ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาร์กาเร็ต ทิวดอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 90:
สนธิสัญญาปีค.ศ. 1502 ก็ไม่ได้เกิดสันติภาพที่ถาวรดังที่ตั้งใจไว้ เกือบจะไม่เป็นผลในช่วงการสวรรคตของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ในปีค.ศ. 1509 ผู้สืบราชบัลลังก์องค์ถัดมา กษัตริย์หนุ่ม พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงใช้เวลาน้อยนิดในการเจรจาทางการทูตตามแบบของพระราชบิดา ในไม่ช้าพระองค์ก็มุ่งหน้าทำสงครามกับ[[ฝรั่งเศส]] พันธมิตรเก่าแก่ของสกอตแลนด์ ในปีค.ศ. 1513 พระเจ้าเจมส์ที่ 4 ทรงยกทัพบุกอังกฤษเพื่อแสดงเกียรติตามพันธสัญญา[[พันธมิตรเก่าแก่]] ซึ่งทำให้ต้องประสบกับหายนะและพระองค์ได้เสด็จสวรรคตใน[[ยุทธการที่ฟลอดเดน]] พระนางมาร์กาเร็ตทรงคัดค้านสงคราม แต่ก็ทรงดำรงเป็น[[ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน]]ในพระเจ้าเจมส์ที่ 5 พระมหากษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์ และพระนางก็ทรงตกพุ่มหม้าย
 
[[รัฐสภาสกอตแลนด์]]ได้มีการประชุมที่[[สเตอร์ลิง]]ไม่นานนักหลังจากเหตุการณ์ที่ฟลอดเดน และรับรองให้สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สถานะของสตรีที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจสูงสุด และพระนางมาร์กาเร็ตเองทรงเป็นพระเชษฐภคินีในพระมหากษัตริย์ฝ่ายศัตรู สิ่งเหล่านี้ได้สร้างปัญหาแก่พระนาง หลังจากนั้นไม่นานฝ่ายที่ให้การสนับสนุนฝรั่งเศสได้รวมตัวขึ้นมาในหมู่ชนชั้นขุนนางและได้แนะนำให้พระนางควรถูกแทนที่ด้วย[[จอหฺนจอห์น สจวต ดยุกแห่งออลบานี]] พระญาติฝ่ายชายที่ใกล้ชิดยุวกษัตริย์มากที่สุด และอยู่ในลำดับที่สามของการสืบราชสันตติวงศ์ ดยุกแห่งออลบานีเกิดและถูกเลี้ยงดูในฝรั่งเศสและถูกมองว่าเป็นตัวแทนของ "พันธมิตรเก่าแก่" ที่ยังดำรงอยู่ ในการเป็นขั้วตรงข้ามกับฝ่ายนิยมอังกฤษของสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ต พระนางได้รับการบรรยายว่าทรงปฏิบัติหน้าที่อย่างสงบและทรงมีทักษะทางการเมืองบางประการ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1514 พระนางทรงดำเนินการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง สกอตแลนด์และฝรั่งเศสได้ดำเนินการสงบศึกกับอังกฤษในที่สุดในเดือนเดียวกัน แต่ในการที่พระนางทรงพยายามหาพันธมิตรทางการเมืองในหมู่ขุนนางสกอตที่มักจะดื้อแพ่งซึ่งพระนางทรงดำเนินการอย่างคอขาดบาดตาย ทรงดำเนินการด้วยความเฉลียวฉลาดและสุขุมรอบคอบมากกว่าที่จะทรงตกไปในวังวนของอารมณ์และอำนาจ
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}