ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอศรีเชียงใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ทศพล ทรวงชัย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mrwatcharapong (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติของอำเภอ
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 19:
}}
'''อำเภอศรีเชียงใหม่ ''' เป็น[[อำเภอ]]หนึ่งของ[[จังหวัดหนองคาย]]
โครงกระดูกมนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์ยุคบ้านเชียง(3,000-8,000 ปี) ณ ริมห้วยโมงเขตอำเภอศรีเชียงใหม่-ท่าบ่อ และอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เมืองพานพร้าวหรืออำเภอศรีเชียงใหม่ในปัจจุบัน เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน โดยมีเอกสารปรากฎชื่อเมืองพานพร้าวอยู่หลายแห่ง กล่าวคือ เมืองพานพร้าวในพงศาวดารลาว(มหาสีลา วีระวงศ์) บางแห่งเป็นธารพร้าว หรือพั่งพ่าว ซึ่งต่างก็หมายถึงเมืองพานพร้าว ที่เป็นชื่อเมืองโบราณ ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ลาว
มาตั้งแต่ พ.ศ. 2078 เป็นต้นมา เมืองพานพร้าว เป็นตำบลที่ตั้งอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งสร้างเมืองมาพร้อม ๆ กับการตั้งเมืองเวียงจันทน์ในสมัยทวารวดีตอนปลาย “พุทธศตวรรษที่ 14 – บริเวณนี้เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่อยู่สองฝั่งแม่น้ำโขงลักษณะเป็นเมืองอกแตก และมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอเป็นแบบเมืองทวารวดีทั่วไป ทางฝ่ายเวียงจันทน์มีร่องรอยของกำแพงดินและคูน้ำอยู่ในสภาพที่เห็นได้ชัดเจน แสดงถึงการขุดลอกและบูรณะในระยะหลัง ๆ นอกจากนั้นยังมีการขยายคันดิน ซึ่งอาจจะเป็นถนนหรือดินกั้นน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมไปทางด้านเหนืออีกด้วย ส่วนทางศรีเชียงใหม่ คูเมืองและคันดินอยู่ในลักษณะที่ลบเลือน แสดงให้เห็นถึงการปล่อยทิ้งร้างมานาน โบราณวัตถุ และโบราณสถานที่พบในเขตเมืองโบราณทั้งสองฟากนี้ มีตั้งแต่สมัยทวาราวดีลงมาจนถึงล้านช้างและอยุธยา..” (ศรีศักร วัลลิโภดม) ภาพสลักเสมาหิน พระวิธูรชาดกโปรดปุณณกยักษ์ประฏิมากรรมชิ้นเอก ยุคทราวดีพันกว่าปี ใต้ฐานมีรอยสกัดอักษรโบราณออก กล่าวได้ว่า ชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณสองฟากแม่น้ำโขง ทั้งฝั่งเวียงจันทน์และเมืองพานพร้าวในยุคเริ่มต้นการสร้างบ้านเมืองคือ กลุ่มเดียวกันมีวัฒนธรรม ประเพณีเดียวกัน บริเวณที่เมืองพานพร้าวในอดีต หรืออำเภอศรีเชียงใหม่ในปัจจุบัน จึงน่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ในขณะที่เมืองเวียงคุก-ซายฟอง เริ่มต้นพัฒนาเป็นบ้านเมืองมาก่อน พอมาถึงสมัยเวียงจันทน์ กลายเป็นบ้านเป็นเมือง ชุมชนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็คงเริ่มขยายตัว มากขึ้นไปพร้อมๆกับเมืองเวียงจันทน์ แต่ไม่มีความสำคัญมากนัก จึงยังไม่มีชื่อเฉพาะเรียกของชุมชนบริเวณฝั่งซ้าย จนกระทั่ง พ.ศ.2078 ซึ่งเป็นระยะหลังของราชอาณาจักรล้านช้างเชียงทอง (หลวงพระบาง) ที่ได้แผ่อิทธิพลครอบคลุมไปทั่วทั้งดินแดนทางใต้และตะวันตกของอาณาจักรแล้ว เมืองพานพร้าวเป็นที่อยู่ของชาวล้านนา
ในรัชกาลพระเจ้าโพธิสาลราช ผู้ครองนครเชียงทองล้านช้าง (พ.ศ.2053-2093) ทรงมีนโยบายที่จะปรับปรุงให้เวียงจันทน์เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของ อาณาจักรล้านช้างมากขึ้น เพื่อทดแทนที่นครเชียงทองซึ่งตั้งอยู่ในยุทธภูมิที่ทุรกันดาร ทั้งอยู่ใกล้กับข้าศึกคือพม่าในรัชกาลนี้ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับราชอาณาจักรล้านนา คงปรากฏในประวัติศาสตร์ และกลายมาเป็นตำนานของเมืองศรีเชียงใหม่มาจนปัจจุบัน
 
เมืองพานพร้าว หรือ "ค่ายพานพร้าว"
เมืองพานพร้าว หรือ "ค่ายพานพร้าว" เป็นค่ายทหารที่มั่นชั่วคราวของกองทัพไทย ภายหลังตีได้เวียงจันทน์แล้ว (ปัจจุบันคือ บริเวณ หน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง) เจ้าพระยาจักรีได้พานางคำแว่น ซึ่งเป็นนางกำนัลของพระอัครมเหสีของพระเจ้าสิริบุญสารมาเป็นชายา ต่อมาได้เป็น "เจ้าจอมแว่นหรือคุณเสือ" พระสนมเอกรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทรัชกาลที่ 1 ชาวพานพร้าวศรีเชียงใหม่ เชื่อว่าท่านเป็นหญิงเมืองพานพร้าวที่งามพร้อมทุกสิ่ง สมเป็นกุลสตรี และเจ้าจอมแว่นผู้นี้ทำให้กองทัพไทยไม่ได้ทำลายบ้านเมือง จนเรียกศึกครั้งนี้ว่า "ศึกนางเขียวค้อม" และได้สร้างเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดนางเขียวค้อม บริเวณบ้านหัวทราย อำเภอศรีเชียงใหม่ ไว้เป็นที่เคารพสักการะของชาวพานพร้าว-ศรีเชียงใหม่ จนถึงทุกวันนี้ (ตำนานนางเขียวค้อมมีหลายสำนวน) และในครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาประดิษฐานไว้ที่ค่ายพานพร้าว โดยสร้างหอพระแก้วชั่วคราวเพื่อการนี้ ส่วนราษฎรชาวเวียงจันทน์ ส่วนหนึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองพานพร้าว ปะโค และเวียงคุก จากนั้น จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางพร้อมทั้งนำเชื้อพระวงศ์เวียงจันทน์ ข้าราชการ กรมการเมือง รวมทั้งราษฎรชาวเวียงจันทน์ที่เหลือลงไปกรุงเทพฯ
 
เมืองพานพร้าวในสมัยเจ้าอนุวงศ์
พระอนุชาองค์ที่ 3 ของพระเจ้าสิริบุญสารได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เมื่อครั้งศึกเวียงจันทน์ - กรุงธนบุรี ได้ศึกษาวิชาความรู้อยู่ในกรุงเทพฯ จนกระทั่งอายุได้ 37 ปี จึงได้กลับไปครองราชย์ล้านช้างเวียงจันทร์ แทนเจ้าอินทวงศ์ ผู้เป็นพระเชษฐา เมื่อปี พ.ศ.2346 มีพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ที่ 3" หรือ "พระสิหะตะนุ" เมืองเวียงจันทน์ และเมืองพานพร้าวในสมัยเจ้าอนุวงศ์เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั้งในเวียงจันทน์ และเมืองพานพร้าว คือวัดช้างเผือก และสร้างหอพระแก้วขึ้นเพื่อเป็นที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา สร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงขึ้นที่ฝั่งวัดช้างเผือกมายังฝั่งเวียงจันทน์ ดังหลักฐานศิลาจารึก วัดพระแก้วซึ่งเป็นศิลาจารึกขนาดใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน (ธวัช ปุณโณทก) ระบุว่า พ.ศ.2355 กษัตริทรงสร้างวัดนี้และถวายปัจจัยทานต่างๆ จำนวนมาก ทรงสร้าง "สะพานข้ามแม่น้ำโขง" บริเวณนี้ด้วย จึงแสดงให้เห็นว่า สมัยเจ้าอนุวงศ์มีความตั้งพระทัยจะกอบกู้เอกราชคืนจากไทย ได้พยายามจะวางรากฐานเมืองใหม่ โดยเฉพาะเมืองพานพร้าว ซึ่งเคยเป็นปราการด่านหน้าของเวียงจันทน์ก็ยังมีความสำคัญเช่นเดิม
 
ในปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฎยกกองทัพชาวลาวเวียงจันทน์ลงไปกวาดต้อนเอาชาวเวียงจันทน์ในเขตหัวเมืองของไทยกลับมาเวียงจันทน์ แต่ไปแพ้อุบายของคุณหญิงโมที่นครราชสีมา ทัพลาวจึงหนีคืนเวียงจันทน์ดังเดิม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์ พลเสพ แม่ทัพหลวงยกทัพมาตีเวียงจันทน์อีกครั้ง เดือนพฤษภาคม 2370 ทัพหลวงไทยมาตั้งมั่นที่ "ค่ายพานพร้าว" เจ้าอนุวงศ์ และเชื้อพระวงศ์จำนวนหนึ่งทราบข่าว จึงพากันหลบหนีไปได้ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯทรงเห็นว่า ขณะนั้นใกล้เข้าฤดูฝนจะตามจับกุมตัวเจ้าอนุวงศ์ คงไม่สะดวกนัก จึงส่งพระราชสาสน์กราบบังคมทูลรัชกาลที่ 3 ขอยกทัพกลับกรุงเทพฯ และขณะที่อยู่เมืองพานพร้าว ได้กล่าวถึงการค้นหาพระพุทธรูปสำคัญของเวียงจันทน์ ไว้ว่า
 
จากค่ายพานพร้าวถึงค่ายบกหวานก่อนอวสานเวียงจันทน์
เจ้าอนุวงศ์กลับคืนสู่เวียงจันทน์หลังจากหนีไปพึ่งญวน โดยมินมางหว่างเด๊ จักรพรรดิ์ญวนส่งพระราชสาสน์ ถึงรัชกาลที่ 3 ขอพระราชทานอภัยโทษให้เจ้าอนุวงศ์ ทั้งให้ทหารญวนคุมตัวเจ้าอนุวงศ์ และครอบครัวมายังเวียงจันทน์ พวกทัพหน้าค่ายพานพร้าววางใจจึงให้อยู่ที่หอดังเดิม แต่อยู่ได้ไม่ถึงสัปดาห์ ในวันเสาร์ที่ 2สิงหาคม พ.ศ. 2371 ทหารญวนและลาวลอบฆ่าทหารไทยในเวียงจันทน์ตายไปกว่า 300 คน เหลือรอดเกาะขอนไม้ข้ามโขงกลับมาค่ายพานพร้าวมาตั้งมั่นได้ 40-50 คน พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จึงถอยทัพออกจากค่ายพานพร้าวมาตั้งมั่นที่ "ค่ายบกหวาน" (ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ปัจจุบัน) ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์นำทัพข้ามมารื้อพระเจดีย์ปราบเวียงจันทน์ ที่ค่ายพานพร้าว แล้วนำพระพุทธรูปกลับคืนเวียงจันทน์ และให้เจ้าราชวงศ์ (เจ้าเหง้า) ตามตีค่ายบกหวานของไทยแตก แม่ทัพไทยบาดเจ็บถอยทัพไปยโสธร และแต่งตั้งให้ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) อุปฮาดยโสธร ลูกหลานพระวอ - พระตา นำกำลังเข้าสมทบยกทัพกลับมายึดค่ายบกหวาน และค่ายพานพร้าวคืนได้ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2371 ส่วนเจ้าราชวงศ์ (เจ้าเหง้า) โอรสเจ้าอนุวงศ์บาดเจ็บ ทหารนำตัวออกจากสนามรบและสูญหายไปในศึกครั้งนั้น ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์หนีไปเวียตนามอีกครั้งแต่ถูกเจ้าน้อยเมืองพวน (เชียงขวาง) จับส่งกองทัพไทย เวียงจัยทน์ถูกทำลายทั้งกำแพง ป้อมเมือง และหอคำ (พระราชวัง) เหลือไว้แต่วัดวา อาราม และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประจำเมืองพร้อมทั้งกวาดต้อนเอาชาวเวียงจันทน์มาไว้ฝั่งไทยจนเกือบหมด เหลือแต่พวกข้าพระเลกวัดที่มีหน้าที่ดูแลวัดวาอาราม เท่านั้น
 
เมืองพานพร้าวในสมัยปฏิรูปการปกครอง
เป็นหัวเมืองในมลฑลลาวพวน ใน พ.ศ. 2436 ภายหลังขึ้นกับเมืองหนองคาย ต่อมาแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ จังหวัดหนองคาย เมืองพานพร้าว เป็นที่ตั้งของอำเภอท่าบ่อ ครั้นอำเภอท่าบ่อย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าบ่อ (อำเภอท่าบ่อ ปัจจุบัน) จึงตั้งตำบลพานพร้าว เป็นอำเภอศรีเชียงใหม่ สถานที่ราชการส่วนใหญ่อยู่ที่บ้านศรีเชียงใหม่ จึงได้ชื่อว่า "อำเภอศรีเชียงใหม่" มาตั้งแต่ พ.ศ.2500 ถือว่าเป็นอำเภอที่ใหล้ชิดกับเมืองเวียงจันทน์มากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.
 
เบ้าหลอมโลหะทำด้วยดินเมื่อเผาหลอมจึงแกร่งคล้าย อิฐและมีประติมากรรม หินลอยตัวอีก 1 คู่ ไว้ทรงผมเป็นหลอดแบบชาวสยามนครวัด คู่นี้อยู่ในวัดพระธาตุบังพวนหนองคาย ขนย้ายมาจากอำเภอศรีเชียงใหม่
 
แหล่งโบราณคดีโคกคอน
บ้านโคกคอน ตำบลโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ซึ่งพบทั้งกระดูก หม้อปั้นลูกปัด สัมริดร่วมยุคกับ ารยธรรมบ้านเชียง" อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี (ประมาณ 5,000-8,000 ปี) รอการขุดค้นที่ถูกต้องก่อน
 
แหล่งหลอมทองสัมริด
อารยะธรรมบ้านเชียงทางวิชาการนั้นมิใช่ หม้อลายเล็บขุดเชือกทาบหรือลายสีก้อนก้นหอยที่รู้จักกันทั่ว แต่หมายถึง"สัมริด" ซึ่งเป็นนวกรรมก่อกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของอุษาคเนย์ เพราะต้องใช้โลหะผสมทองแดงกับดีบุก ซึ่งจังหวัดอุดรธานีไม่มีแหล่งแร่ทองแดงนี้ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียสำรวจเมื่อ 20 กว่าปีก่อนว่า "เหมืองทองแดง" โบราณยุคบ้านเชียงนั้นอยู่ที่ "ภูโล้น" อำเภอสังคม จังหวัดหนองคายนี้เอง ผู้เรียบเรียงได้สำรวจวิจัยร่วมกับอาจารย์เย็นจิต สุขวาสนะ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ (ประสานมิตร) เมื่อพุทธศักราช 2541 พบร่องรอยการหลอมถลุงสัมริดและเหล็กถึง 40 กว่าแห่งตามห้วยโมง อำเภอศรีเชียงใหม่ - อำเภอท่าบ่อ - กิ่งอำเภอโพธิ์ตาก ซึ่งตอนนี้สรุปได้เพียงว่า "สำริดสำเร็จรูป" ที่พบบ้านเชียงนั้น น่าจะหลอมถลุงจากที่นี่
 
ภาพสลักหินนูนต่ำนครวัด (ก่อนยุคสุโขทัย) ว่า "เนยะสยำกุกฺ" นี่คือชาวสยาม (ไทย-ลาว)น่าเชื่อว่าเขมรโบราณสลักไว้ดังประติมากรรมที่พบ (กลุ่มชนผู้พูดภาษาไทย-ลาว) ซึ่ง รศ.ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม เมธีวิจัยอาวุโส ตั้งทฤษฎีว่า น่าจะเป็นกลุ่มชนจากเวียงจันทน์-หนองคายในพุทธศษวรรตที่ 17 ดังภาพสลักหินนูนต่ำปราสาทนครวัดซึ่งชาวเขมรโบราณจารึกว่า "เนียะสยำกุก." นั้น ได้พบรูปเคารพหินสลักแบบลอยตัว 2 คู่จากห้วยโมง สลักทรงผมเป็นหลอดยาวลงมาคล้ายกับถักเปียเป็นสายตรงตามที่เขมรสลักไว้ ซึ่งน่าจะเป็นรูปร่างคนสยาม (ไทย-ลาว) ที่เก่าที่สุดในปัจจุบัน ตามห้วยโมง 167 กิโลเมตรนั้น ตำนานพระอุรังคราตุว่า มีเมืองโบราณชื่อ "เวียงนกยูงหรือเวียงโมง" ซึ่งได้พบซากคันน้ำคูดินโบราณยุคทราวดี มีเสมาหินถึง 52 ชิ้น ที่ตำบลโพธิ์ตากและนำไปเก็บรักษาอยู่ที่วัดหินหมากเป้งแล้ว บางชิ้นสลักเป็นศิลปทราวดีแท้ๆ เรื่องพระวิธูรชาดกเป็นต้น แต่มีร่องรอยการสกัดอักษรออกเกือบทุกหลัก (เขมรเป็นฮินดูหรือมหายานอาจไม่ถูกกับชาวทราวดีโบราณวึ่งเป็นพุทธเถรวาทก็ได้) "โมง" อาจเป็นภาษาทราวดีโบราณก็ได้หรือภาษาสันสกฤต "มยุรา,โมริยะ" และกร่อนเสียงก็ได้ เชื่อกันว่าเดิม มาออกแม่น้ำโขงตรงโบสถ์ วัดพระเจ้าองค์ตื้อ ซึ่งมีเจดีย์โบราณอยู่ เรียกว่า "ธาตุนกยูง" มาช้านาน
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==