ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกมพันหน้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Apple1968 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล รายการโทรทัศน์ | show_name = เกมพันหน้า | en_name = | image...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:30, 11 มีนาคม 2558

เกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อมาจากแสบคูณสอง และเป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 และยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยมีพิธีกรคือเกียรติ กิจเจริญ ติ๊ก กลิ่นสี และไดอาน่า จงจินตนาการ (พ.ศ. 2546 - 2547)

เกมพันหน้า
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด
เสนอโดยเกียรติ กิจเจริญ
ติ๊ก กลิ่นสี
ไดอาน่า จงจินตนาการ (2546-2547)
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างเกียรติ กิจเจริญ
ติ๊ก กลิ่นสี
ความยาวตอน60 นาที (2546-2547), 85 นาที (2544-2546)
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(18 มกราคม พ.ศ. 25446 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547)
ออกอากาศ18 มกราคม พ.ศ. 2544 –
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
เกมพันหน้า เอื้ออาทร
แฟนคลับ

ประวัติ

รายการเกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 และเป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 6 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.20 - 23.45 น. เป็นเวลา 85 นาที โดยเป็นเกมโชว์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในสิ่งต่างๆ เช่น ไดโนเสาร์ นก กรุงเทพฯ ในอดีต ฯลฯ และเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านสามารถเข้ามาร่วมสนุกโดยการเขียนจดหมายมาสมัครร่วมรายการได้อีกด้วย โดยมีเงินรางวัลสูงสุดถึง 1,000,000 บาทเช่นเดียวกับแสบคูณสอง ต่อมาในช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 ทางรายการได้นำเอาไดอาน่า จงจินตนาการ มาเป็นพิธีกรของรายการ และเพิ่มเกมใหม่ และลดเงินรางวัลลง ต่อมาในช่วงกลางปี พ.ศ. 2546 ได้ย้ายวันและเวลาการออกอากาศ พร้อมทั้งปรับรูปแบบเกมและฉากใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งลดเวลาเหลือ 60 นาที ในวันอาทิตย์ เวลา 12.00 - 13.00 น. และยุติการออกอากาศในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการมาเป็น เกมพันหน้า เอื้ออาทร ในปัจจุบัน

พิธีกรและนักแสดงในรายการ

พิธีกรประจำรายการ

นักแสดงประจำรายการ

เกมในเกมพันหน้า

ในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการเกมพันหน้านั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุคด้วยกัน คือยุคแรก (มกราคม 2544 - กุมภาพันธ์ 2545) ยุคที่สอง (กุมภาพันธ์ 2545 - กุมภาพันธ์ 2546) ยุคที่สาม (กุมภาพันธ์ 2546 - กลางปี 2546) และยุคสุดท้าย (กลางปี 2546 - กุมภาพันธ์ 2547) โดยในแต่ละยุคได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรายการอยู่เรื่อยๆ

ยุคแรก (18 มกราคม 2544 - 7 กุมภาพันธ์ 2545)

ละครพันหน้า

เป็นการแสดงละครตลกโดยติ๊ก กลิ่นสี เท่ง เถิดเทิง และนักแสดงตลกท่านอื่นๆ โดยมีความยาวประมาณ 15 นาที เพื่อปูเรื่องสำหรับเรื่องราวทีี่จะแข่งขันในเทปนั้นๆ หลังจากจบละครพันหน้าแล้วทางรายการจะเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มาในรายการโดยทางรายการจะเรียกว่า เกจิอาจารย์

ช่วงที่ 1

ในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้เข้าแข่งขันซึ่งเป็นดารารับเชิญ 3 คน และมีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านที่สมัครมาร่วมเล่นเกมในรายการจำนวน 5 คน โดยทางรายการจะเรียกว่า เซียนพันหน้า หลังจากเซียนพันหน้าแนะนำตัวครบทั้ง 5 คนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันจะได้เลือกเซียนพันหน้าก่อน ทำแบบนี้จนครบ 3 คน จากนั้นพิธีกรจะถามคำถามโดยมีคำถาม 5 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน 1 ข้อมี 4 ตัวเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันและเซียนพันหน้าจะได้สิทธิในการตอบ เมื่อตอบแล้ว เกจิอาจารย์จะเป็นผู้เฉลยคำตอบ และเมื่อถึงข้อต่อไปผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟอีกครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 5 ข้อ และเซียนพันหน้าท่านที่เหลืออีก 2 คนจะทำหน้าที่เสนอตัวเองให้ดารารับเชิญเลือกเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการตอบ ทั้งนี้หากหากต้องการเปลี่ยนตัวเซียนพันหน้าสามารถเปลี่ยนได้ แต่สามารถเปลี่ยนได้ครั้งเดียว และไม่เสียคะแนนใดๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้าต้องการแลกตัวเซียนพันหน้ากับทีมอื่น จะต้องยกคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามตามที่ต้องการ เมื่อครบ 5 ข้อจะมีการเปิดป้ายเพื่อสะสมคะแนน ทีมใดได้คะแนนรวมน้อยที่สุดจะตกรอบทันที และได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท (เงินรางวัลสนับสนุนโดยสก๊อตซ์ไบรต์ 3M)

ช่วงที่ 2

จะมีทีมผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้ 2 ทีม ส่วนคำถามจะมี 3 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน 1 ข้อมี 4 ตัวเลือก พิธีกรจะถามคำถามซึ่งยากกว่ารอบที่แล้ว อาจเป็นการตอบจากเสียงในห้องส่ง VTR หรือสิ่งของ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันและเซียนพันหน้าจะได้สิทธิในการตอบ เมื่อตอบแล้ว เกจิอาจารย์จะเป็นผู้เฉลยคำตอบ และเมื่อถึงข้อต่อไปผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟอีกครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 3 ข้อ และเซียนพันหน้าท่านที่เหลืออีก 2 คนจะทำหน้าที่เสนอตัวเองให้ดารารับเชิญเลือกเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการตอบ ทั้งนี้หากหากต้องการเปลี่ยนตัวเซียนพันหน้า จะต้องเสียคะแนน 1 คะแนน และหากต้องการแลกตัวเซียนพันหน้ากับคู่อื่น จะต้องเสีย 1 คะแนนให้ฝ่ายตรงข้าม เมื่อครบ 3 ข้อจะมีการเปิดป้ายเพื่อสะสมคะแนน ทีมใหดได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบ Jackpot ทันที โดยมีเงินรางวัลสะสมเพื่อทบยอดกับรอบ Jackpot 40,000 บาท ส่วนทีมใดได้คะแนนรวมน้อยที่สุดจะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท (เงินรางวัลสนับสนุนโดยร้านเครื่องประดับ Jewelic) และเซียนพันหน้าที่ยังเหลืออยู่ 2 ท่านจะได้รับเงินรางวัลคนละ 5,000 บาท

ยุคที่สอง (14 กุมภาพันธ์ 2545 - กุมภาพันธ์ 2546)

ละครพันหน้า

เป็นการแสดงละครตลกโดยติ๊ก กลิ่นสี เท่ง เถิดเทิง และนักแสดงตลกท่านอื่นๆ โดยมีความยาวประมาณ 15 นาที เพื่อปูเรื่องสำหรับเรื่องราวทีี่จะแข่งขันในเทปนั้นๆ หลังจากจบละครพันหน้าแล้วทางรายการจะเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มาในรายการโดยทางรายการจะเรียกว่า เกจิอาจารย์

การแข่งขัน

ในยุคนี้ยังคงมีผู้เข้าแข่งขันเป็นดารารับเชิญ 3 คน มีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านที่สมัครมาร่วมเล่นเกมในรายการจำนวน 5 คน โดยทางรายการจะเรียกว่า เซียนพันหน้า หลังจากเซียนพันหน้าแนะนำตัวครบทั้ง 5 คนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันจะได้เลือกเซียนพันหน้าก่อน ทำแบบนี้จนครบ 3 คน แต่ในยุคนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนรายการโดยลดคำถามจาก 8 ข้อเหลือเพียง 4 ข้อ 1 ข้อมี 4 ตัวเลือกเช่นเดิม และเปลี่ยนกติกาโดยพิธีกรจะถามคำถาม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันและเซียนพันหน้าจะได้สิทธิในการตอบเป็นคนแรก โดยดารารับเชิญจะเป็นผู้มีสิทธิตอบ ดารารับเชิญต้องวิเคราะห์คำตอบเพื่อทำคะแนนให้ทีมตนเอง ขณะเดียวกัน เซียนพันหน้าต้องวิเคราะห์คำตอบของดาราว่า ถูก หรือ ผิด เพื่อรักษาแท่งผลึกในแท่นของตนเอง ซึ่งจะเป็นเงินรางวัลของตนเองที่จะได้ไป โดยจะมี 10 แท่งผลึกหมายถึงเงินรางวัล 20,000 บาท (แท่งผลึกละ 2,000 บาท) จากนั้นเกจิอาจารย์จะเฉลยคำตอบว่า ถูก หรือ ผิด หากทีมแรกตอบไม่ถูกจะถูกยึดแท่งผลึกไป อีก 2 ทีมยังมีสิทธิในการตอบ โดยคะแนนจะลดลงตามลำดับ หากทีมแรกตอบถูกจะได้ 3 คะแนน ทีมที่สองตอบถูกจะได้ 2 คะแนน และทีมที่สามตอบถูกจะได้ 1 คะแนน และเกจิอาจารย์จะเฉลยว่าใคร ถูก หรือ ผิด ทั้งนี้ยังมีสิทธิเปลี่ยนตัวเซียนพันหน้าได้ และกติกาในการเปลี่ยนตัวเช่นเดียวกับยุคแรก เมื่อครบ 4 ข้อ ทีมใดมีคะแนนสะสมมากที่สุดจะเข้ารอบ Jackpot ทันทีพร้อมเงินรางวัลที่สะสมไว้

ยุคที่สาม (กุมภาพันธ์ 2546 - กลางปี 2546)

ละครพันหน้า

เป็นการแสดงละครตลกโดยติ๊ก กลิ่นสี เท่ง เถิดเทิง และนักแสดงตลกท่านอื่นๆ โดยมีความยาวประมาณ 15 นาที เพื่อปูเรื่องสำหรับเรื่องราวทีี่จะแข่งขันในเทปนั้นๆ หลังจากจบละครพันหน้าแล้วทางรายการจะเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มาในรายการโดยทางรายการจะเรียกว่า เกจิอาจารย์

การแข่งขัน

พบญาติ

ในเกมนี้เป็นเกมที่นำเกม แสบพบญาติ จากรายการแสบคูณสองมาเล่นอีกครั้ง โดยทางรายการจะมีดารารับเชิญ แล้วทางรายการจะเชิญบุคคลปริศนา ซึ่งอาจเป็นญาติหรือมีความเกี่ยวข้องกับดารารับเชิญ

ยุคสุดท้าย (กลางปี 2546 - 6 กุมภาพันธ์ 2547)

ละครพันหน้า

เป็นการแสดงละครตลกโดยติ๊ก กลิ่นสี เท่ง เถิดเทิง และนักแสดงตลกท่านอื่นๆ โดยมีความยาวประมาณ 15 นาที เพื่อปูเรื่องสำหรับเรื่องราวทีี่จะแข่งขันในเทปนั้นๆ หลังจากจบละครพันหน้าแล้วทางรายการจะเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มาในรายการโดยทางรายการจะเรียกว่า เกจิอาจารย์

การแข่งขัน

การแข่งขันในยุคนี้ต่างจากทั้ง 3 ยุคที่ผ่านมา โดยมีดารารับเชิญ (เช่นเดียวกับในยุคที่ 3) 1 คน และผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านอีก 50 คน โดยก่อนการแข่งขันจะมีการสะสมเงินรางวัล 2 รอบ จากนั้นพิธีกรจะถามคำถามโดยมีคำถาม 2 ข้อ ข้อละ 3 ตัวเลือก ดารารับเชิญจะตอบ 1 ตัวเลือก จากนั้นผู้เข้าแข่งขันทางบ้านทั้ง 50 คนจะต้องเลือกนั่งโพเดียม โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องวิเคราะห์คำตอบของดารารับเชิญว่า ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม จากนั้นเกจิอาจารย์จะเฉลย ผู้ที่ตอบถูกจะยังคงอยู่ในรายการ ส่วนผู้ที่ตอบผิดจะต้องตกรอบกลับบ้านไป

ทั้งนี้ ถ้าหากดารารับเชิญตอบถูก (เกจิอาจารย์ตอบว่า ชัวร์) ดารารับเชิญจะได้รับเงินรางวัลพิเศษข้อละ 10,000 บาทอีกด้วย (เงินรางวัลสนับสนุนโดยเกลด รีเฟรช แอร์) และช่วงนี้สนับสนุนโดยสินเชื่อบุคคล KTC iCash อีกด้วย

ทายใจดารา

ก่อนเข้าสู่ช่วงนี้จะมีการสะสมเงินรางวัลอีก 1 รอบ ดารารับเชิญจะมายืนอยู่กับพิธีกร จากนั้นพิธีกรจะถามคำถามซึ่งเกี่ยวกับการทายใจดาราจำนวน 2 ข้อ ข้อละ 3 ตัวเลือก ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านที่เหลือจะต้องเลือกนั่งที่โพเดียมที่มีหมายเลข 1 2 และ 3 ซึ่งเป็นหมายเลขตัวเลือก จากนั้นดารารับเชิญจะเฉลย ผู้ที่ตอบถูกจะยังคงอยู่ในรายการ ส่วนผู้ที่ตอบผิดจะต้องตกรอบกลับบ้านไป

ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านที่ยังเหลืออยู่จนถึงข้อสุดท้าย จะได้รับเงินรางวัลที่สะสมมาทั้ง 3 รอบแบ่งกันกลับบ้านไป

รอบสะสมเงินรางวัล

สำหรับรอบสะสมเงินรางวัลนั้นจะมี 3 รอบด้วยกันโดยเป็นเงินรางวัลสำหรับผู้เข้าแข่งขันทางบ้านที่เหลืออยู่จนถึงรอบสุดท้าย โดยเงินรางวัลนั้นจะนำไปทบยอดทั้ง 3 รอบ และผู้เข้าแข่งขันที่เหลือก็จะแบ่งเงินรางวัลที่สะสมได้กันไป

ไอซีไอ

ในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย ซึ่ง 4 แผ่นป้ายจะเป็นแผ่นป้ายผลิตภัณฑ์สีไอซีไอ ดูลักซ์ 4 ชนิด ส่วนอีก 8 แผ่นป้ายจะเป็นแผ่นป้ายไอซีไอ ดูลักซ์ โดยจะมีเงินรางวัลสะสมอยู่แล้ว 50,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ สีไอซีไอ ดูลักซ์) ดารารับเชิญจะต้องเปิดแผ่นป้ายเพื่อหาผลิตภัณฑ์สีไอซีไอ ดูลักซ์ให้ครบ 4 ชนิด แต่ถ้าเปิดเจอแผ่นป้ายไอซีไอ ดูลักซ์ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลอะไรเลยในแผ่นป้ายนั้นและยังต้องเสียเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 5,000 บาท ดารารับเชิญจะต้องเปิดแผ่นป้ายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอผลิตภัณฑ์สีไอซีไอ ดูลักซ์ครบ 4 ชนิดเกมจึงจะจบลง โดยเงินรางวัลที่สะสมไว้ 50,000 บาทจะถูกหักจากจำนวนแผ่นป้ายไอซีไอ ดูลักซ์ที่เปิดได้ป้ายละ 5,000 บาท แต่ถ้าหากเปิดเจอผลิตภัณฑ์สีไอซีไอครบทั้ง 4 ชนิดโดยไม่เจอไอซีไอเลยจะได้รับเงินรางวัลสะสม 50,000 บาททันที เกมนี้ถูกใช้ในปี 2546 - 2547 คล้ายกับเกมตามล่าเอเลี่ยนในรอบสะสมทองคำของรายการเกมจารชน ปี 2541 - 2543

ที่สุดของความสะอาด

เกมนี้เป็นการสลับชนิดของผกซักฟอกเปา ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ ในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย โดยในเกมนี้จะมีผงซักฟอก 3 ชนิด ชนิดละ 4 แผ่นป้าย โดยถ้าป้ายแรกเป็นผงซักฟอกชนิดอะไรจะได้รับเงินรางวัลป้ายละ 5,000 บาท แล้วป้ายต่อไปต้องสลับไปเป็นอีกชนิดเท่านั้น ถ้าสลับกับป้ายก่อนหน้านั้นจะได้รับเงินรางวัลสะสมแผ่นป้ายละ 5,000 บาท ถ้าซ้ำกับป้ายก่อนหน้านั้นจะไม่ได้เงินรางวัล ทั้งนี้ถ้าหากสลับกันครบทั้ง 12 แผ่นป้ายจะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาททันที เกมนี้ถูกใช้ในปี 2546 - 2547 คล้ายกับเกมสลับตำแหน่งในรอบสะสมเงินรางวัล 1,000,000 บาทของรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ในปี 2541 - 2542

ครบ 4 สี เฮรับโชค

เกมนี้เป็นการเปิดแผ่นป้ายเพื่อทายสีของแผ่นป้าย ในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย ในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไวไวX 4 สี (แดง, เขียว, ส้ม และน้ำเงิน) สีละ 3 แผ่นป้าย โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านทายสีของแผ่นป้าย ถ้าหากทายสีถูกจะได้รับเงินรางวัลสะสมแผ่นป้ายละ 5,000 บาท ถ้าทายผิดจะไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าทายถูกครบ 12 แผ่นป้ายจะได้เงินรางวัลสะสม 100,000 บาท

รอบเปิดป้ายคะแนน

ในเกมนี้เป็นการตัดสินหาผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบในรอบที่ 1 และผู้เข้ารอบ Jackpot ในรอบที่ 2 โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย โดยในรอบที่ 1 จะมีคะแนน 1 2 และ 3 คะแนนอย่างละ 4 แผ่นป้าย ส่วนในรอบที่ 2 จะเพิ่ม 0 4 และ 5 คะแนนอย่างละ 2 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ เครื่องดื่มลิโพ) แต่ละทีมจะได้เลือกเปิดแผ่นป้าย 1 แผ่นป้ายเพื่อสะสมคะแนน โดยนำคะแนนที่ได้ไปรวมกับคะแนนที่มีอยู่ สำหรับในรอบที่ 1 ผู้ที่เปิดได้คะแนนรวมต่ำสุดจะตกรอบทันทีและได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท ส่วนในรอบที่ 2 ผู้ที่เปิดได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบ Jackpot ทันที ส่วนผู้ที่เปิดได้คะแนนรวมต่ำสุดจะตกรอบทันทีและได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท แต่ถ้าหากมีคะแนนเท่ากัน พิธีกรจะให้เปิดอีกทีมละ 1 แผ่นป้าย หรือจนกว่าจะมีผู้ที่มีคะแนนสูงสุด

รอบสุดท้าย

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของรายการเกมพันหน้า เดือนมกราคม 2544 - กุมภาพันธ์ 2546 คล้ายกับรอบ Jackpot ของรายการเวทีทอง พลิกล็อก และเกมจารชน โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีเลข 1-12 อย่างละ 1 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกเปิดแผ่นป้ายเรียงตัวเลขจากน้อยไปมาก โดยจะมีเงินรางวัลสะสมอยู่แล้ว 40,000 บาท ต่อมาเมื่อมีการใช้แท่งผลึก จะมีเงินรางวัลสะสมสูงสุด 20,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ แป้งเด็กน่ารัก ต่อมาเป็นกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้) เมื่อผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแรกได้จำนวนตัวเลขเท่าใดจะได้รับเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 20,000 บาท ป้ายต่อไปต้องมากกว่าป้ายก่อนหน้านี้เท่านั้น ถ้าหากมากกว่าแผ่นป้ายก่อนหน้าจะได้รับเงินรางวัลครั้งละ 20,000 บาท แต่ถ้าหากน้อยกว่าก่อนหน้านี้ เกมจะหยุดลงทันทีและได้เงินรางวัลตามที่สะสมไว้ ทั้งนี้บางครั้งพิธีกรก็จะเปิดแผ่นป้ายแถมเพื่อมอบเงินรางวัลเพิ่มให้อีก 20,000 บาท ทั้งนี้หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายเรียงตัวเลขจากน้อยไปหามากได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาทกับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง แต่ถ้า 6 เดือนแจ็คพอตไม่แตกจะมีการจับชิ้นส่วนของผู้โชคดีขึ้นมา 1 ชิ้นส่วนโดยจะได้รับรางวัลเป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัม ต่อมาในช่วงกลางปี 2544 ได้ยุติการจับชิ้นส่วนของผู้ชมทางบ้าน จึงลดเงินรางวัลเหลือ 1,000,000 บาท ในยุคนี้มีผู้ทำ Jackpot แตก 2 คนคือกรรชัย กำเนิดพลอย ในปี พ.ศ. 2544 และศัลย์ อิทธิสุขนันท์ ในปี พ.ศ. 2545