและประเทศในเครือจักรภพ''' เว้นแต่ทั้งอังกฤษ สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์ และประเทศในเครือจักรภพทั้ง 16 ประเทศจะผ่านกฎหมายป้องกันไม่ให้คามิลลาดำรงยศเป็นพระราชินี ซึ่งเป็นไปได้ยาก ย่อมต้องมีสักประเทศใดประเทศหนึ่งในนั้นที่ไม่มีการผ่านกฎหมายดังกล่าว ท้ายที่สุดคามิลลาก็ยังคงไม่ได้เป็น "ควีนคามิลลา" อยู่ดี{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
เช่นเดียวกับ[[สมเด็จพระจักรพรรดินี]]ก็คือพระอัครมเหสีของ[[สมเด็จพระจักรพรรดิ]] และมียศเหนือกว่าสมเด็จพระราชินี (เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิมียศเหนือกว่า[[สมเด็จพระราชาธิบดี]]) สมเด็จพระจักรพรรดินีก็เช่นเดียวกันกับสมเด็จพระราชินีคือไม่มีพระราชอำนาจในทางการเมือง พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีเพียงเพราะการเสกสมรสเท่านั้น
 
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า '''Queen Consort''' สำหรับพระราชินีประเภทนี้ การแปลภาษาไทยจะขอแปลพระอิสริยยศนี้ว่า สมเด็จพระราชินี หรือ สมเด็จพระราชินีอัครมเหสี