ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวนชม (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ชวนชม (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
 
ในปัจจุบัน หลักฐานทางวิทยาศาสาตร์จากการศึกษาในแบคทีเรีย พืช แมลง และผลไม้ และมนุษย์ ทำให้เราทราบว่าการกลายพันธุ์อาจเป็นผลจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การได้รับรังสีบางชนิดมากเกินไป เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีอัลตราไวโอเล็ท สารเคมีบางจำพวก ได้แก่ ยาฆ่าแมลง และ สารในบุหรี่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีใน ดีเอ็นเอ และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในยีนซึ่งสามารถส่งผ่านไปยังรุ่นลูกได้ในกรณีของเซลล์สืบพันธุ์ และถ้าหากการกลายพันธุ์เกิดในเซลล์ร่างกาย อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
 
รูปแบบของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะเกี่ยวข้องกับระดับความเด่นของยีน มัลติเปิลอัลลีล และ โพลียีนสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของยีน เมื่อยีนๆ หนึ่งมีผลหลายอย่างต่อร่างกาย การเกิดยีนมิวเทชั่นก็สามารถมีผลกระทบกับร่างกายในหลายๆ ส่วนได้ จึงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา ลักษณะบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับเพศจะถูกควบคุมโดนยีนบนโครโมโซม X ผู้ชายซึ่งมีโครโมโซม X เพียง 1 โครโมโซมจะแสดงอัลลีลด้อยบนโครโมโซม X นั่นเอง เมื่อยีนอยู่บนโครโมโซมเดียวกันก็จะมีแนวโน้มที่จะถูกถ่ายทอดไปด้วยกันได้ และการไขว้กันของแอลลีลที่เชื่อมกันนั้นหรือเรียกว่าครอสซิง โอเวอร์จะทำให้เกิดเซลล์สืบพัยธุ์ที่เป็นลูกผสมและฟีโนไทป์ลูกผสมได้ และเมื่อยีนถูกเชื่อมต่อกัน อัตราการเกิดฟีโนไทป์ลูกผสมจะสามารถใช้กำหนดหรือทำแผนที่โครโมโซมได้
 
จีโนไทป์และฟีโนไทป์
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ยีน"