ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แหล่งน้ำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Ananta boonpet (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Horus
Ananta boonpet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
แหล่งน้ำแบ่งได้เป็นสองประเภทตามการกำเนิดคือ แหล่งน้ำที่เกิดโดยธรรมชาติเช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ และแหล่งน้ำที่เกิดจากการสร้างโดยมนุษย์เช่น [[อ่างเก็บน้ำ]] [[คลอง]] นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งได้ตามการเคลื่อนที่ของน้ำ เช่น แม่น้ำ และคลอง กล่าวถึงแหล่งน้ำมีการไหลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ในขณะที่ ทะเลสาบ น้ำจะไม่มีการไหลไปแหล่งอื่น แหล่งน้ำที่มีการสัญจรจะถูกเรียกว่า[[ทางน้ำ]] สำหรับส่วนบริเวณของภูมิประเทศที่มีน้ำเป็นจำนวนหนึ่งแต่ไม่เรียกว่าแหล่งน้ำเช่น [[น้ำตก]] และ[[ไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)|ไกเซอร์]]
 
== ไบโอมในน้ำ (Aquatic biomes)==
 
==== องค์ประกอบของไบโอมในน้ำ ====
 
*ไบโอมแหล่งน้ำจืด ( freshwater biomers )
 
*ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม ( marine biomers )
 
=== 1.ไบโอมแหล่งน้ำจืด ===
 
[[ไฟล์:ImageResizer.net_-_4dw5mo995v3efir_(1).jpg ‎|center|ไบโอมแหล่งน้ำจืด]]
 
==== องค์ประกอบของไบโอมน้ำจืด ====
 
*แหล่งน้ำนิ่ง ได้แก่ [[ทะเลสาบ]] [[สระ]] [[หนอง]] หรือ[[บึง]]
 
*แหล่งน้ำไหล ได้แก่ [[ธารน้ำไหล]]และ[[แม่น้ำ]]
 
=== สังคมในแหล่งน้ำจืด ===
 
แหล่งน้ำจืดเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั่วไปรวมทั้งมนุษย์ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องใช้น้ำจืดในการดำรงชีวิตโดยตรง แม้ว่าแหล่งน้ำจืดบนโลกมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นดินหรือมหาสมุทร สังคมของสิ่งมีชีวิตที่พบในน้ำจืดมีการปรับตัวหลายประการเพื่อให้เหมาะกับสภาพของตัวกลางที่เป็นที่อยู่อาศัยคือน้ำจืด เนื่องจากน้ำมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต เช่น
:'''1.มีความร้อนจำเพาะสูง'''
คือต้องใช้ความร้อนในปริมาณมากเพื่อทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส ดังนั้นน้ำจึงสามารถดูดซับความร้อนไว้ได้มาก โดยที่อุณหภูมิของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงน้อย ทำให้สัตว์น้ำไม่ต้องปรับตัวต่ออุณหภูมิในช่วงเวลาต่างๆ ของวันมากเกินไป
:'''2. น้ำต้องการความร้อนในการระเหยสูงมาก'''
ถ้าต้องการให้น้ำ 1 กรัม ระเหยเป็นไอใช้ความร้อนถึง 539 แคลอรีต่อกรัม ดังนั้นแหล่งน้ำใหญ่จึงมีอิทธิพลมากต่อภูมิอากาศประจำถิ่น เนื่องจากเมื่อมีลมพัดผ่านผิวน้ำ ความร้อนจะถูกถ่ายเทให้กับน้ำไว้ได้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้มวลอากาศพัดผ่านผิวน้ำเย็นลง
:'''3. น้ำมีความหนาแน่นสูงที่สุดที่ 4 องศาเซลเซียส'''
ดังนั้นน้ำแข็งจึงเบากว่าน้ำ และเป็นผลดีมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำของเขตหนาว เมื่อถึงฤดูหนาว ในขณะที่อุณหภูมิที่ผิวหน้าน้ำลดลงถึง 4 องศาเซลเซียส ทำให้มีความหนาแน่นมากและจมลงก้นน้ำ น้ำที่ก้นน้ำจึงหมุนเวียนขึ้นสู่ผิวหน้า ทำให้มวลน้ำมีการผสมทั่วถึงกัน และเป็นการนำเอาอาหารและออกซิเจนมาผสมกันด้วย
:'''4. น้ำต้องการความร้อนในการหลอมละลายค่อนข้างสูง'''
คือ ต้องการถึง 80 แคลอรีต่อกรัม ปริมาณความร้อนนี้น้ำดุดซับเอาไว้เพื่อทำให้น้ำแข็งละลายเป็นน้ำโดยที่ไม่ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดีในการรักษาอุณหภูมิของน้ำให้ค่อนข้างคงที่
:'''5. น้ำมีแรงดึงดูดระหว่างขั้วไฟฟ้าต่างกัน''' ( dielectric constant )
ค่อนข้างสูง คือ มีค่าเท่ากับ 80 ดังนั้นน้ำจึงเป็นตัวทำละลายที่ดี
:'''6. น้ำมีความหนืด ( viscosity ) ค่อนข้างสูง'''
น้ำจึงเป็นตัวกลางที่สัตว์น้ำเคลื่อนที่ไปมาได้ยาก หรือช้ากว่าในอากาศ แต่ในขณะเดียวกันน้ำจะช่วยให้ลอยอยู่ได้ดีกว่าในอากาศ เมื่อเปรียบเทียบกับอากาศ น้ำจึงมีความหนืดมากกว่าถึง 100 เท่า
:'''7. น้ำมีคุณสมบัติที่สามรถละลายแก็ส'''
ที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตในอัตราส่วนที่ผกผันกับปริมาณที่มีอยู่ในอากาศ คือ ในสภาวะมาตรฐานทั่วไป ปริมาณน้ำ 100 มิลลิลิตร สามรถละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 0.34 กรัม ละลายแก๊สออกซิเจน 0.007 กรัม และแก๊สไนโตรเจน 0.003 กรัม ในขณะที่ในบรรยากาศมีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 0.033 เปอร์เซ็นต์ แก๊สออกซิเจน 23 เปอร์เซ็นต์ และแก๊สไนโตรเจน 75 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ดังนั้นในแหล่งน้ำทั่วไปปริมาณออกซิเจนละลายมีค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการขาดออกซิเจนได้บ่อย และถือเป็นปัจจัยจำกัดสำคัญในแหล่งน้ำ
 
จากคุณสมบัติพิเศษของน้ำที่กล่าวมาข้างต้น น้ำจึงเป็นตัวกลางที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิต แต่อย่างไรก็ตามสัตว์น้ำและพืชน้ำก็ยังต้องปรับตัวต่อสภาวะที่เป็นปัจจัยจำกัด กล่าวคือการปรับตัวต่อสภาวะที่มีน้ำมากเกินไปในตัวกลาง เนื่องจากในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีความเข้มข้นของปริมาณแร่ธาตุอาหารสูงกว่าน้ำ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตในน้ำจึงต้องมีวิธีการดูดซึมของน้ำจากภายนอกเข้าสู่เซลล์ หรืออาจมีวิธีการกำจัดน้ำที่มีมากเกินในเซลล์ออกไป
 
โดยปริมาณแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำจืดอยู่ที่ประมาณ 0.1-0.5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ในขณะที่แร่ธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมีปริมาณสูงถึง 3.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปริมาณแร่ธาตุในน้ำทะเลนี้จะมีโซเดียมคลอไรด์ (NaCl ; เกลือแกง) อยู่ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุนี้สัตว์น้ำจึงมีการปรับตัวที่ต่างกัน
 
ปกติแล้วสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลจะมีความเข้มข้นของของเหลวเท่ากับน้ำภายนอกร่างกาย ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังในทะเลจะมีความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายต่ำกว่าน้ำภายนอกร่างกาย ดังนั้นจึงมีการปรับตัวโดยการกินน้ำเข้าไปเยอะๆ และจะกำจัดเกลือที่มากเกินออกไปทีหลังโดยการขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นสูงกว่าเลือดมากๆ เกลือแร่ต่างๆก็จะปนออกมามากเช่นกัน หรืออาจกำจัดออกไปทีหลังทางเหงือกโดยวิธีแอคทีฟทรานสปอร์ต (active transport)
 
สำหรับสัตว์ในน้ำจืดจะมีสภาวะที่ตรงข้ามกับสัตว์ในทะเล กล่าวคือน้ำภายนอกร่างกายเข้ามาในร่างกายมากเกินไป ถ้าไม่ป้องกันหรือกำจัดออก จะทำให้เซลล์บวมถึงตายได้ สัตว์น้ำจืดจึงมีการปรับตัวให้ผิวมีความต้านทานต่อการไหลของน้ำที่จะเข้าสู่เซลล์ และมีการขับปัสสาวะที่เจือจาง และการดึงเกลือแร่จากน้ำกลับมาใช้ให้สูงขึ้นทางเหงือกโดยวิธีแอคทีฟอัพเทค (active uptake)
 
[[ไฟล์:6541-004-A9497BC0_(1).jpg ‎|center|Osmoregulation]]
 
== การจำแนกสิ่งมีชีวิตในน้ำจืดตามหลักนิเวศวิทยา ( Ecological Classification of freshwater biota) ==
การจำแนกสิ่งมีชีวิตในสังคมหรือในระบบนิเวศเท่าที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว มักจำแนกตามลำดับชั้นของการกินอาหาร เช่น แบ่งออกเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย สำหรับในสังคมหรือในระบบนิเวศในแหล่งน้ำจืดนั้นมักจำแนกสิ่งมีชีวิตตามแหล่งที่อยู่อาศัย ดังนี้
:'''1. สิ่งมีชีวิตหน้าดินหรือเบนโทส (Benthos)'''
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่เกาะหรือพักตัวบนพื้นห้องน้ำหรือพักตัวอยู่ในตะกอนของพื้นห้องน้ำ และสำหรับในพวกสัตว์หน้าดินอาจแบ่งย่อยไปตามลักษณะการกินอาหาร เช่น พวกกรองอาหาร (filter feeders) ได้แก่ หอยกาบ พวกตะกอนสารอินทรีย์ (deposit feeders) ได้แก่ ไส้เดือนน้ำ (aquatic oligochaete ) หอยขม หอยโข่ง เป็นต้น
 
:''' 2. พวกเกาะและแขวนตัวกับวัตถุในน้ำหรือเพอรีไฟตอน (Periphyton หรือ Autwuchs )'''
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่เกาะหรือแขวนลอยตัวกับพืชน้ำ หรือวัตถุอื่นๆ ใต้น้ำ ได้แก่ แอลจี ไดอะตอมและโปรโตซัวที่เกาะตามใบและรากของแหนเป็ด จอก ผักตบชวา และพื้นน้ำอื่นๆ และอาจรวมถึงพวกหอยฝาเดียว และตัวอ่อนของแมลงด้วยแต่นักนิเวศวิทยาบางท่านอาจไม่จัดสัตว์อื่นๆ ไว้มนกลุ่มนี้ โดยจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเฉพาะ แอลจี ไดอะตอม และโปรโตซัว เป็นเพอริไฟตอน
:'''3. แพลงก์ตอน (Plankton)'''
สิ่งมีชีวิตที่ลอยอยู่ในน้ำหรือลอยไปตามกระแสน้ำ มักเป็นพวกที่ว่ายน้ำได้ดี มีทั้งแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ หรือแบ่งตามขนาดออกได้เป็น net plankton หมายถึง แพลงก์ตอนที่มีขนาดใหญ่พอที่จะติดอยู่ในถุงลากแพลงก์ตอนมาตรฐาน (ขนาดช่องตา 70 ไมโครเมตร ) และอีกพวกคือ nannoplankton หมายถึง แพลงก์ตอนขาดเล็กมากจนไม่สามารถจะเก็บตัวอย่างจากถุงลากแพลงก์ตอนทั่วๆไปได้
:'''4. พวกที่ว่ายน้ำเป็นอิสระหรือเนคตอน ( Nekton)'''
ได้แก่ สัตว์ที่มีความสามารถในการว่ายน้ำได้อย่างดีและว่องไว ได้แก่ ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก แมลงในน้ำขนาดใหญ่ เช่น ด้วงดิ่ง แมลงดานา เป็นต้น
 
:''' 5. พวกที่ลอยตัวที่ผิวน้ำหรือนิวสตอน (Neuston )'''
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่พัก หรือลอยตัวบนผิวหน้าน้ำ เช่น แมลงจิงโจ้น้ำ
 
การศึกษานิเวศวิทยาของน้ำจืดแบ่งย่อยออกเป็นการศึกษาสังคมในน้ำนิ่ง (Lentic communities ) และสังคมในน้ำไหล (Lotic communities) นอกจากนี้ในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลยังจำแนกออกเป็นเขตนิเวศย่อยๆลงไปอีก และสิ่งมีชีวิตที่พบในแต่ละเขตจะแตกต่างไปตามสภาพแวดล้อม ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในแต่ละชนิดของแหล่งน้ำ แต่โดยรวมแล้ว สิ่งมีชีวิตที่พบในระบบน้ำจืดประกอบด้วยตัวแทนจากไฟลัมต่างๆ เกือบทั้งหมด เช่น ในพวกพืชมีแอลจี และสาหร่ายเป็นผู้ผลิตที่สำคัญที่สุด รองลงมาคือ พวกหอยต่างๆ ทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา แมลงในน้ำ ครัสเตเซีย เช่น กุ้ง ไรน้ำ ปู และกลุ่มสุดท้าย คือ ปลา นอกเหนือจากนี้นี้จะพบสัตว์พวกไส้เดือนน้ำ โรติเฟอร์ โปรโตซัว หนอนตัวกลม และหนอนตัวแบน ซึ่งมีปริมาณรองลงมา สำหรับกลุ่มที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายซากในน้ำได้แก่ แบคทีเรีย และราน้ำ
 
== สังคมในแหล่งน้ำนิ่ง (Lentic Community) ==
[[ไฟล์:ImageResizer.net_-_qatelwh6dldcsaz.jpg ‎|center|การแบ่งเขตของแหล่งน้ำนิ่ง]]
แหล่งน้ำนิ่งประกอบด้วย สระ บึง หนอง อ่างเก็บน้ำ และทะเลสาบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งน้ำที่แยกออกจากแหล่งน้ำอื่น แต่หลายแห่งอาจรับน้ำจากแม่น้ำลำคลองเป็นครั้งคราว เช่น พื้นที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ รับน้ำจากแม่น้ำน่านและลำคลองใกล้เคียงในฤดูน้ำหลาก เมื่อถึงฤดูแล้งระดับน้ำจะลดลง 2-3 เมตร และทำให้บึงแยกจากแหล่งน้ำอื่นโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำนิ่งอีกหลายแห่งโดยเฉพาะแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ไม่มีการรับน้ำจากที่อื่น ปริมาณน้ำที่มีอยู่มีการเพิ่มเติมได้เฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น ตามหลักนิเวศวิทยาแบ่งขอบเขตแหล่งน้ำจืดทั่วๆไปเป็น 3 เขต
:'''1. เขตชายฝั่ง (Littoral zone)'''
คือ บริเวณที่ตื้นรอบๆแหล่งน้ำ แสงสามารถส่องถึงพื้นดินก้นน้ำได้ บริเวณนี้มีพืชที่มีรากหยั่งลงดินอยู่มาก เช่น กก ธูปฤๅษี ขาเขียด บัวสาย บัวหลวง ผักตบชวา ตลอดจนสาหร่ายที่จมอยู่ใต้น้ำอื่นๆ เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายพุงชะโด และสาหร่ายข้าวเหนียว
:'''2. เขตผิวน้ำ (Limnetic zone)'''
คือ บริเวณที่ผิวหน้าน้ำตอนบนจนถึงระดับลึกที่แสงสามารถส่องลงไปถึง ซึ่งที่ระดับนี้อัตราการสังเคราะห์แสงเท่ากับอัตราการหายใจ เรียกว่า compensation level สิ่งมีชีวิตที่พบมากในเขตนี้ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแอลจีขนาดเล็ก และไดอะตอม นอกจากนี้มีแพลงก์ตอนสัตว์ต่างๆ เช่น ไรแดง ตัวอ่อนของแมลง โรติฟอร์ (ภาพ 9.4) และสัตว์พวกที่อยู่บนผิวน้ำ เช่น จิงโจ้น้ำ และสัตว์ที่ว่ายน้ำอิสระ เช่น ปลา เป็นต้น
:'''3. เขตพื้นท้องน้ำ (Profundal zone)'''
คือ บริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับที่อัตราการสังเคราะห์แสงเท่ากับอัตราการหายใจ ไปจนถึงหน้าพื้นดินของท้องน้ำ แต่เขตนี้มักไม่มีในแหล่งน้ำขนาดเล็กหรือแหล่งน้ำตื้น แต่ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่หรือทะเลสาบจะมีเขตนี้รวมอยู่ด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในเขตนี้ไม่มีกลุ่มสังเคราะห์แสง เนื่องจากแสงส่องลงไปไม่ถึง ส่วนใหญ่ได้อาหารจากเขตชายฝั่งและเขตผิวน้ำ สิ่งมีชีวิตในน้ำที่เขตนี้ไม่ชุกชุมเหมือนกับเขตอื่นที่กล่าวมาแล้ว สิ่งมีชีวิตที่พบมากมักเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามหน้าดิน ได้แก่ แบคทีเรีย ราน้ำ และพบมากที่ผิวหน้าดินและชั้นของดินตอนบน สำหรับพวกสัตว์ประกอบด้วย หนอนแดง ซึ่งเป็นตัวอ่อนของริ้น (chironomid larvae) กลุ่มหนึ่ง และอีกกลุ่มหนึ่ง คือ พวกไส้เดือนน้ำ (Tubifex) นอกจากนี้อาจเป็นพวกหอยฝาเดียวและหอยสองฝาที่กินอินทรียวัตถุ
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา เลาหะจินดา“หนังสือนิเวศวิทยา พื้นฐานสิ่งแวดล้อมศึกษา”,สังคมในแหล่งน้ำจืด,หน้า.144.147,2549
* รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา เลาหะจินดา“หนังสือนิเวศวิทยา พื้นฐานสิ่งแวดล้อมศึกษา”,การจำแนกสิ่งมีชีวิตในน้ำจืดตามหลักนิเวศวิทยา ( Ecological Classification of freshwater biota),หน้า.147.148,2549
* รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา เลาหะจินดา“หนังสือนิเวศวิทยา พื้นฐานสิ่งแวดล้อมศึกษา”,สังคมในแหล่งน้ำนิ่ง,หน้า.148,2549
{{จบอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==