ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณคดีสโมสร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ploypailin Chiwkanan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรา[[พระราชกฤษฎีกา]] ตั้งวรรณคดีสโมสร ขึ้นเมื่อวันที่ [[23 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2457]] เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย และได้สาระประโยชน์ เนื่องจากในยุคนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือภาษาต่างประเทศ ทำให้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป คำว่า "[[วรรณคดี]]" ก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคำว่า "literature" ในภาษาอังกฤษ
 
คณะกรรมการของวรรณคดีสโมสรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่คัดเลือกหนังสือดี หนังสือที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับพระราชทานรางวัล และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ นับเป็นการมอบรางวัลทางวรรณกรรมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย<ref>[http://www.ryt9.com/s/tpd/1042367 ร้อยเรื่องเมืองไทย: วรรณคดีสโมสร, บุคคลสำคัญของโลกชาวไทย]</ref>
 
ตามพระราชกฤษฎีกา ได้แบ่งประเภทของหนังสือไว้ 5 ประเภท<ref>[http://www.krupannee.net/wan.html]</ref> ดังนี้