ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จวงจื่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
陈寿莲 (คุย | ส่วนร่วม)
陈寿莲 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
ความอิสระเสรี อุดมคติครองชีวิตอย่างอิสรเสรีเป็นสิ่งที่จวงจื่อพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติมจากท่านเล่าจื๊อ ในเต๋าเต็กเก็ง ภาวะ “อิสระเสรี” ของจวงจื่อ คล้ายกับภาวะ “ตื่นรู้บรรลุธรรม” ของนิกายเชน หรือภาวะ “พระอรหันต์” ของนิกายเถรวาท ภาวะอิสรเสรีเป็นมนุษย์ที่แท้ ภาวะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เมื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงที่ปุถุชนเขามี เขาหลง เขายึดติด ชีวิตเราจึงมีเสรีภาพอย่างแท้จริง จวงจื่อสอนให้ล่องลอยไปตามครรลองของเต๋า (กฎธรรมชาติ) ตัวจวงจื่อเองก็ใช้ชีวิตอย่างสันโดษ โดยไปปลูกกระท่อมน้อยอยู่ในป่าใกล้เชิงเขาเสื้อผ้าขาดรองเท้าก็เป็นรูโหว่ จวงจื่อไม่เลือกชีวิตที่ร่ำรวย สูงศักดิ์ มีอำนาจ ท่านเลือกใช้ชีวิตสมถะ สันโดษ เพื่อที่จะมีอิสระเสรีตามวิถีธรรมชาติ
==งานเขียน==
“จวงจื่อ”ได้กลายเป็นหนึ่งในคัมภีร์อมตะแห่งลัทธิเต๋าอย่างเป็นทางการในราชวงศ์ถัง(ราวปี618-907) แนวการประพันธ์ของจวงจื่อ มักใช้รูปแบบเล่านิทานบรรยายอุดมคติของตน ทำให้ผู้อ่านเพลิน เพลินไปกับอารมณ์ของตนโดยไม่รู้สึกตัว กลวิธีการเขียนก็มีความพลิกแพลง ตื่นเต้น ลึกลับซับซ้อน เป็นหนึ่งในหนังสือที่เด่นที่สุดของหนังสือ ปรัชญาทั้งหลายในประวัติศาสตร์จีนและก็มีฐานะสำคัญในประวัติ วรรณกรรมของจีน หนังสือเรื่อง”จวงจื่อ”ร่วม กับหนังสืออีกสองเรื่องได้แก่”เต้าเต๋อจิง”หรือ“เล่าจื๊อ”และ”โจวอี้” หรือ”อี้จิง”รวมเป็นหนังสือสำคัญ3เล่มที่สะท้อนถึงคุณค่าของลัทธิเต๋าซึ่งเป็นปรัชญาแนวธรรมชาตินิยมได้เป็นอย่างดีที่สุด
 
==อ้างอิง==
สุรัติ ปรีชาธรรม(แปล และเรียบเรียง).(2554).จวงจื่อ ฉบับสมบูรณ์.กรุงเทพฯ:โอเพ่นบุ๊คส์.(จากต้นฉบับภาษาอังกฤษแปลโดยเบอร์ตัน วัตสัน)