ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ครีบยันลอย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
[[ไฟล์:Arc.boutant.cathedrale.Amiens.png|thumb|250px|ครีบยันลอยที่[[มหาวิหารอาเมียง]]]]
 
'''ครีบยันลอย'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน. '''พจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.''' กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2554, หน้า 56.</ref> ({{lang-en|flying buttress, arc-boutant}}) ในทาง[[สถาปัตยกรรม]] ครีบยันลอยเป็น[[ครีบยัน]] (Buttress) ประเภทหนึ่งที่มักจะใช้ในการก่อสร้าง[[คริสต์ศาสนสถาน]] โดยเฉพาะกับ[[สถาปัตยกรรมกอทิก]] เพื่อแบ่งรับน้ำหนักจากหลังคามาสู่ครีบยันที่กระจายออกไปเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะเป็น[[ช่องทางเดิน|ช่องทางเดินข้าง]] (aisle) คูหาสวดมนต์ หรือระเบียงนอกสิ่งก่อสร้าง ครีบยันลอยต่างกับครีบยันตรงที่จะมีลักษณะที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งหรือแนบกับตัวสิ่งก่อสร้างของครีบยัน การใช้ครีบยันลอยทำให้ทุ่นการรับน้ำหนักหรือแรงกดดันกำแพงที่แต่เดิมต้องรับน้ำหนักและความกดดันทั้งหมด จึงทำให้สามารถทำหน้าต่างได้กว้างขึ้นได้ ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นโดยไม่มีครีบยันลอยก็จะทำให้กำแพงไม่แข็งแรง
 
จุดประสงค์ของครีบยันลอยก็เพื่อช่วยลดน้ำหนักกดดันของกำแพงทางเดินกลาง แรงกดดันและน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ส่วนบนของครีบยันฉะนั้นเมื่อทำครีบยันเป็นครึ่งซุ้มโค้งก็ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้เท่า ๆ กับครีบยันที่ตัน นอกจากนั้นยังทำให้ครีบยันเบาขึ้นและราคาถูกกว่าที่จะสร้าง ฉะนั้นกำแพงจึง “บิน” (flying) ออกไปจากสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นกำแพงทึบ จึงทำให้เรียกกันว่า “ครีบยันลอย”