ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สี่สิบเจ็ดโรนิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:HokusaiChushingura.jpg|thumb|ภาพพิมพ์แสดงการเข้าโจมตีคฤหาสถ์ของคิระ โยะชินะกะ]]
[[ไฟล์:Sengakuji 47 ronin graves.jpg|thumb|หลุมศพของ 47 โรนินที่วัดเซนงะกุจิ โตเกียว]]
การแก้แค้นของ'''สี่สิบเจ็ด[[โรนิ]]''' ({{ญี่ปุ่น|四十七士| Shi-jū-shichi-shi}}) บางครั้งอาจเรียกว่า การแก้แค้นของ'''สี่สิบเจ็ด[[ซามูไร]]''' หรือ เหตุการณ์เก็นโระกุ อะโก ({{ญี่ปุ่น|元禄赤穂事件 |Genroku akō jiken}}) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน[[เอโดะ]]ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์ชาวดัตช์ชื่อ ไอแซก ทิทซิงก์ กล่าวว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในวิถี[[บูชิโด]] <ref name="s91">Screech, T. (2006). ''Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan,'' p. 91.</ref>
 
เรื่องราวกล่าวถึงกลุ่มนักรบ[[ซามูไร]]จำนวน 47 คนในสังกัดของ[[ไดเมียว]][[อะซะโนะ นะงะโนะริ]] ซึ่งถูกบังคับให้กระทำ[[เซปปุกุ]] เมื่อปี [[ค.ศ. 1701]] หลังจากบันดาลโทสะ ใช้ดาบทำร้าย[[คิระ โยะชินะกะ]] [[ข้าหลวง]]ผู้มีอิทธิพลของ[[โชกุน]][[โทะกุงะวะ สึนะโยะชิ]] ที่[[ปราสาท]][[มัตซึโอะโอโรกะ]] เนื่องจากผิดกฎหมายโดยชักอาวุธออกมาภายในปราสาทของโชกุน ตามกฎแล้วอะซะโนะ นะงะโนะริจะต้องทำเซปปุกุ ถูกยึดทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก และประหารสมาชิกตระกูลอะซะโนะทุกคน
 
เมื่อสูญเสียเจ้านายไป ซามูไรทั้งหมดสามร้อยกว่าคนในตระกูลจึงกลายเป็น[[โรนิ]] ในจำนวนนี้ 47 คนได้ซุ่มวางแผนการแก้แค้นเป็นเวลากว่าสองปี นำโดยหัวหน้าชื่อ [[โออิชิ โยะชิโอะ]] จากนั้นจึงบุกเข้าโจมตีคฤหาสถ์ของคิระในเอะโดะ สังหารข้าหลวงคิระโดยการตัดศีรษะ เมื่อวันที่ [[30 มกราคม]] [[ค.ศ. 1703]] และนำศีรษะไปไว้ที่หลุมศพของเจ้านายที่[[วัดเซนงะกุจิ]] เพื่อเป็นการกอบกู้ศักดิ์ศรี ภายหลังเหตุการณ์เจ้าหน้าที่บ้านเมืองได้เข้าจับกุมและตัดสินให้โรนินทั้งงทั้ง 47 กระทำผิดข้อหา[[ฆาตกรรม]] แต่อนุญาตให้กระทำเซปปุกุ แทนการลงโทษโดย[[ประหารชีวิต]]
 
เรื่องราวของโรนิสี่สิบเจ็ดคนได้รับการเผยแพร่ผ่านการแสดงละคร[[คาบูกิ]]และละครหุ่นชัก <ref>{{cite web | url = http://www.columbia.edu/~hds2/chushinguranew/kanadehon/Index.htm | title = Kanadehon | publisher = Columbia University}}</ref> โดยเปลี่ยนชื่อตัวละคร ในชื่อเรื่อง "ชูชินงุระ" ({{ญี่ปุ่น|忠臣蔵Chūshingura}}) เนื่องจากใน[[ยุคเก็นโระกุ]] มีกฎหมายห้ามการวิพากษ์เหตุการณ์การเมืองในขณะนั้น
 
==อ้างอิง==