ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาเลสซานโดร โวลตา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 4:
== ประวัติ ==
โวลตาเกิดเมื่อวันที่ [[18 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1745]] ที่เมือง[[โกโม]] [[แคว้นลอมบาร์เดีย]] [[ประเทศอิตาลี]] ประวัติส่วนตัวของเขาไม่มีใครทราบแน่ชัด รู้เพียงแต่ว่าโวลตาอยู่ในความ[[อุปการะ]]ของ[[ญาติ]]คนหนึ่ง โวลตาได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนพับลิคแห่งเมืองโกโม และเข้าศึกษาต่อใน[[วิชาฟิสิกส์]]ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองโคโม หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโกโมแล้ว โวลตาได้เข้าทำงานเป็น[[ครู]]สอนวิชาฟิสิกส์ที่[[โรงเรียนรอยัล เซมมิเนร์]] โรงเรียนมัธยมในเมืองโกโมนั่นเอง ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1771]] เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[ศาสตราจารย์]]ประจำภาค[[วิชาเคมี]]ที่มหาวิทยาลัยโกโม และในปี [[ค.ศ. 1774]] เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้โวลตาได้ศึกษาเกี่ยวกับ[[ไฟฟ้า]] และในปี [[ค.ศ. 1775]] โวลตาได้ประดิษฐ์เครื่องประจุไฟฟ้าสถิตขึ้น เขาเรียกเครื่องนี้ว่า '''[[เครื่องประจุไฟฟ้าสถิต]]''' (Electrophorus) ในปีต่อมาเขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับ[[ก๊าซมาร์ช]] ผลจากการทดลองค้นคว้าเขาได้เขียนลงในหนังสือชื่อว่า Lettere Sull Aria Ifiammabile delle Paludi เขาไม่ได้หยุดการค้นคว้าแต่เพียงเท่านี้ ในปี [[ค.ศ. 1777]] เขาได้ประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าขึ้นอีกหลายชิ้นได้แก่ '''[[คาแพคซิเตอร์]]''' เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor) และ'''[[อิเล็กโทรสโคป]]''' เป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดชนิดของประจุไฟฟ้า (Electroscopes) นอกจากนี้เขายังได้ประดิษฐ์[[ตะเกียงแก๊ส]] และ[[ออดิโอมิเตอร์]] (Audio meter) อีกด้วย จากผลงานต่างๆ การประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าหลายชนิด ทำให้โวลตามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในปี [[ค.ศ. 1779]] เขาได้รับเชิญจาก[[มหาวิทยาลัยปาเวีย]] (Pavia University) ให้เข้าดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ แม้ว่าเขาจะมีหน้าที่การงานและชื่อเสียงมากขึ้น โวลตาก็ยังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับไฟฟ้าตลอดเวลา จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้รับทราบข่าวว่ามีการค้นพบไฟฟ้าจาก[[กบ]]ของ[[ลุยจี กัลวานี]] (Luigi Galvani) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีซึ่งพบโดยบังเอิญขณะสอนวิชากายวิภาคเกี่ยวกับกบ เมื่อกัลวานีใช้[[คีม]]แตะไปที่ขากบที่วางอยู่บน[[จานโลหะ]] ทันใดนั้นขากบก็กระตุกขึ้นมา สร้างความประหลาดใจให้แก่เขาและนักศึกษาภายในห้องนั้น จากนั้นเขาก็ทำการทดลองแบบเดียวกันนี้ซ้ำอีกหลายครั้ง ซึ่งผลก็ออกมาเหมือนกันทุกครั้ง จากผลการทดลอง กัลวานีจึงสรุปว่ากบมีไฟฟ้าอยู่ทำให้เกิด[[ปฏิกิริยา]]ขึ้นเมื่อใช้คีมแตะตัวกบ เพราะคีมทำจากเหล็กซึ่งเป็นสื่อไฟฟ้า เมื่อโวลตาได้มีโอกาสอ่านหนังสือของกัลวานีทำให้เขาทำการทดลองตามแบบของกัลวานีแต่ทดลองเพิ่มเติมกับสิ่งอื่น เช่น [[ลิ้น]] โดยนำ[[เหรียญเงิน]]มาวางไว้บนลิ้น และนำ[[เหรียญทองแดง]]มาไว้ใต้ลิ้น ปรากฏว่าเขารู้สึกถึงรส[[เค็ม]]และลิ้นกระตุก จากผลการทดลอง โวลตาพบว่า อันที่จริงแล้วกบไม่ได้มีไฟฟ้า แต่การที่ขากบนั้นเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของ[[โลหะ]]ที่ถูกเชื่อมโยงด้วยกรดเกลือซึ่งมีอยู่ใน[[สัตว์]] รวมถึงกบและ[[มนุษย์]]ด้วย จากผลการทดลองครั้งนี้ โวลได้ทดลองสร้าง[[กระแสไฟฟ้า]]ขึ้น โดยการใช้[[ชามอ่าง]] 2 ใบ จากนั้นก็ใส่[[น้ำเกลือ]] และ[[หนังฟอก]]ที่ตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไป จากนั้นนำแผ่นเงินและ[[สังกะสี]] ขนาดประมาณเท่าเหรียญเงิน มาประกบกันจำนวน 8 คู่ โดยเริ่มจากแผ่นสังกะสีก่อนแล้วจึงเป็น[[แผ่นเงิน]] จากนั้นจึงนำมาวางบนโลหะยาวเพื่อเชื่อมโลหะทั้งหมดเป็นแท่งที่ 1 ส่วนอีกแท่งหนึ่งทำให้ลักษณะเดียวกันแต่ใช้แผ่นเงินวางก่อนแล้วจึงใช้แผ่นสังกะสี จากนั้นนำโลหะทั้ง 2 แท่ง ใส่ลงในชามอ่างทั้ง 2 ใบ ซึ่งวางอยู่ใกล้กันแต่ไม่ติดกัน จากนั้นใช้ลวดต่อระหว่างแท่งโลหะในอ่างทั้ง 2 อ่าง เมื่อทดสอบปรากฏว่ามีกระแสไฟฟ้าอยู่บนเส้นลวดนั้น ในปี ค.ศ. 1788 โวลตาได้นำหลักการเดียวกันนี้มาประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชื่อว่าวอลเตอิกไพล์ (Voltaic Pile) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของแบตเตอรี่ไฟฟ้า (Battery) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดแรกของโลกที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีโดยแบตเตอรี่ ของโวลตาใช้แผ่นทองแดงวางเป็นแผ่นแรก ต่อด้วยกระดาษชุบกรดเกลือ หรือกรดกำมะถัน ต่อจากนั่นใช้แผ่นสังกะสีและกระดาษชุบกรดเกลือ หรือกรดกำมะถัน ซ้อนสลับกันเช่นนี้เรื่อยไปประมาณ 100 แผ่น จนถึงแผ่นสังกะสีเป็นแผ่นสุดท้าย ต่อจากนั้นใช้ลวดเส้นหนึ่ง ปลายข้างหนึ่งงอกับแผ่นทองแดงแผ่นแรกส่วนอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับแผ่นสังกะสีแผ่นสุดท้าย ด้วยวิธีการเช่นนี้จะทำให้ลวดเส้นดังกล่าวมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ตลอด ต่อจากนั้นโวลตาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับโวลตาอิค ไพล์ต่อไป จนพบว่ายิ่งใช้แผ่นโลหะมากแผ่นขึ้นเท่าไรก็จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ามากขึ้นตามลำดับและได้นำหลักการดังกล่าวมาสร้าง[[เซลล์กัลวานิก|เซลล์วอลเตอิก]] (Voltaic Cell) โดยใช้วอลเตอิกไพล์หลาย ๆ อันมาต่อกันแบบอนุกรมซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ได้กระแสไฟฟ้ามากขึ้น และแรงกว่าที่ได้จากโวลตาอิค ไพล์ และในปีเดียวกัน โวลตาได้ส่งรายงานผลการทดลองของเขาไปยังราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) โดยเขาตั้งชื่อผลงานชิ้นนี้ว่า Philosophical Transaction ซึ่งทางราชสมาคมได้ให้ความสนใจ และเผยแพร่ผลงานของเขาลงในวารสารของทางสมาคมและเมื่อผลงานของเขาได้เผยแพร่ออกไป ทำให้เขามีชื่อเสียงได้รับการยกย่องจากวงการวิทยาศาสตร์ และสาธารณชนเป็นอย่างมาก ผลงานของโวลตาชิ้นนี้ยังทำให้เกิดกระแสการค้นคว้าไฟฟ้าในวงการวิทยาศาสตร์มากขึ้น ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เขาสามารถล้มล้างทฤษฎีไฟฟ้าในสัตว์ (The Principle of Animal Electricity) ของกัลวานีลงไปได้ แต่กาารค้นพบของกัลวานีก็ยังมีข้อดี คือ ทำให้โวลตาสามารถค้นพบกระแสไฟฟ้าได้เป็นผลสำเร็จ จากผลงานชิ้นนี้ทำให้โวลตาได้รับรางวัลจากสถาบันวิทยาศาสตร์หลายแห่ง ได้แก่ ค.ศ. 1791 เขาได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญแห่งปี และได้รับเหรียญคอพเลย์ (Copley Medal) จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1802 เขาได้รับเชิญจากพระเจ้านโปเลียนที่ 1 (King Napoleon I) แห่งฝรั่งเศส โวลตาได้นำการทดลองไปแสดงต่อหน้าพระพักตร์ซึ่งทรง ชอบพระทัยเป็นอย่างมาก ทรงมอบเงินจำนวน 6,000 ฟรังค์ ให้กับโวลตาเป็นรางวัลในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้โวลตายังได้รับรางวัลเหรียญทองจากสถาบันแห่งปารีส (Institute de Paris) หลังจากนั้นโวลตาได้เดินทางกลับประเทศอิตาลี ซึ่งประชาชนให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดี อีกทั้งเขายังได้รับเชิญให้เข่าร่วมเป็นสมาชิกของสภาซีเนต แห่งลอมบาร์ดี้, ได้รับพระราชทานยศท่านเคานท์ (Count) และได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งคณบดีประจำคณะปรัชญาที่ มหวิทยาลัยปาดัง (Padua University) โวลตาได้ทำการค้นคว้างานด้านไฟฟ้าของเขาอยู่ตลอด และได้พิมพ์เผยแพร่ผลงานลงในวารสารชื่อว่า Sceltad Opuscoliในประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1819 โวลตาได้ลาออกจากทุกตำแหน่งหน้าที่ เพราะเขาอายุมากแล้วต้องการจะพักผ่อน โวลตาเสียชีวิตในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1827 ที่เมืองโคโม ประเทศอิตาลี จากการค้นพบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และบุกเบิกงานด้านไฟฟ้าให้มีความเจริญก้าวหน้า มากขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1881 ภายหลังจากที่โวลตาเสียชีวิตไปแล้ว 54 ปี ทางสภาไฟฟ้านานาชาติ (The International Electrical Congress) ได้มีมติในที่ประชุมว่าให้ตั้งชื่อหน่วยวัดแรงเคลื่อนไฟ
ฟ้า เป็นโวลท์ (Volt) เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่โวต้า แต่นั้นเป็นต้นมา bghtpehyp[h
{{Birth|1745}}{{Death|1827}}