ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายขนมต้ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด ลบคอมเมนต์
บรรทัด 2:
''สำหรับ[[ละครโทรทัศน์]]ดูที่: [[นายขนมต้ม (ละครโทรทัศน์)]]''
 
'''นายขนมต้ม''' ([[พ.ศ. 2293]] — ?) เป็นนัก[[มวยคาดเชือก]]ชาว[[กรุงศรีอยุธยา]] เกิดที่ตำบลบ้านกุ่ม [[อำเภอบางบาล]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]<ref>[http://travel.mthai.com/travel-news/41048.html เที่ยวบ้านเกิดนายขนมต้ม]</ref> เป็นบุตรนายเกิด และนางอี่ มีพี่สาวชื่อนางเอื้อย<ref>[http://gotoknow.org/blog/pongsupa/14488 ฉลอง ๑๐๐ บางบาลสืบสานบรรพชน"นายขนมต้ม"]</ref> ทั้งพ่อแม่และพี่ถูกพม่าฆ่าตายหมด และต้องไปอยู่วัดตั้งแต่เล็ก นายขนมต้มถูก[[พม่า]]กวาดต้อนไปเชลยในระหว่าง[[เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2]]
 
นายขนมต้มมีชื่อเสียงในเชิงมวยเป็นที่เลื่องลือ ในพงศาวดารบันทึกว่า
 
{{คำพูด|เมื่อ[[พระเจ้ามังระ]]โปรดให้ปฏิสังขรณ์และก่อเสริม[[พระเจดีย์ชเวดากอง]]ในเมือง[[ย่างกุ้ง]]เป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ. 2317 พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ 17 มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร
ขุนนางพม่ากราบทูลว่า "นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก" พระเจ้ามังระจึงตรัสสั่งให้เอาตัวนายขนมต้ม นักมวยดีมีฝีมือตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาถวาย พระเจ้ามังระได้ให้จัดมวยพม่าเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้ม โดยจัดให้ชกต่อหน้าพระที่นั่ง ปรากฏว่านายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึงยกก็แพ้ถึงเก้าคนสิบคนก็สู้ไม่ได้ พระเจ้ามังระทอดพระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระตรัสสรรเสริญนายขนมต้มว่า “คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้”<ref name="ขนมต้ม">สมบัติ สวางควัฒน์. (2554). '''ย้อนตำนานแวดวงมวยไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน'''. สำนักพิมพ์ ก้าวแรก. ISBN 978-616-7446-13-4. หน้า 138-139</ref>
}}
 
หลังจากนายขนมต้มได้เอาชนะนักมวยพม่าแล้ว พระเจ้ามังระได้ปูบำเหน็จแก่นายขนมต้มโดยแต่งตั้งเป็นข้ารับใช้ในกรุงอังวะแต่นายขนมต้มกลับปฏิเสธและขอให้พระเจ้ามังระปลดปล่อยตนและเชลยคนไทยทั้งหมดให้เป็นอิสระเพื่อกลับบ้านเกิด พระเจ้ามังระก็ยอมทำตามความประสงค์ ในที่สุดนายขนมต้มและเหล่าเชลยคนไทยก็ได้รับอิสระภาพและกลับไปยังบ้านเกิดก็คือแผ่นดินไทยที่มีกรุงธนบุรีเป็นราชธานีโดยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีนามว่า ตากสินมหาราช นายขนมต้มก็ได้อาศัยอยู่บ้านเกิดอย่างสงบแต่ไม่ทราบว่าเสียชีวิตไปเมื่อใด
 
เหตุการณ์ที่นายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่า เมื่อวันที่ [[17 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2317]] ได้เคยมีการจัดให้วันที่ 17 มีนาคม เป็น[[วันมวยไทย]] เพื่อเป็นเกียรติประวัติต่อ[[นักมวยไทย]]<ref name="ขนมต้ม" /> นอกจากนี้ ชาวพระนครศรีอยุธยาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นายขนมต้ม ไว้ที่บริเวณสนามกีฬากลาง [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]<ref>[http://ayutthaya.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=538838108&Ntype=3 งานวันนายขนมต้ม]</ref>
บรรทัด 16:
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
ดะ่ด้่แเ่แั้ปั่พั่ปดั่
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/nomtom/nomtom.html ข้อมูลภาพยนตร์ นายขนมต้ม (2546)]
 
{{เกิดปี|2293}}{{ตายปี|}}
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:นักมวยไทยชาวไทยยุคคาดเชือก|ขนมต้ม]]