ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มิสไซง่อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ckong126 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
'''มิสไซง่อน''' ({{lang-en|Miss Saigon}}) เป็น[[ละครเพลง]] ซึ่งประพันธ์ดนตรีโดยคลอดด์-มิเชล
{{กล่องข้อมูล ละครเวที
'''มิสไซง่อน''' ({{lang-en|Miss Saigon}}) เป็น[[ละครเพลง]] ซึ่งประพันธ์ดนตรีโดย[[คลอดด์-มิเชล โชนเบิร์ก]] (Claude-Michel Schönberg) คำร้องโดย[[อัลเลง บูบลิล]] (Alain Boublil) และ[[ริชาร์ด มอลต์บี จูเนียร์]] (Richard Maltby, Jr.) โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจาก[[อุปรากร]]ของ[[จาโกโม ปุชชีนี]] (Giacomo Puccini) เรื่อง[[มาดามบัตเตอร์ฟลาย]] (Madame Butterfly) ซึ่งทั้ง "มาดามบัตเตอร์ฟลาย" และ "มิสไซง่อน" ได้ถ่ายทอดเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักของหญิง[[ชาวเอเชีย]]ที่ถูกชาย[[ชาวอเมริกัน]]ทอดทิ้ง ในขณะที่เนื้อเรื่องเดิมของ "มาดามบัตเตอร์ฟลาย" เป็นเรื่องราวความรักของหญิงสาว[[เกอิชา]][[ชาวญี่ปุ่น]]และนาย[[ทหารเรือ]]ชาวอเมริกันในช่วง[[คริสต์ทศวรรษ 1900]] ซึ่งเป็นช่วงที่[[ญี่ปุ่น]]เพิ่งเริ่มเปิดประเทศ "มิสไซง่อน" เป็นเรื่องราวความรักของหญิงสาว[[ชาวเวียดนาม]]ที่ทำงานในสถานบริการ และนายทหารชาวอเมริกันที่เข้าไปประจำการในเมืองไซง่อน (ปัจจุบันคือ [[นครโฮจิมินห์]]) ประเทศ[[เวียดนาม]] ระหว่าง[[สงครามเวียดนาม]] ช่วง[[คริสต์ทศวรรษ 1970]]
| name = Miss Saigon
| image =
| caption =
| music = [[คลอดด์-มิเชล โชนเบิร์ก]]
| lyrics = [[อัลเลง บูบลิล]] <br />[[ริชาร์ด มอลต์บี จูเนียร์]]
| book = [[คลอดด์-มิเชล โชนเบิร์ก]]<br /> [[อัลเลง บูบลิล]]
| basis = [[อุปรากร]] by [[จาโกโม ปุชชีนี]]<br>''[[มาดามบัตเตอร์ฟลาย]]''
| productions = 1989 [[West End theatre|West End]] <br> 1991 [[Broadway theatre|Broadway]] <br> 1992 [[United States|US]] tour <br> 1993 [[Toronto]] <br> 1994 [[Stuttgart]] <br> 1994 [[Budapest]] <br> 1996 [[Scheveningen]] <br> 2000 [[Manila]] <br> 2000 [[Warszawa]] <br> 2001 [[United Kingdom|UK]] tour <br> 2002 [[United States|US]] tour <br> 2002 [[Estonia]] <br> 2004 [[Győr]] <br> 2004 [[UK]] tour <br> 2007 [[Brazil]] <br> 2009 [[Norway]] <br> 2010 [[Toronto]] <br> 2011 [[Utrecht]] <br> 2011 [[Budapest]] <br> 2011 [[New Zealand]] <br> 2012 [[Denmark]] <br> 2012 [[Thailand]] <br> 2013 [[Malmö]] <br> 2014 [[West End theatre|West End]] revival
<!-- Please do not include production-specific (acting, directing, etc.) awards -->
| awards=
}}
 
'''มิสไซง่อน''' ({{lang-en|Miss Saigon}}) เป็น[[ละครเพลง]] ซึ่งประพันธ์ดนตรีโดย[[คลอดด์-มิเชล โชนเบิร์ก]] (Claude-Michel Schönberg) คำร้องโดย[[อัลเลง บูบลิล]] (Alain Boublil) และ[[ริชาร์ด มอลต์บี จูเนียร์]] (Richard Maltby, Jr.) โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจาก[[อุปรากร]]ของ[[จาโกโม ปุชชีนี]] (Giacomo Puccini) เรื่อง[[มาดามบัตเตอร์ฟลาย]] (Madame Butterfly) ซึ่งทั้ง "มาดามบัตเตอร์ฟลาย" และ "มิสไซง่อน" ได้ถ่ายทอดเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักของหญิง[[ชาวเอเชีย]]ที่ถูกชาย[[ชาวอเมริกัน]]ทอดทิ้ง ในขณะที่เนื้อเรื่องเดิมของ "มาดามบัตเตอร์ฟลาย" เป็นเรื่องราวความรักของหญิงสาว[[เกอิชา]][[ชาวญี่ปุ่น]]และนาย[[ทหารเรือ]]ชาวอเมริกันในช่วง[[คริสต์ทศวรรษ 1900]] ซึ่งเป็นช่วงที่[[ญี่ปุ่น]]เพิ่งเริ่มเปิดประเทศ "มิสไซง่อน" เป็นเรื่องราวความรักของหญิงสาว[[ชาวเวียดนาม]]ที่ทำงานในสถานบริการ และนายทหารชาวอเมริกันที่เข้าไปประจำการในเมืองไซง่อน (ปัจจุบันคือ [[นครโฮจิมินห์]]) ประเทศ[[เวียดนาม]] ระหว่าง[[สงครามเวียดนาม]] ช่วง[[คริสต์ทศวรรษ 1970]]
 
มิสไซง่อนรอบปฐมทัศน์แสดงที่[[โรงละครเธียร์เตอร์รอยัล ถนนดรูรี่]] (Theatre Royal, Drury Lane) [[กรุงลอนดอน]] เมื่อวันที่ [[20 กันยายน]] [[ค.ศ. 1989]] และแสดงรอบสุดท้ายเมื่อวันที่ [[30 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 1999]] รวมทั้งหมด 4,264 รอบ{{อ้างอิง}} แต่ยังเปิดการแสดงที่[[โรงละครบรอดเวย์]] (The Broadway Theatre) [[สหรัฐอเมริกา]] เมื่อ[[ค.ศ. 1991]] และเปิดการแสดงตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก มิสไซง่อนได้กลับมาเปิดทำการแสดงอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ณ โรงละครปรินส์เอ็ดวาร์ด กรุงลอนดอน และได้สร้างสถิติใหม่เป็นละครที่สร้างรายได้มากที่สุดจากการเปิดจำหน่ายบัตรในวันแรก โดยทำรายได้ไปมากกว่าสี่ล้านปอนด์หรือกว่าหนึ่งร้อยเก้าสิบล้านบาทภายในวันเดียว<ref>http://www.whatsonstage.com/london-theatre/news/09-2013/miss-saigon-breaks-record-for-biggest-single-day-o_31884.html</ref>
เส้น 30 ⟶ 18:
;เวสต์เอนด์ (ค.ศ.2014)
มิสไซง่อนกลับมาเปิดทำการแสดงอีกครั้งที่โรงละครปรินส์เอ็ดวาร์ดโดยโปรดิวเซอร์ชื่อดังอย่าง คาเมรอน แมคอินทอช (Cameron Mackintosh) และกำกับโดยลอเรนส์ คอนเนอร์ (Laurence Conor) ได้มีการออดิชั่นคัดเลือกนักแสดงในบทของคิมที่[[กรุงมะนิลา]] ประเทศ[[ฟิลิปปินส์]] ในวันที่ 19-22 พฤศจิกายน ค.ศ.2012 และได้มีการประกาศตัวนักแสดงหลักในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.2013 มิสไซง่อน ได้เปิดการแสดงอีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ.2014 และได้จัดรอบพิเศษในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปีของละครเรื่องนี้ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.2014 โดยหลังจากละครได้จบลง [[ลีอา ซาลองกา]], ไซมอน โบวแมน, [[โจนาทาน ไพรซ์]] และนักแสดงอื่นๆอีกมากมายจากการแสดงต้นฉบับออกมาแสดงการแสดงชุดพิเศษร่วมกับนักแสดงชุดปัจจุบัน<ref>http://www.cameronmackintosh.com/news/miss-saigon-gala-celebrates-25th-anniversary</ref>
 
โดยในโปรดักชั่นใหม่นี้ได้มีการปรับเปลี่ยนบทละครและบทร้องบางส่วนให้ลงตัวยิ่งขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือมีการตัดบทเพลง "Now That I've Seen Her" เพลงหลักของเอเลนออกและแทนที่ด้วย "Maybe" ด้วยบทเพลงนี้จะช่วยทำให้ผู้ชมเข้าใจถึงบทบาทและความคิดของเอเลนมากขึ้นและยังทำให้บทบาททางความคิดของเอเลนอ่อนลงกว่าในบทเพลง "Now That I've Seen Her"<ref>http://lifestyle.inquirer.net/160815/the-heats-still-on-in-the-new-miss-saigon</ref>
 
;กรุงเทพมหานคร
เส้น 39 ⟶ 25:
นับตั้งแต่เปิดทำการแสดงในกรุงลอนดอน มิสไซง่อนได้ถูกนำไปแสดงในเมืองต่างๆมากมายเช่น[[ชตุทท์การ์ท]] ประเทศเยอรมนี, [[โตรอนโต]] ประเทศแคนนาดา โดยที่ได้สร้างโรงละครขึ้นใหม่เพื่อละครเรื่องนี้โดยเฉพาะ, เมืองบันโลด์ [[ประเทศนอร์เวย์]] เป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 11,000 คน โดยได้เปิดการแสดงในเวทีกลางแจ้งเป็นเวลา 11 วันและได้ใช้เฮลิคอปเตอร์จริงในการแสดงอีกด้วย จนถึงปัจุบันมิสไซง่อนได้เปิดแสดงทั่วโลกมากกว่า 25 ประเทศใน 246 เมือง คณะนักแสดงกว่า 27 คณะ และถูกแปลเป็นภาษาอื่นถึง 12 ภาษา
 
== ข้อมูลนักการแสดง ==
== เนื้อเรื่อง ==
;องก์ 1
เดือนเมษายนปีคริสตศักราช 1975 ก่อนการสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ใน“ดรีมแลนด์” บาร์แห่งหนึ่งในไซง่อน เป็นวันแรกที่บาร์ของ’คิม’เด็กสาววัย 17 ปี หนึ่งในสาวบริการของ’เอนจิเนียร์’หนุ่มใหญ่ลูกครึ่งฝรั่งเศส-เวียดนามผู้จัดการบาร์ ที่กำลังกวดขันเหล่าหญิงบริการอยู่หลังเวที ให้พร้อมกับโชว์ของคืนนั้น ขณะที่ทั้งหมดกำลังขบขันกับความไร้เดียงสาของคิม เหล่าทหารอเมริกันร่วมดื่มกับหญิงบริการชาวเวียดนาม (“เร่าร้อนในไซง่อน / The heat is on in Saigon”) ‘คริส’หนึ่งในทหารอเมริกันรู้สึกเบื่อและไม่สนใจกับเหล่าหญิงงามในร้านที่กำลังแข่งประกวดชิงตำแหน่งมิสไซง่อน แต่คริสกลับสะดุดตากับความไร้เดียงสาของคิมหนึ่งในหญิงเหล่านั้นและได้เปรยให้’จอห์น’เพื่อนสนิทของเขาฟัง ‘จีจี้’ผู้ได้รับตำแหน่งมิสไซง่อนได้ขอร้องให้ทหารอเมริกันช่วยพาเธอกลับอเมริกาด้วยแต่ถูกปฏิเสธ เหล่าสามงามตัดพ้อถึงความฝันของชีวิตที่ดีกว่า (“ภาพหนังที่ใจใฝ่หา / Movie in my mind”) จอห์นได้คุยกับเอนจิเนียร์เพื่อเปิดห้องพักเป็นของขวัญให้คริสและคิม (“เจรจา / The Transaction”) คิมลังเลที่จะคุยกับคริสด้วยความไร้เดียงสาของเธอ สุดท้ายเธอยอมเต้นรำกับคริส ด้วยความสงสารคริสพยายามให้เงินคิมเพื่อนที่เธอจะได้ไปจากบาร์แห่งนี้ แต่เอนจิเนียร์คิดว่าคริสไม่ชอบเธอ คริสจึงตัดบทด้วยการตกลงที่จะเปิดห้องร่วมกับเธอในคืนนั้น
 
รุ่งสางของวันต่อมาคริสตื่นมาพบคิมกำลังนอนหลับด้วยความเอ็นดูต่อคิม คริสถามต่อพระเจ้าว่าทำไมเขาถึงมาพบเธอในช่วงเวลาสุดท้ายในเวียดนามเช่นนี้ (“ทำไมต้องเธอ / Why, God, Why?”) เมื่อคิมตื่นขึ้น คริสให้เงินเธอดังเช่นหญิงบริการอื่นๆแต่คิมปฎิเสธโดยบอกว่านี่เป็นครั้งแรกของเธอ (“เงินเธออยู่นี่ / This money’s yours”) คริสไม่เชื่อว่านี่เป็นครั้งแรกของเธอ คิมจึงเล่าเรื่องราวชีวิตของเธอให้เขาฟัง คริสเมื่อได้ฟังเรื่องของคิมก็รู้สึกสงสารและเห็นใจ คริสจึงถามคิมว่าอยากมาใช้ชีวิตร่วมกันหรือไม่ แล้วทั้งสองก็ตกหลุมรักกัน (“เดือนกับตะวัน / Sun and Moon”) สายวันนั้นคริสจึงโทรไปบอกจอห์นว่าเขาจะขอลาพักไปอยู่กับคิม แต่จอห์นเตือนคริสว่า[[เวียดกง]]กำลังจะเข้ายึดไซง่อนแต่ก็ให้คริสไป (“ลาหยุด / The telephone song”) คริสไปต่อรองกับเอนจิเนียร์เพื่อขอคิม เอนจิเนียร์พยายามขอวีซ่าไปอเมริกากับคริส คริสใช้ปืนขู่เอนจิเนียร์ เอนจิเนียร์จึงยอมให้คิมกับคริส (“ค่าตัวคิม / The deal”)
 
เหล่าสาวบริการจัดพิธีแต่งงานอย่างง่ายๆให้คิมและคริส (“เจ้าหญิงกับเจ้าชาย / Dju Vui Vai”) จีจี้อวยพรให้กับคิมและยกให้เธอเป็นมิสไซง่อนตัวจริง ‘ถวี’คู่มั่นคลุมถุงชนของคิม เข้ามาพาคิมกลับบ้าน ถวีเป็นทหารเวียดนามเหนือและไม่พอใจที่เห็นคิมอยู่กับคริส (“แกเป็นใคร / Thuy’s arrival”) ทั้งสองเผชิญหน้ากัน คิมบอกถวีว่าคำสัญญาของพ่อที่ว่ายกเธอให้กับเขาไปจบลงไปพร้อมกับการตายของพ่อเธอและเธอไม่ได้มีความรู้สึกให้เขาอีกต่อไป ถวีสาปแช่งทั้งคู่และหนีไป คริสสัญญากับคิมว่าจะพาเธอกลับอเมริกา (“คืนสุดท้ายของโลกใบนี้ / Last night of the world”)
 
สามปีต่อมามีการเดินเฉลิมฉลองครบรอบ 3 ปีการรวมเวียดนามและการปราชัยของทหารอเมริกันใน[[นครโฮจิมินห์]] (ไซง่อนเดิม) (“รุ่งอรุณแห่งชัยชนะ / Morning of the Dargon”) ถวีซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่งอธิบดีในรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามส่งทหารให้ออกตามหาเอนจิเนียร์ เพื่อจะสั่งให้เอนจิเนียร์ตามหาคิมและนำตัวเธอมาพบเขา คิมที่ยังซื่อตรงในความรักต่อคริสได้ซ่อนตัวจจากการจับกุมของทหารคอมมิวนิสต์ ยังหวังว่าคริสจะกลับมาเวียดนามและพาเธอกลับไปอเมริกา ในขณะเดียวกัน’เอเลน’ภรรยาใหม่ชาวอเมริกันของคริสกำลังเฝ้าดูคริสเพ้อถึงชื่อคิมในฝันร้ายของเขา ทั้งเอเลนและคิมต่างยืนยันในความรักของทั้งคู่ต่อคริสจากทั้งสองฝากของโลก (“ฉันเชื่อเสมอ / I still believe”)
 
อาทิตย์ต่อมา ทหารของถวีได้พบตัวเอนจิเนียร์อยู่ทางเหนือของเวียดนาม เอนจิเนียร์พาถวีไปหาคิม ถวีได้ให้โอกาสคิมที่จะแต่งงานกับเขาอีกครั้งแต่คิมปฏิเสธ ถวีสั่งทหารให้เข้ามาจับกุมคิมและเอนจิเนียร์และขู่จะส่งพวกเขาไปค่ายปรับทัศนคติของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ถวีสั่งให้ทหารและเอนจิเนียร์ออกไปและพยายามคุยกับคิมอีกครั้ง คิมจึงเปิดเผยความลับของเธอ หลังจากที่ถวีพบว่าคิมมีลูกชายชื่อ’แทม’กับคริสจึงพยายามจะฆ่าเขา คิมได้หยิบปืนที่คริสได้ให้ไว้ก่อนจากกันและยิงถวี (“อย่าแตะต้องตัวเขา / You will not touch him”) คิมหนีไปหาเอนจิเนียร์กับแทมและบอกเขาว่าเธอได้ฆ่าถวี เอนจิเนียร์ปฏิเสธที่จะช่วยคิมในตอนแรก แต่หลังจากที่คิมบอกว่าพ่อของแทมคือคริสเอนจิเนียร์คิดว่านี่คือโอกาสที่จะได้ย้ายไปอยู่อเมริกา เอนจิเนียร์บอกคิว่าต่อจากนี้เขาคือลุงของแทม (“ถ้ายังหวังจะได้แก่ตาย / If you want to die in bed”) ทั้งสามออกเดินทางไปยังกรุงเทพทางเรือในฐานะผู้ลี้ภัย (“ชีวิตนี้ยอมพลีได้เพื่อเธอ / I’d give my life for you”)
 
;องก์ 2
ใน[[กรุงแอตแลนตา]] [[รัฐจอร์เจีย]] จอห์นซึ่งตอนนี้ทำงานให้กับองค์กรช่วยเหลือ''บุยดอย'' (มีความหมายว่าเด็กข้างถนน หมายถึงเด็กที่เกิดกับทหารอเมริกันช่วงสงคราม) ให้พบกับพ่อชาวอเมริกัน (“บุยดอย / Bui Doi”) จอห์นได้ข้อมูลมาและบอกคริสว่าคิมยังมีชีวิตอยู่ คริสรู้สึกโล่งใจหลังจากถูกฝันร้ายว่าคิมถูกยิงเสียชีวิตตามหลอกหลอนอยู่นาน จอห์นบอกคริสเรื่องแทมและพยายามให้คริสและเอเลนไปหาคิมและแทมที่กรุงเทพ คริสจึงเล่าเรื่องทุกอย่างทั้งหมดให้เอเลนฟัง และทั้งหมดได้ออกเดินทางมากรุงเทพ ที่กรุงเทพเอนจิเนียร์ทำงานเป็นพนักงานในบาร์แห่งหนึ่งกับคิม (“เซ็งชะมัด / What a waste”) จอห์นตามหาจนพบคิมที่บาร์ เขาบอกเธอว่าคริสอยู่ที่กรุงเทพด้วยเช่นกัน จอห์นพยายามบอกคิมว่าคริสได้แต่งงานแล้วแต่คิมขัดจังหวะบทสนทนาด้วยความดีใจของเธอที่พรั่งพรูออกมา (“วอน / Please”) เธอบอกกับแทมว่าพ่อกลับมาพาทั้งคู่ไปอเมริกาแล้ว จอห์นไม่อาจทำใจที่จะบอกความจริงกับคิมได้แต่สัญญาว่าจะพาคริสมาหาเธอ หลังจากที่จอห์นกลับไปเอนจิเนียร์เข้ามาบอกคิมไม่ให้เชื่อจอห์นและให้เธอไปหาคริสด้วยตัวเธอเองโดยเขาจะไปสืบมาให้ว่าคริสอยู่ที่ไหน คิมตั้งหน้าตั้งตารอเอนจิเนียร์แต่ระหว่างนั้นคิมเห็นวิญญานของถวีมาหลอกหลอน วิญญานของถวีบอกคิมว่าคริสจะหักหลังเธอเหมือนกับที่เขาทำในคืนที่ไซง่อนแตก ทำให้เรื่องราวในคืนนั้นกลับมาตามหลอกหลอนคิม (“ฝันร้ายของคิม (ไซง่อนแตก 1975) / Kim’s nightmare”)
 
ในความทรงจำของเธอนั้น คิมจำได้ว่าทหาร[[เวียดกง]]กำลังรุกคืบเข้ายึดไซง่อน ทั้งเมืองเต็มไปด้วยความโกลาหล คริสถูกเรียกตัวให้ไปสถานทูต ก่อนไปเค้าได้มอบปืนของเขาให้กับคิมและบอกให้คิมเก็บข้าวของ เมื่อคริสเดินทางไปถึงสถานทูต ได้มีคำสั่งจาก[[กรุงวอชิงตัน]] ให้อพยพชาวอเมริกันทั้งหมดออกจากสถานทูตโดยทันที มีคำสั่งให้ปิดประตูสถานทูตและห้ามผู้ใดออกและห้ามผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามเข้ามาในสถานทูตอีก คิมตามออกมาหาคริสแต่มีชาวเวียดนามมากมายหน้าสถานทูต คริสตะโกนหาคิมและพยายามจะออกไปด้านนอกเพื่อหาเธอ จอห์นห้ามคริสไว้ ทั้งคู่ขึ้นเครื่องเฮลิคอปเตอร์เที่ยวสุดท้ายออกจากไซง่อน คิมได้แต่เฝ้ามองเฮลิคอปเตอร์บินผ่านไป
 
กรุงเทพ 1978, คิมหยิบเอาชุดแต่งงานของเธอมาสวมอีกครั้ง (“เดือนกับตะวัน (Reprise) / Sun and Moon (Reprise)”) เอนจิเนียร์เข้ามาบอกว่าพบที่อยู่คริสแล้ว คิมฝากแทมไว้กับเอนจิเนียร์และออกไปหาคริส คิมไปที่ห้องของคริสแต่กลับพบเอเลน (“ห้อง 317 / Room 317”) เอเลนบอกคิมว่าเธอคือภรรยาของคริส คิมเสียใจมากและไม่เชื่อเอเลน เอเลนถามคิมว่าคริสเป็นพ่อของแทมจริงหรือไม่ คิมยืนยันว่าคริสเป็นพ่อของแทม คิมบอกเอเลนว่าเธอไม่อยากให้ลูกของเธอมีสภาพชีวิตเช่นนี้และขอร้องให้ทั้งคู่พาแทมกลับอเมริกาไปด้วยแต่เอเลนปฏิเสธ เธอบอกว่าแทมควรที่จะได้อยู่กับแม่ที่แท้จริงของเขา คิมโกรธมากยืนยันว่าคริสต้องเป็นผู้บอกสิ่งนี้กับเธอเองและวิ่งออกไป เอเลนเสียใจกับสิ่งที่พึ่งเกิดขึ้นแต่ยังคงรักคริสไม่เปลี่ยน (“เมื่อเห็นหน้าเธอ / Now that I’ve seen her”) คริสกลับมาพร้อมกับจอห์นหลังจากหาคิมไม่พบ เอเลนบอกทั้งคู่ว่าคิมมาที่นี่และเธอต้องเป็นผู้บอกคิมเองทุกอย่าง เธอบอกคริสว่าคิมต้องการให้ทั้งคู่พาแทมกลับไปด้วย เอเลนถามคริสว่าเขาจะเลือกใครระหว่างเธอกับคิม (“เผชิญความจริง / The confrontation”) คริสยืนยันกับเอเลนว่าเขาจะอยู่กับเธอ และจะให้คิมอยู่กับแทมที่กรุงเทพแต่จะส่งเสียค่าเลี้ยงดูให้จากอเมริกา จอห์นเตือนคริสว่าคิมจะไม่มีทางยอมให้แทมอยู่ที่กรุงเทพอย่างแน่นอน
 
คิมกลับมาที่ห้องของเธอ คิมโกหกเอนจิเนียร์ว่าพวกเขากำลังจะไปอเมริกา เอนจิเนียร์ตื่นเต้นและจินตนาการถึงชีวิตใหม่ของเขาในอเมริกา (“American Dream”) คริส จอห์นและเอเลน เดินทางมาพบเอนจิเนียร์ที่บาร์ เอนจิเนียร์จึงพาพวกเขามาพบคิม
 
ในห้องของคิม คิมบอกกับแทมว่าพ่อมาหาแล้ว (“บทสรุป / Finale”) เธอบอกแทมต่อว่าเธออาจจะไปกับแทมไม่ได้แต่จะคอยเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา เอนจิเนียร์พาทั้งสามมาที่หน้าห้องของคิม เอนจิเนียร์พาแทมออกไปพบกับพ่อ ขณะเดียวกันคิมหลบเข้าไปหลังผ้าม่านและยิงตัวเอง ทุกคนวิ่งเข้ามาในห้องเพราะเสียงปืนและพบคิมนอนหายใจรวยรินอยู่ คริสเข้าไปอุ้มเธอและถามว่าเธอทำอะไรลงไป คิมขอให้เขากอดเธอเป็นครั้งสุดท้ายและคิมพูดประโยคเดียวกับที่เขาพูดในคืนแรกที่ทั้งสองพบกัน “คืนนั้นพาเราสองมาไกลเพียงใด” ก่อนที่จะสิ้นใจลงในในอ้อมกอดของคริส
 
== ข้อมูลนักแสดง ==
{| class="wikitable sortable" width="75%"
|-