ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะเมียะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chayawatpp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
 
เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทำให้มะเมียะและเจ้าน้อยต่างสะเทือนใจเป็นที่สุด หลังจากเดินทางถึงเมืองมะละแหม่ง มะเมียะได้ครองชีวิตเป็นแม่ชีตามความตั้งใจ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี [[พ.ศ. 2505]]<ref name="วรชาติ"/> รวมอายุได้ 75 ปี<ref>http://www.chiangraifocus.com/knowledge.php?id=35</ref> ต่อมาได้มีการตั้งข้อสงสัยว่ามีการนำอัฐิของมะเมียะมาบรรจุไว้ที่[[กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ]] ที่วัดสวนดอก แต่ได้รับการยืนยันจากเจ้านายฝ่ายเหนือว่าไม่เป็นความจริง<ref>[http://www.compasscm.com/issue/Feb10/module_back.asp?content=Feb10/scoop&lang=TH เจ้าน้อยศุขเกษมกับนางมะเมีย]นิตยสารเข็มทิศเชียงใหม่</ref>
 
== ข้อถกเถียงถึงความจริงของมะเมียะ ==
ประเด็นถกเถียงมายถึงตัวตนจากตำนานว่ามะเมียะเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์หรือไม่เพราะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนและเป็นคำบอกเล่าสืบๆต่อกันมา ทำให้มีผู้คนเกิดความสนใจตามหาข้อเท็จจริงดังนี้
1. ฐานะบทบาทในอนาคตเจ้าน้อยสุขเกษมที่จะได้เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความรักดังเรื่องเล่าที่แต่งขึ้น เพราะเจ้าเลาแก้วผู้เป็นพี่มียศตำแหน่งทางการเมืองที่สูงกว่า การสืบทอดตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองล้านนาจึงมักจะเป็นการสืบทอดจากพี่ไปน้อง หดังนั้นที่อ้างกันว่าเจ้าศุขเกษมจะได้ครองเมืองเชียงใหม่ต่อนั้นก็ไม่จริงถ้าหากเรียงตามลำดับศักดิ์ ประกอบกับประวัติที่ไม่ได้เรื่องของเจ้าน้อยสุข<ref>http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355740595</ref>
2. เรื่องจริงปนนิยายจาก "เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ กล่าวในฐานะคนในว่า “เรื่องมันไม่ได้เป็นนิยายอย่างนั้น มันไม่ได้ใหญ่โตจนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพียงแต่มันไม่เหมาะสม เพราะตามตำแหน่ง เจ้าน้อยฯ ต้องเป็นเจ้าหลวงในอนาคต หลายคนคงลำบากใจที่ได้เมียเป็นชาวพม่า และที่สำคัญ อุตส่าห์ส่งไปเรียนหนังสือ กลับได้เมียมา เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ต้องไม่พอใจ คงเหมือนสมัยนี้แหละ บางคนก็ต่อว่าเจ้าปู่เรา (เจ้าหลวงแก้วนวรัฐ) ว่าแบ่งขีดแบ่งชั้นกีดกันความรัก ความจริงอีกอย่างคือเจ้าอาว์ (เจ้าน้อยศุขเกษม) ก็รูปหล่อ เป็นลูกเจ้าอุปราชฯ ท่านก็เป็นคนสำราญตามประสาเจ้าชายหนุ่ม และตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ท่านมิได้หมกมุ่นตรอมใจจนตายอย่างนิยายว่า เรื่องเพิ่งจะมาเศร้าโศกปวดร้าวเมื่อคุณปราณี ขยายให้เป็นนิยายนี่เอง และถ้าเรื่องนี้เป็นไปตามนั้น ไม่มีทางจะปิดชาวเชียงใหม่ได้มิดหรอก”<ref>http://www.compasscm.com/issue/Feb10/module_back.asp?content=Feb10/scoop&lang=TH</ref>
3. เหนือฟ้า ปัญญาดี เคยสัมภาษณ์กับปราณีว่าแท้จริงแล้ว ชื่อของมะเมียะมีที่มาจากชื่อสาวไทใหญ่ที่อยู่ระแวกเดียวกัน มีชื่อจริงว่า "แม่นางเมียะ" การใช้คำว่า "มะ" ที่ภาษาเป็นพม่าใชนำหน้าชื่อผู้หญิงตั้งแต่เด็กจนเป็นสาว ส่วนข้อสันนิษฐานที่พบมะเมียะในพม่า ชื่อว่า "แม่ชีด่อนางเหลียน" จึงมีความขัดแย้งกันเพราะ "ด่อ" จะใช้นำหน้าชื่อผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้น จึงอาจไม่ใช่ตัวจริง<ref>http://www.prachatai.com/journal/2005/05/3852</ref>
4. เรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมนั้นน่าจะเป็นเรื่องจริงของเจ้าราชบุตรเสียมากกว่า และเป็นเรื่องจริงที่นำเหตุการณ์จริงหลายเรื่องมาปะติดปะต่อ ที่ทำให้พบข้อสันนิษฐานหรือข้อพิรุดอยู่หลายจุด<ref>http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/07/K12372564/K12372564.html#6</ref> คือ
1) เรื่องเจ้าน้อยฯ ไปเรียนที่มะละแหม่ง คุณปราณีว่าเจ้าน้อยอายุ ๑๕ ปี แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลเรื่องอายุแล้ว ปีที่อ่างว่าไปเรียนนั้นเจ้าน้อยมีอายุจริงได้ ๑๙ ปี ซึ่งน่าจะเลยเวลาเล่าเรียนไปแล้ว
2) เรื่องเจ้าน้อยฯ ไปส่งมะเมียะขึ้นช้างกลับมะละแหม่งที่ประตูหายยา เรื่องนี้ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นจริง เพราะการเดินทางไปมะละแหม่งนั้น จะต้องล่องเรือตามลำน้ำปิงไปเมืองระแหงหรือเมืองตาก แล้วเดินบกไปมะละแหม่ง การเดินทางจากเชียงใหม่ไปเมืองตากโดยทางบกนั้นไม่มีใครทำกัน
3) คุณปราณีว่า เจ้าแก้วนวรัฐฯ และเจ้าน้อยฯ มอบเงินให้มะเมียะติดตัวกลับไปเป็นเงิน ๘๐๐ และ ๘๐ บาท ข้อนี้ก็พิรุธเพราะสมัยนั้นทางล้านนาไม่มีการใช้เงินบาท แต่ใช้เงินรูเปียอินเดียที่อังกฤษเอามาใช้ที่พม่า ที่เรียกกันว่า "เงินแถบ" เงินบาทเพิ่งจะขนขึ้นไปใช้จนแพร่หลายในช่วงหลัง พ.ศ. ๒๔๕๙ หรือในช่วงกลางรัชกาลที่ ๖ มาแล้ว
4) "ประตูหายยา" ที่เจ้าน้อยศุขเกษมไปส่งมะเมียะ และชาวเมืองเชียงใหม่จำนวนมากไปเฝ้ารอดูว่าเธอสวยเพียงใดนั้นเป็นเรื่องผิดวิสัย ตามความเชื่อของคนเชียงใหม่ ประตูหายยาเป็น "ประตูผี" สำหรับส่งศพออกนอกเมือง ยิ่งเป็นการเดินทางไปเมืองมะละแหม่ง ควรเลือกใช้ "ประตูท่าแพ" เพื่อลงเรือแม่ปะตามแม่น้ำปิงไปเมืองระแหง แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางบก ใช้ช้างเดินทางไปด่านแม่สอดสู่เมืองมะละแหม่ง เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด (นักวิชาการท้องถิ่นบางคนสันนิษฐานว่าการเดินทางของมะเมียใช้เส้นทางจากสันป่าตองสู่บ้านกาดถึงเมืองวินต่อไปที่แม่นาจรจนถึงขุนยวมแล้วลงเรือบ้านต่อแพเพื่อออกแม่น้ำสาละวิน)
5)เจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน) ลงมาเล่าเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัยเมื่ออายุ ๑๔ ปี เป็นปีเดียวกับที่คุณปราณีระบุว่าเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่มะละแหม่ง
6)ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ ยังพบความ "เรื่องประหลาด" ในพระราชบันทึกส่วนพระองค์ ที่ทรงกล่าวถึงเจ้าราชบุตรจะสมรสกับหญิงคนหนึ่งที่เป็นธิดานอกสมรสของพระบรมวงศ์พระองค์หนึ่ง โดยในชั้นต้นเข้าใจกันว่าเป็นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์ จึงมีพระราชดำริที่จะจัดการสมรสพระราชทาน แต่เมื่อตรวจสอบแล้วสตรีนั้นเป็นบุคคลที่บิดาไม่รับเป็นบุตร จึงมิได้เป็นหม่อมเจ้า ในเมือมิได้เป็นเจ้าจึงต้องทรงวางเฉยในเรื่องนี้ และไม่ปรากฏว่าเจ้าราชบุตรได้สมรสกับหญิงคนนี้
5. รายการทางช่องยูทูป Hot Asia<ref>https://www.youtube.com/watch?v=i6nFQ9ym-0g</ref> ได้เดินทางไปตามหาเรื่องราวของมะเมียะจนได้พบภาพที่เชื่อว่าเป็นภาพของมะเมียะตอนอายุ 20 ปีซึ่งเป็นอาจารย์ของแม่ชีที่ไปสัมภาษณ์ ผู้หญิงในภาพมีประวัติว่าเคยมีสามีเป็นคนไทยและก่อนมาบวชเคยมีลูกและนำทารกไปให้ผู้อื่นเลี้ยงและทารกได้เสียชีวิตเพียงอายุ 9 เดือน ภาพถ่ายมีข้อพิรุดความคลาดเคลื่อนที่เชื่อกันว่ามะเมียะเกิดในปี พ.ศ. 2430 แต่ภาพถ่ายนี้ทำให้พบว่ามะเมียะในภาพควรเกิดปี พ.ศ. 2445 แต่เจ้าน้อยฯเดินทางไปเรียนพม่าเมื่อ ปี พ.ศ. 2445 ที่ไม่ตรงกับคำบอกเล่าและเป็นไปไม่ได้ที่จะพบกัน
 
== อ้างอิง ==