ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาร์กาเร็ต ทิวดอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 115:
โดยในสาระสำคัญแล้ว สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตยังคงเป็นสตรีชาวอังกฤษทั้งในมุมมองและทัศนคติ และในความเป็นจริงพ ะรนางทรงต้องการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมาตุภูมิของพระนางกับแผ่นดินที่พระนางพำนัก มีความจำเป็นที่ทรงต้องเป็นพันธมิตรกับออลบานีและฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งความสัมพันธ์ได้ถูกทำลายหลังจากสงครามชายแดนกับอังกฤษในช่วงต้นทศวรรษที่ 1520 แต่ในไม่ช้าออลบานีก็แสดงตัวออกมาเป็นผู้นำมากกว่าพระประสงค์ของพระนางมาร์กาเร็ตที่ทรงต้องการสร้างฝักฝ่ายของพระนางขึ้นมาด้วยตัวพระนางเอง ที่สุดแล้วในปีค.ศ. 1524 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ถูกปลดออกจากอำนาจจากการ[[รัฐประหาร]]ที่เรียบง่าย โดยออลบานีต้องเดินทางไปฝรั่งเศสอีกครั้ง (ที่ซึ่งเขาถึงแก่กรรมในปีค.ศ. 1536) พระนางมาร์กาเร็ตทรงได้รับความช่วยเหลือจากเอิร์ลแห่งอาร์รันและตระกูลแฮมิลตันในการนำพระเจ้าเจมส์ ซึ่งในขณะนี้มีพระชนมายุ 12 พรรษา จากสเตอร์ลิงมาสู่เอดินเบอระ<ref name=ashley/> นับเป็นการเคลื่อนไหวที่กล้าหาญและโด่งดัง ในเดือนสิงหาคม รัฐสภาได้ประกาศให้การสำเร็จราชการแทนพระองค์สิ้นสุดลง และพระเจ้าเจมส์ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ แต่ในทางปฏิบัติพระเจ้าเจมส์ก็ยังทรงถูกควบคุมโดยบุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชมารดา เมื่อ บีตัน อาร์กบิชอปแห่งกลาสโกว์ได้ออกมาต่อต้านการเตรียมการเช่นนี้ พระนางมาร์กาเร็ตจจึงทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้จับกุมเขาและนำเขาไปที่คุมขัง ในเดือนพฤศจิกายน รัฐสภาได้รับรองพระนางมาร์กาเร็ตอย่างเป็นทางการในฐานะประธานคณะที่ปรึกษาในพระมหากษัตริย์
 
การเป็นพันธมิตรของพระนางมาร์กาเร็ตกับอาร์รันได้สร้างความแตกแยกในหมู่ขุนนางตระกูลอื่นๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถานการณ์ของพระนางเองก็ไม่ได้ผ่อนคลายความตึงเครียดลงเมื่อพระอนุชาของพระนางทรงอนุญาตให้แองกัสกลับมาสกอตแลนด์ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้บ้างอยู่เหนือการควบคุมของพระนาง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมาก พระนางทรงมีความรักครั้งใหม่ ซึ่งก็คือ[[เฮนรี สจวต ลอร์ดเม็ทเวนที่ 1|เฮนรี สจวต]] น้องชายของ[[แอนดรู สจวต ลอร์ดเอวอนเดลที่ 2|ลอร์ดเอวอนเดล]] สจวตได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานอาวุโส ซึ่งสร้างความขุ่นเคืองแก่[[เอิร์ลแห่งเล็นน็อกซ์]] และคนอื่นๆ ซึ่งพยายามเข้ามาเป็นพันธมิตรกับพระสวามีที่แยกห่างกันของพระนาง ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน เมื่อรัฐสภายอมรับในตำแหน่งทางการเมืองของพระนางมาร์กาเร็ต สงครามระหว่างพระนางมาร์กาเร็ตและแองกัสก็กลายเป็นเรื่องขบขันที่เกี่ยวกับการฆาตกรรม เมื่อเขาเดินทางมาถึงเอดินเบอระพร้อมทหารจำนวนมาก โดยเขาพยายามอ้างสิทธิในการเข้าไปในรัฐสภา พระนางทรงสั่งให้ปืนใหญ่ยิงใส่เขาจากทั้ง[[ปราสาทเอดินเบอระ]]และ[[พระราชวังฮอลีรูด]] เมื่อทูตอังกฤษสองคนคือ [[โทมัส แม็กนัส]]และโรเจอร์ แร็ดคลิฟฟ์ ได้ปรากฎตัวที่ราชสำนัก และได้ค้านว่า พระนางไม่ควรโจมตีพระสวามีที่ชอบด้วยกฎหมาย พระนางทรงตอบพวกเขาด้วยความพิโรธว่า "กลับบ้านไปซะแล้วไม่ต้องเขามายุ่งในเรื่องของคนสกอต" แองกัสถอนทัพออกไปในเวลานั้น แต่ภายใต้แรงกดดันจากหลายๆปัจจัย ในที่สุดสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตก็ทรงต้องรับเขาเข้ามาในฐานะสมาชิกสภาผู้สำเร็จราชการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1525 ซึ่งเป็นอำนาจที่เขาต้องการ ในการดูแลพระเจ้าเจมส์นั้น เขาปฏิเสธที่จะยอมอ่อนข้อ ในการโดยเขาใช้อำนาจอย่างเต็มที่ในนามพระองค์ตลอดระยะเวลาสามปี ประสบการณ์ของพระเจ้าเจมส์ในช่วงนี้ได้ทิ้งให้พระองค์มีความเกลียดชังอย่างตลอดกาลของทั้งตระกูลดักลาสและฝ่ายอังกฤษ
==ทรงหย่าและเสกสมรส==
[[ไฟล์:Margaret Tudor - Daniel Mytens - 1620-38.jpg|250px|thumb|พระนางมาร์กาเร็ตในช่วงปีค.ศ. 1520 - 1538 วาดโดย[[ดานีล มิจเทนส์]]]]
พระนางมาร์กาเร็ตทรงพยายามต่อต้านแต่ทรงถูกบังคับให้ยอมรับในสภาพความเป็นจริงทางการเมืองใหม่นี้ นอกจากนั้นในช่วงนี้ความปรารถนาของพระนางในการหย่าร้างได้เข้ามาครอบงำเหนือเรื่องอื่นๆ พระนางทรงพยายามที่จะใช้ข้อโต้แย้งรวมทั้งตำนานที่ถูกเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ไม่ได้สวรรคตที่ฟลอดเดน แม้จะมีการรัฐประหารในปีค.ศ. 1524 พระนางก็ยังทรงร่วมมือกับออลบานีอยู่เสมอ ซึ่งเขาพยายามทำตามพระราชประสงค์ของพระนางในปฏิบัติการที่โรม ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1527 [[สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7]] ทรงตอบรับคำขอของพระนาง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของยุโรปในขณะนั้นไม่มีความมั่นคงจนกระทั่งเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นความโชคดีของพระนาง พระนางเสกสมรสกับเฮนรี สจวต ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1528 โดยไม่ทรงสนพระทัยคำเตือนที่เคร่งศาสนาของพระอนุชา ที่ทรงมองว่า การสมรสคือ 'พระลิขิตของพระเจ้า' และพระองค์ทรงต่อต้าน 'คำตัดสินที่น่าละอายซึ่งส่งมาจากโรม' ในอีกไม่กี่ปีต่อมา พระเจ้าเฮนรีทรงแตกหักกับโรมอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากพระองค์ไม่ได้รับ 'คำตัดสินที่น่าละอาย' ในแบบเดียวกับพระเชษฐภคินี (ทรงต้องการหย่า)
 
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1528 ในที่สุดพระเจ้าเจมส์ที่ 5 ทรงปลดแอกพระองค์เองจากการปกครองของแองกัส ผู้ซึ่งต้องลี้ภัยอีกครั้ง และพระองค์ทรงเริ่มใช้พระราชอำนาจด้วยพระองค์เอง พระนางมาร์กาเร้ตทรงได้ประโยชน์ในช่วงต้นของการรัฐประหารนี้ พระนางและพระสวามีได้เป็นที่ปรึกษาในองค์พระมหากษัตริย์ พระเจ้าเจมส์ทรงแต่งต้งสจวตให้เป็น[[ลอร์ดเม็ทเวน]] "สำหรับความรักที่เขาได้มอบให้พระมารดาที่รักยิ่งของพระองค์" มีการเล่าลือซึ่งไม่มีมูลว่า สมเด็จพระพันปีหลวงมีพระราชประสงค์ให้พระราชโอรสอภิเษกสมรสกับ [[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ|เจ้าหญิงแมรีแห่งอังกฤษ]] พระราชนัดดาของพระนาง แต่พระนางก็ทรงเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ข้อตกลงสันติภาพอังกฤษ-สกอตแลนด์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1534
 
จุดมุ่งหมายในพระชนม์ชีพทางการเมืองของพระนางมาร์กาเร็ต นอกเหนือจากความมั่นพระทัยว่าพระนางทรงสามารถอยู่รอดได้ ก็คือการนำมาซึ่งความเข้าใจอันดีระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระนางทรงผ่านมาได้อย่างยากลำบาก พระเจ้าเจมส์ไม่ทรงวางพระทัยในพระเจ้าเฮนรี พระมาตุลา เนื่องจากพระองค์ยังทรงสนับสนุนแองกัส ผู้ซึ่งพระเจ้าเจมส์ทรงเกลียดชังอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็๋นเช่นนั้น แต่ในช่วงต้นปีค.ศ. 1536 พระมารดาของพระองค์ได้โน้มน้าวให้พระองค์พบกับพระอนุชาของพระนาง นับเป็นช่วงเวลาที่พระนางประสบความสำเร็จและทรงเขียนถึงพระเจ้าเฮนรีและ[[โทมัส ครอมเวล]] ซึ่งเป็นประธานคณะที่ปรึกษาอังกฤษในขณะนั้น โดยทรงบอกว่ามันเป็น "คำแนะนำของเราและไม่มีบุคคลอื่นใดอีก" พระนางทรงมองหาโอกาสวาระที่ยิ่งใหญ่ดังเช่น [[การพบปะที่ทุ่งภูษาทอง]]และทรงใช้พระราชทรัพย์จำนวนมากในการจัดเตรียม แต่ในท้านที่สุดก็ไม่เกิดสิ่งใดขึ้นเนื่องจากมีเสียงคัดค้านจำนวนมากและข้อค้านที่ว่าพระเจ้าเจมส์ไม่ควรถูกควบคุมโดยพระมารดาหรือคนอื่นใด ในการพูดคุยส่วนพระองค์กับ[[วิลเลียม ฮอเวิร์ด บารอนฮอเวิร์ดที่ 1 แห่งเอฟฟิงแฮม|วิลเลียม ฮอเวิร์ด]] ทูตอังกฤษ ได้รับุว่า พระนางทรงผิดหวังอย่างเห็นได้ชัด ทรงสารภาพว่า "ข้าเบื่อและเหนื่อยกับสกอตแลนด์จริงๆ"<ref>[http://books.google.co.uk/books?id=pM0_AAAAcAAJ&source=gbs_navlinks_s ''State Papers Henry VIII'', vol. 5, part IV part 2 (1836)] p. 48</ref> ความเบื่อหน่ายของพระนางได้นำไปสู่การทรยศพระเจ้าเฮนรีอย่างลับๆ
 
ความเบื่อหน่ายสกอตแลนด์ที่ทรงได้รับ และตอนนี้พระนางทรงต้องเหน็ดเหนื่อยกับลอร์ดเม็ทเวนมากขึ้น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเขานั้นเลวร้ายยิ่งกว่าแองกัสซึ่งเขาปรารถนาในหญิงอื่นและพระราชทรัพย์ของพระนางด้วย นอกจากนี้พระธิดาเพียงองค์เดียว (น่าจะมีนามว่า โดโรเธีย สจวต) ก็เสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์<ref>[http://www.scottsboropower.com/~piercedc/lord.html Biography of Lord Methven in Scottsboropower.com]</ref><ref>[http://englishhistory.net/tudor/genealogy.html Genealogy of the House of Tudor]</ref> พระนางทรงพยายามดำเนินการหย่าร้างตามกฎหมายอีกครั้งแต่พระเจ้าเจมส์ไม่ทรงเห็นด้วย ซึ่งพระนางทรงเชื่อว่าพระสวามีของพระนางได้ติดสินบนไว้ พระชนม์ชีพของพระนางมาร์กาเร็ตมักจะไม่มีความสุขและเป็นเรื่องโศกนาฎกรรมที่ตามติดมาด้วยอุบายและเรื่องชวนหัว ในจุดนี้พระนางทรงพยายามหลบหนีไปยังชายแดน แต่ก็ทรงถูกจับกุมและนำพระองค์กลับมาเอดินเบอระ และพระนางทรงเขียนจดหมายถึงพระเจ้าเฮนรีอีกครั้ง ทรงอธิบายถึงความทุกข์ยากของพระนางและทรงวิงวอนขอทรัพย์และความคุ้มครอง พระนางทรงปรารถนาที่จะมีพระชนม์ชีพอย่างสุขสบาย แทนที่จะถูกบังคับ "ให้ปฏิบัติตามพระโอรสเหมือนกับสุภาพสตรีที่ทุกข์ยาก"
 
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1538 สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตทรงต้อนรับ[[แมรีแห่งแห่งกีส สมเด็จพระราชินีแห่งสกอตแลนด์|แมรีแห่งแห่งกีส]] พระมเหสีจากฝรั่งเศสพระองค์ใหม่ของพระเจ้าเจมส์ สตรีทั้งสองพระองค์นี้ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเกรงขามที่สุดในประวัติศาสตร์สกอตแลนด์ ได้สร้างความเข้าใจอันดี สมเด็จพระราชินีแมรีทรงพยายามทำให้มั่นพระทัยว่าพระสัสสุ ซึ่งในตอนนี้ทรงประนีประนอมกับลอร์ดเม็ทเวลแล้ว จะทรงปรากฎพระองค์ในราชสำนักบ่อยขึ้น และได้มีรายงานถึงพระเจ้าเฮนรีว่า "พระราชินีสาวทรงเป็นโรมันคาทอลิกทั้งกายและใจและพระราชินีชราก็ไม่ทรงน้อยไปกว่ากัน"
 
==สิ้นพระชนม์==
[[ไฟล์:Methven Castle.jpg|thumb|left|ปราสาทเม็ทเวน]]
สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตสิ้นพระชนม์ที่[[ปราสาทเม็ทเวน]] ใน[[เพิร์ทเชอร์]] วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1541 เฮนรี เรย์ ตำแหน่ง[[Berwick Pursuivant]] ได้รายงานว่า พระนางทรงเป็นอัมพาตในวันศุกร์และทรงสิ้นพระชนม์ในวันอังคารถัดมา เนื่องจากพระนางทรงเชื่อว่าพระนางจะทรงหายจากอาการประชวร พระนางจึงไม่ทรงทำพระราชพินัยกรรม พระนางทรงส่งจดหมายถึงพระเจ้าเจมส์ ซึ่งประทับอยู่ที่[[พระราชวังฟอล์กแลนด์]] แต่พระองค์ก็เสด็จมาไม่ทันเวลา ขณะใกล้สิ้นพระชนม์พระนางประสงค์ให้บาทหลวงที่เข้ามาประกอบพิธีแสวงหาวิธีที่ทำให้พระมหากษัตริย์และเอิร์ลแห่งแองกัสปรองดองกันได้ พระนางทรงหวังว่าพระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ของพระนางให้กับเลดีมาร์กาเร็ต ดักลาส ธิดาของพระนาง พระเจ้าเจมส์เสด็จมาถึงหลังจากที่พระนางสิ้นพระชนม์แล้ว และพระองค์ทรงมีพระบัญชาให้[[โอลิเวอร์ ซินแคลร์]]และ[[จอห์น เทนเนนท์]] จัดเก็บทรัพย์สินของพระนาง<ref>''State Papers Henry VIII'', vol. 5 part 2 cont., (1836), 193-4, Ray to Privy Council.</ref> พระสพของพระนางถูกฝังที่โบสถ์เซนต์จอห์น[[คณะคาร์ทูเซียน]]ใน[[เพิร์ท, สกอตแลนด์|เพิร์ท]] (โบสถ์ถูกทำลายในระหว่าง[[การปฏิรูปศาสนาสกอตแลนด์]] ค.ศ. 1559)
 
ต่อมาราชวงศ์ทิวดอร์สิ้นสุดลงโดย[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ]] ไม่ทรงมีรัชทายาท และสายสืบราชสันตติวงศ์อังกฤษได้ถูกผ่านมายังสายสันตติวงศ์ของพระนางมาร์กาเร็ต พระปนัดดาของพระนางคือ พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ได้กลายเป็น [[พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ]] ดังนั้นถือเป็นการรวมราชบัลลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักรและเป็นชัยชนะของพระนางมาร์กาเร็ตหลังจากที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว
==พระราชตระกูล==
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}