ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จันทรุปราคา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
:'''L=3''': อุปราคาสีแดงอิฐ เงาอัมบราปกติมีขอบสว่างหรือสีเหลือง
:'''L=4''': อุปราคาสีแดง-ทองแดงหรือส้มสว่างมาก เงาอัมบราสีออกน้ำเงินและขอบสว่างมาก
 
== ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ==
เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากมีการหักเหของแสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก สีของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้
:* ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนแทบมองไม่เห็น
:* ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไม่เห็นรายละเอียด ลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์
:* ระดับ 2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้มบริเวณด้านในของเงามืด และมีสีเหลืองสว่างบริเวณด้านนอกของเงามืด
:* ระดับ 3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐและมีสีเหลืองสว่างบริเวณขอบของเงามืด
:* ระดับ 4 ดวงจันทร์สว่างสีทองแดงหรือสีส้ม ด้านขอบของเงาสว่างมาก
<gallery>
ไฟล์:Lunar-eclipse-09-11-2003.jpeg|จันทรุปราคาเต็มดวง (ระดับ 4)
ไฟล์:Evnt UmbrelMoon40307 02.JPG|จันทรุปราคาเต็มดวง (ขณะเริ่มสัมผัส) เช้ามืดวันที่ [[4 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2550]] มองจาก อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
ไฟล์:Evnt UmbrelMoon40307 01.JPG|จันทรุปราคาเต็มดวง ระดับ 0 เช้ามืดวันที่ [[4 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2550]] มองจาก อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
ไฟล์:December_2009_lunar_eclipse.jpg|จันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2553]] เวลา 02.55 น. มองจาก อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
ไฟล์:Lunar_Eclipse_1st_Jan_2010.jpg|จันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2553]] จาก[[ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์]] ขณะที่[[เงามืด]]เข้าไปใน[[ดวงจันทร์]]ลึกที่สุด
ไฟล์:Lunar eclipse-Bangkok-10Dec2011.jpg|ภาพชุดจันทรุปราคาเต็มดวงในไทย มองจากกรุงเทพมหานคร เมื่อคืนวันที่ [[10 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2554]] ระหว่างเวลา 19.46-20.57 น.
</gallery>
[[ไฟล์:Lunar_eclipse_040307_bangkok.jpg|thumb|400px|left|ภาพชุดจันทรุปราคาเต็มดวงในไทย เช้ามืดวันที่ [[4 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2550]] เกิดการหักเหของแสงเป็นสีส้ม เมื่อใกล้คราสเต็มดวง]]
[[ไฟล์:จันทรุปราคา.gif|800px|thumb|ภาพขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง]]
<br clear="all">
 
== ปัจจัยในการเกิดจันทรุปราคา ==
 
จันทรุปราคาไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องจากระนาบการโคจรของโลกรอบ[[ดวงอาทิตย์]]และระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทำมุมกัน 5 องศา ในการเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง และต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมาก จึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงหรือจันทรุปราคาบางส่วนได้
 
ระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์มีผลต่อความเข้มของจันทรุปราคาด้วย นอกจากนี้ หากดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากโลกมากที่สุด (apogee) จะทำให้ระยะเวลาในการเกิดจันทรุปราคานานขึ้น ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
::1 ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เพราะตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ช้าที่สุดตลอดการโคจรรอบโลก
::2 ดวงจันทร์ที่มองเห็นจากโลกจะมีขนาดเล็ก จะเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกไปทีละน้อย ทำให้อยู่ในเงามืดนานขึ้น
 
ในทุกๆ ปีจะมีจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หากเก็บสถิติการเกิดจันทรุปราคาแล้ว จะสามารถทำนายวันเวลาในการเกิดจันทรุปราคาครั้งต่อไปได้
 
การสังเกตจันทรุปราคาแตกต่างจาก[[สุริยุปราคา]] จันทรุปราคาส่วนใหญ่จะสามารถสังเกตได้จากบริเวณใดๆ บนโลกที่อยู่ในช่วงเวลากลางคืนขณะนั้น ขณะที่สุริยุปราคาจะสามารถสังเกตได้เพียงบริเวณเล็กๆ เท่านั้น
 
หากขึ้นไปยืนอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ขณะที่เกิดจันทรุปราคาบนโลก ก็จะสามารถเห็นการเกิดสุริยุปราคาบนดวงจันทร์ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากการที่โลกกำลังบังดวงอาทิตย์อยู่ในเวลานั้น
 
== การเกิด ==