ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญางำเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
}}
 
'''พญางำเมือง'''<ref>[[ประเสริฐ ณ นคร]]. (2549, กุมภาพันธ์). ''ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด.'' กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 269.</ref> ({{lang-nod|ᨻᩕ᩠ᨿᩣᨦᩴᩣᨾᩮᩧ᩠ᩋᨦ}}) หรือ '''พระยางำเมือง'''<ref>[[ประเสริฐ ณ นคร]]. (2549, กุมภาพันธ์). ''ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด.'' กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 234.</ref> '' พระราชโอรสของ[[พญามิ่งเมือง]] ประสูติ เมื่อปี [[พ.ศ. 1781]] (จ.ศ. 600) เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษา ได้ไปศึกษาเล่าเรียน ศึกษาศาสตร์เพท ในสำนักอิสติน อยู่ภูเขาดอยด้วน เรียนอยู่ 2 ปี ครั้นพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ไปศึกษาศิลปศาสตร์ ในสำนักสุกทันตฤๅษี กรุงละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วม สำนักเดียวกับ [[พญามังรายมหาราช]] และ [[พ่อขุนรามคำแหง]] พระร่วงเจ้าแห่ง[[กรุงสุโขทัย]] จึงสนิทสนมร่วมผูกไมตรี เป็นพระสหายตั้งแต่นั้นมา
 
ปี [[พ.ศ. 1801]] (จ.ศ. 620) พญามิ่งเมืองสิ้นพระชนม์ จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแทน พญางำเมือง เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีอิทธิฤทธิ์มาก เมื่อพระองค์เสด็จ ไปทางไหน "แดดก่บ่ร้อน ฝนก่บ่รำ จักหื้อบดก่บด จักหื้อแดดก่แดด" จึงได้รับ พระนามว่า "งำเมือง" นอกจากนั้น พระองค์มีพระทัยหนักแน่นในศิลธรรม มีพระราชศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไม่ชอบทำสงคราม ทรงดำเนินพระราโชบาย การปกครองบ้านเมือง ด้วยความเที่ยงธรรม พยายาม ผูกไมตรีจิตต่อเจ้าประเทศราชที่มีอำนาจเหนือคน เพื่อหลีกเลี่ยงภัยสงครามแม้กระนั้น ก็ยังถูก[[พญามังราย]]ยกกองทัพมาตี เมื่อปี [[พ.ศ. 1805]] แต่ในที่สุดพญางำเมือง ก็ยอมยกเมืองปลายแดน คือ เมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน เมืองเทิง เมืองเชียงของ ให้แก่พ่อขุนเม็งราย ด้วยหวังผูกไมตรีต่อกันและคิดว่าภายภาคหน้าจะขอคืน
 
พญางำเมือง ทรงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงทศพิธราชธรรมและมีเมตตาเป็นที่ประจักษ์ ดังเช่น เหตุการณ์ ในประวัติศาสตร์กล่าวถึง พ่อขุนรามคำแหง พระสหาย ได้เสด็จไปมาหาสู่กัน เสมอมิได้ขาด จนเส้นทางที่เสด็จผ่านเป็นร่องลึกเรียกว่า แม่ร่องช้าง ในปัจจุบัน พระร่วงเจ้าเสด็จมาเมืองพะเยา ทรงเห็น[[พระนางอั้วเชียงแสน]] พระชายา พญางำเมือง มีรูปโฉมอันงามยิ่ง ก็บังเกิดปฏิพัทธิ์รักใคร่ และพระนาง ก็มีจิตปฏิพัทธ์เช่นกัน จึงได้ลักลอบปลอมแปลงพระองค์คล้ายกับพญางำเมือง เข้าสู่ห้องบรรทมพระนางอั้วเชียงแสน พญางำเมืองทราบเหตุ และสั่งให้อำมาตย์ ไพร่พล ทหารตามจับพระร่วงเจ้า นำไปขังได้และมีราชสาส์นเชิญพญามังราย ผู้เป็นสหายมาพิจารณาเหตุการณ์ พญามังรายทรงไกล่เกลี่ย ให้ทั้งสองพระองค์เป็นมิตรไมตรีต่อกันดังเดิม โดยขอให้พระร่วงเจ้าขอขมาโทษ พญางำเมือง ด้วยเบี้ยเก้าลุนทอง คือ เก้าแสนเก้าหมื่นเบี้ย เพื่อกำชับพระราชไมตรีต่อกันยิ่งกว่าเก่า กษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานต่อกัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำขนภู แม่น้ำแห่งนี้จึงเรียกชื่อภายหลังว่า "[[แม่น้ำอิง]]"
บรรทัด 34:
 
== อ้างอิง ==
* [[ประเสริฐ ณ นคร]]. (2549, กุมภาพันธ์). ''ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด.'' กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007
{{รายการอ้างอิง}}