ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่อิโวะจิมะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล การรบ
|ชื่อการรบ= ยุทธการที่อิโวะจิมะ
|สงคราม=[[สงครามโลกครั้งที่สอง]], [[สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก]]
|image=[[ไฟล์:37mm Gun fires against cave positions at Iwo Jima.jpg|275px]]
|caption= ปืนใหญ่ 37 มม. ของสหรัฐยิงใส่ที่ตั้งถ้ำของญี่ปุ่นแนวด้านทิศเหนือของ[[ภูเขาสุริบะชิ]]
บรรทัด 18:
ซ่อนตัว ~3,000 นาย<ref>[[John Toland (author)|John Toland]], ''[[The Rising Sun: The Decline and Fall of the Japanese Empire, 1936–1945]]'', page 669</ref>}}
{{Campaign Ryukyus}}
'''ยุทธการอิโวะจิมะ''' เป็นการรบที่เกิดขึ้นระหว่าง[[สหรัฐอเมริกา]]กับ[[ญี่ปุ่น]]ที่เกาะอิโวะจิมะ ในระหว่างเดือน[[กุมภาพันธ์]] - [[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2488]] และนับเป็นส่วนหนึ่งของ[[สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก]] ฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้วางแผนการรบครั้งนี้ในชื่อ '''ปฏิบัติการดีแทชเมนต์''' (Operation Detachment) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยึดสนามบินที่อยู่บนเกาะนี้ใช้เป็นฐานบินโจมตีประเทศญี่ปุ่น
 
'''ยุทธการที่อิโวะจิมะ''' (19 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม ค.ศ. 1945) เป็นยุทธการสำคัญซึ่งกองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นบกและยึดเกาะ[[อิโวะจิมะ]]จากกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้ในที่สุด การบุกครองของอเมริกา ชื่อรหัส '''ปฏิบัติการดีแทชเมนต์''' ({{lang-en|Operation Detachment}}) มีเป้าหมายยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง
การรบครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการรบที่ดุเดือดที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะ[[กองทัพจักรววรดิญี่ปุ่น]]สร้างแนวป้องกันเกาะไว้อย่างหนาแน่นด้วย[[สนามเพลาะ]]จำนวนมาก [[ปืนใหญ่]]ที่ถูกอำพรางไว้ตามจุดต่างๆ และ[[อุโมงค์]]ที่ขุดไว้รอบเกาะรวมความยาวได้ 18 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังเป็นการโจมตีแผ่นดินแม่ของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกของกองทัพสหรัฐอเมริกา ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้พยายามรักษาเกาะไว้ให้ได้นานที่สุด ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตไปในการรบครั้งนี้กว่า 20,000 จากจำนวนทั้งหมดเกือบ 22,000 คน และเหลือรอดเป็นเชลยเพียง 216 คนเท่านั้น
 
หลังเกิดการสูญเสียอย่างหนักในยุทธการ คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของเกาะกลายเป็นข้อพิพาท เกาะนี้ไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพบกสหรัฐที่จะใช้เป็นพื้นที่พักพลและไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพเรือสหรัฐที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือ ทว่า ผึ้งทะเล (seabee) กองทัพเรือสร้างลานบินขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เป็นลานลงจอดฉุกเฉินสำหรับ[[บี-29]] ของกองทัพอากาศสหรัฐ
ในการรบครั้งนี้ [[โจ โรเซนธัล]] ช่างภาพจาก[[สำนักข่าวเอพี]]ได้ถ่ายภาพ[[การปักธงที่อิโวจิมา|การปักธงชาติสหรัฐอเมริกา]]ของทหารเรือเสนารักษ์และทหาร[[นาวิกโยธินสหรัฐฯ]] ที่ยอด[[เขาสุริบาชิ]] เมื่อวันที่ [[23 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2488]] ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดในการรบครั้งนี้ ที่จริงแล้วภาพดังกล่าวเป็นภาพของการปักธงครั้งที่ 2 ส่วนภาพการปักธงครั้งแรกนั้นเป็นภาพถ่ายของ[[หลุยส์ อาร์. โลว์เวอรี]] ช่างภาพ[[นาวิกโยธินสหรัฐฯ]] เหตุที่มีการปักธง 2 ครั้งก็เพราะว่านายทหารระดับสูงของ[[กองทัพเรือสหรัฐฯ]] ต้องการเก็บธงที่ปักไว้ผืนแรกเป็นที่ระลึก
 
== ลักษณะสมรภูมิ ==
เกาะอิโวะจิมะเป็นเกาะภูเขาไฟซึ่งอยู่ทางใต้กรุง[[โตเกียว]]ไปประมาณ 1,200 กม. (650 ไมล์ทะเล) และอยู่ทางเหนือของ[[เกาะกวม]]ไปประมาณ 1,300 กม. (702 ไมล์ทะเล) และเกือบอยู่กึ่งกลางระหว่างโตเกียวและ[[เกาะไซปัน]] เกาะมีพื้นที่ประมาณ 21 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้ของเกาะอิโวะจิมะคือที่ตั้งของภูเขาสุริบาชิ ซึ่งมียอดเขาสุริบาชิเป็นจุดสูงสุดของเกาะ
 
== ประวัติ ==
[[File:Stars and Stripes on Mount Suribachi (Iwo Jima).jpg|thumb|300px|ทหารอเมริกันกับธงชาติสหรัฐฯ บทยอดเขาสุริบาชิ<br /><small>(ธงในภาพนี้เป็นธงที่ปักในครั้งที่ 2 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าธงที่ปักครั้งแรก)</small>]]
หลังจากที่[[หมู่เกาะมาร์แชล]]ถูกบุกยึดโดยกองทัพอเมริกัน และหมู่[[เกาะทรัก]]ที่อยู่ใกล้กับ[[หมู่เกาะแคโรลีน]] ถูกกองทัพอากาศอเมริกันโจมตีอย่างหนักหน่วงที ใน [[พ.ศ. 2487]] ทำให้กองบัญชาการของญี่ปุ่นต้องทำการวิเคราะห์สถานการณ์รบอีกครั้ง โดยทุกเบาะแสชี้ว่ากองทัพอเมริกันจะมุ่งโจมตีไปที่[[หมู่เกาะมารีนา]]และหมู่เกาะแคโรลีน เพื่อตั้งรับการบุกตรงจุดนั้น จึงมีการตั้งแนวป้องกันชั้นใน ซึ่งเริ่มจากหมู่เกาะแคโรลีนเหยียดขึ้นไปทางเหนือจนถึงหมู่เกาะมารีอานนา และขึ้นเหนือไปอีกจนถึง[[หมู่เกาะโอกะสะวาระ]] ในเดือน[[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2487]] กองพลที่สามสิบเอ็ด นำโดยพลเอก[[ฮิเดะโยชิ โอบาตะ]] จึงถูกเรียกเข้าประจำการแนวป้องกันชั้นในนี้ ส่วนผู้บัญชาการประจำฐานทัพที่[[เกาะชิชิจิมา]]นั้นได้รับแต่งตั้งให้ควบคุมกองกำลังภาคพื้นดินและภาคพื้นสมุทรประจำหมู่เกาะโอกะสะวาระอย่างพอเป็นพิธีเท่านั้น
 
หลังจากที่กองทัพอเมริกันสามารถบุกยึกฐานทัพในหมู่เกาะมาร์แชลในการรบที่[[เกาะเควจลิน]]และ[[เกาะเอนิวิท็อก]]ได้ในเดือน[[กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2487]] กำลังเสริมจากทั้งภาคพื้นดินและภาคพื้นสมุทรจึงถูกส่งมายังเกาะอิโวะจิมะ โดยทหาร 500 นายจากฐานทัพเรือที่[[โยโกะสุกะ]] กับอีก 500 นายจากชิชิจิม่าได้เคลื่อนพลมาถึงเกาะอิโวะจิมะในระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายนในปี 1944 ในเวลาเดียวกันนั้น เมื่อกำลังเสริมจากชิชิจิมาและหมู่เกาะแผ่นดินแม่มาถึงเกาะ กองทัพรักษาการณ์บนเกาะอิโวะจิมะก็มีกำลังพลกว่า 5,000 คน และมีสรรพาวุธเป็นปืนใหญ่ 13 กระบอก, ปืนกลขนาดเบาและหนัก 200 กระบอก และปืนยาว 4,552 กระบอก นอกจากนี้ กองทัพรักษาการณ์ยังครอบครองปินใหญ่ 120 มม. ติดชายฝั่งหลายกระบอก, ปืนต่อสู้อากาศยานขนาดหนัก 12 กระบอก และปืนลำกล้องคู่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 25 มม. อีก 30 กระบอก
 
ความพ่ายแพ้ที่หมู่เกาะมารีอานนาในฤดูร้อนของปี [[พ.ศ. 2487]] ทำให้ญี่ปุ่นยิ่งต้องให้ความสำคัญกับหมู่เกาะโอกาสะวาระ เนื่องจากการเสียหมู่เกาะนี้ไปจะทำให้กองกำลังอเมริกันสามารถทำการโจมตีทางอากาศกับหมู่เกาะบนแผ่นดินแม่ได้ ซึ่งจะรบกวนการผลิตอาวุธสงครามและทำให้ขวัญกำลังใจของประชาชนลดลงอย่างยิ่ง
 
หากแต่ แผนสุดท้ายเพื่อป้องกันเกาะโอกาสะวาระของญี่ปุ่นนั้น เป็นอันต้องตกไป เนื่องด้วยข้อเท็จจริงที่ว่ากองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นนั้นสูญเสียกำลังไปจนแทบไม่เหลือแล้ว และไม่สามารถป้องกันการบุกขึ้นฝั่งของกองทัพอเมริกันได้อีกต่อไป นอกจากนี้ กองกำลังอากาศยานก็ประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก ถึงขนาดที่ แม้ว่าการผลิตเครื่องบินรบของญี่ปุ่นจะไม่ถูกรบกวนด้วยการโจมตีทางอากาศของอเมริกาก็ตาม แต่จำนวนเครื่องบินรบของญี่ปุ่นก็ยังไม่น่าจะถึง 3,000 ลำ ภายในเดือนมีนาคมหรือเมษายน ในปี [[พ.ศ. 2488]] อีกทั้ง เครื่องบินเหล่านี้ก็ไม่สามารถบินจากหมู่เกาะแผ่นดินแม่มาโจมตีเกาะอิโวะจิมะได้ เนื่องจากระยะบินของเครื่องบินนั้นไม่สามารถบินเกินระยะ 900 กม. ได้ นอกจากนี้ เครื่องบินรบที่เหลือทั้งหมดยังต้องถูกนำไปเผื่อไว้ใช้กับ[[ไต้หวัน]]และเกาะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กับฐานทัพอีกด้วย
 
ในการศึกษาหลังสงคราม นายทหารญี่ปุ่นได้อธิบายกลยุทธที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับการป้องกันเกาะอิโวจิม่า โดยยึดหลักดังต่อไปนี้:
 
"''จากสถานการณ์ที่เป็นในตอนนั้น เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการปฏิบัติการณ์ทางบก, ทะเลหรืออากาศใดๆ บนเกาะอิโวะจิมะ แล้วหวังจะประสบกับชัยชนะได้เลย ดังนั้น เพื่อซื้อเวลาที่จำเป็นในการเตรียมการป้องกันมาตุภูมิ กองกำลังของเราจึงควรที่จะพึ่งยุทธปัจจัยที่เอื้อต่อการป้องกันในบริเวณนั้นอย่างเต็มที่ และทำการชะลอการรุกคืบของศัตรูโดยใช้ยุทธวิธีถ่วงเวลา แม้ว่า[[การโจมตีแบบพลีชีพ]]ของทหารกลุ่มเล็กๆ ในกองทัพบก, เครื่องบินพลีชีพในกองทัพเรือ, การจู่โจมสายฟ้าแลบของเรือดำน้ำ และปฏิบัติการณ์ของหน่วย[[พลร่ม]]ของเรา ถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพ แต่ก็ควรถือว่าเป็นเพียงแค่กลยุทธลวงของเราเท่านั้น เป็นความคิดที่น่าหดหู่ที่สุด ว่าเราไม่เหลือช่องทางใดๆ เปิดให้เราได้ใช้กลยุทธใหม่ๆ ที่ได้ผุดขึ้นมาตลอดยุทธการเหล่านี้''"
 
เครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันที่บินมาจากหมู่เกาะมารีอานนา ได้ทำการโจมตีหมู่เกาะแผ่นดินแม่ เป็นประจำทุกวัน (ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งใน[[ยุทธการสคาเวนเจอร์]]) เกาะอิโวะจิมะจึงทำหน้าที่เป็นสถานีเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งจะคอยวิทยุรายงานถึงเครื่องบินที่กำลังใกล้เข้ามา ส่งสัญญาณกลับไปยังแผ่นดินแม่ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นสามารถตระเตรียมการป้องกันทางอากาศเพื่อตั้งรับการทิ้งระเบิดของอเมริกาได้อย่างทันท่วงที
 
หลังจากการรบแห่ง[[เกาะเลเต]]ที่[[ฟิลิปปินส์]]ได้สิ้นสุดลง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเหลือเวลาอีกสองเดือนเต็ม ที่จะเริ่มปฏิบัติการณ์เพื่อเตรียมการบุกยึดเกาะโอกินาวา ในส่วนของเกาะอิโวะจิมะนั้น ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมาก เนื่องจากเกาะนี้เป็นฐานทัพอากาศให้กับเครื่องบินรบญี่ปุ่นที่คอยเข้าสกัดเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล B-29 ทั้งยังเป็นท่าจอดเรือรบญี่ปุ่นในยามฉุกเฉิน การยึดเกาะอิโวะจิมะจะกำจัดปัญหาเหล่านี้ไป และจะปูทางให้กับการบุกยึดแผ่นดินแม่ของญี่ปุ่น การบุกยึดจะทำให้ระยะทางที่ B-29 จะต้องบินลดลงไปเกือบครึ่ง และจะเป็นฐานให้กับเครื่องบินขับไล่มัสแตง P-51 ได้ทำหน้าที่ได้การคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิด ฝ่ายข่าวกรองนั้นมั่นใจว่าอิโวะจิมะจะถูกยึดภายใน 5 วันแน่นอน หารู้ไม่ว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้เตรียมการป้องกันมาอย่างสมบูรณ์แบบ และใช้กลยุทธที่แตกต่างจากการรบที่ผ่านๆ มา การป้องกันนั้นดีมากเสียจนระเบิดเป็นร้อยๆ ตันจากเครื่องบินทิ้งระเบิดและปืนใหญ่ที่ระดมยิงจากเรือรบเป็นพันๆ นัดของฝ่ายพันธมิตร แทบจะทำอะไรกับฝ่ายป้องกันไม่ได้เลย ทั้งยังพร้อมที่จะสร้างความเสียหายกับนาวิกโยธินสหรัฐฯ อย่างร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในสงครามแปซิฟิก เมื่อข้อมูลข่าวกรองเป็นใจ การบุกยึดเกาะอิโวะจิมะจึงได้รับการอนุมัติ โดยการบุกขึ้นหาดมีชื่อรหัสปฏิบัติการว่า "ปฏิบัติการดีแทชเมนต์"
 
== อ้างอิง ==