ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
 
ในปี [[ค.ศ. 2009]] นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่อง[[แบบจำลองแบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล|ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล]] ของ [[นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส]] อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่อง[[แบบจำลองแบบโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล|โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล]]ของ[[อริสโตเติล]]ที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้[[กล้องโทรทรรศน์]]สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของ[[กาลิเลโอ]]ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส [[องค์การสหประชาชาติ]]จึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็น[[ปีดาราศาสตร์สากล]] มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น
 
== ประวัติ ==
ดาราศาสตร์นับเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่ง เพราะนับตั้งแต่มีมนุษย์อยู่บนโลก เขาย่อมได้เห็นได้สัมผัสกับ[[สิ่งแวดล้อม]]ตาม[[ธรรมชาติ]]เสมอมา แล้วก็เริ่มสังเกตจดจำและเล่าต่อๆ กัน เช่น เมื่อมองออกไปรอบตัวเห็นพื้นดินราบ ดูออกไปไกลๆ ก็ยังเห็นว่าพื้นผิวของโลกแบน จึงคิดกันว่า[[โลก]]แบน มองฟ้าเห็นโค้งคล้ายฝาชีหรือโดม มีดาวให้เห็นเคลื่อนข้ามศีรษะไปทุกคืน กลางวันมีลูกกลมแสงจ้า ให้[[แสง]] [[สี]] [[ความร้อน]] ซึ่งก็คือ [[ดวงอาทิตย์]] ที่เคลื่อนขึ้นมาแล้วก็ลับขอบฟ้าไป ดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญกับเขามาก
 
การศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรกๆ เป็นการเฝ้าดูและคาดเดาการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก่อนยุคสมัยที่[[กล้องโทรทรรศน์]]จะถูกประดิษฐ์ขึ้น มีสิ่งปลูกสร้างโบราณหลายแห่งที่เชื่อว่าเป็นสถานที่สำหรับการเฝ้าศึกษาทางดาราศาสตร์ เช่น [[สโตนเฮนจ์]] นอกจากนี้การเฝ้าศึกษาดวงดาวยังมีความสำคัญต่อพิธีกรรม ความเชื่อ และเป็นการบ่งบอกถึงการเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อสังคมเกษตรกรรมการเพาะปลูก รวมถึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงระยะเวลา วัน เดือน ปี<ref>George Forbes (1909) (Free e-book from [[โครงการกูเต็นเบิร์ก|Project Gutenberg]]). [http://www.gutenberg.org/etext/8172 History of Astronomy]. London: Watts & Co.. http://www.gutenberg.org/etext/8172.</ref>
 
เมื่อสังคมมีวิวัฒนาการขึ้นในดินแดนต่างๆ การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ก็ซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน [[ดาราศาสตร์ในเมโสโปเตเมีย|เมโสโปเตเมีย]] [[ดาราศาสตร์ในกรีก|กรีก]] [[ดาราศาสตร์ในจีน|จีน]] [[ดาราศาสตร์ในอียิปต์|อียิปต์]] [[ดาราศาสตร์ในอินเดีย|อินเดีย]] และ [[ดาราศาสตร์ในมายา|มายา]] เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของธรรมชาติแห่งจักรวาลกว้างขวางขึ้น ผลการศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรกๆ จะเป็นการบันทึกแผนที่ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ อันเป็นศาสตร์ที่ปัจจุบันเรียกกันว่า [[การวัดตำแหน่งดาว]] (astrometry) ผลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่างๆ เริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้น ธรรมชาติการเคลื่อนที่ของ[[ดวงอาทิตย์]] [[ดวงจันทร์]] และ[[โลก]] นำไปสู่แนวคิดเชิงปรัชญาเพื่อพยายามอธิบายปรากฏการณ์เหล่านั้น ความเชื่อดั้งเดิมคือโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ เคลื่อนที่ไปโดยรอบ แนวคิดนี้เรียกว่า [[แบบจำลองแบบโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล]] (geocentric model)
 
มีการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่สำคัญไม่มากนักก่อนการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ตัวอย่างการค้นพบเช่น ชาว[[จีน]]สามารถประเมิน[[ความเอียงของแกนโลก]]ได้ประมาณหนึ่งพันปี[[ก่อนคริสตกาล]] ชาว[[บาบิโลเนีย|บาบิโลน]]ค้นพบว่าปรากฏการณ์[[จันทรคราส]]จะเกิดขึ้นซ้ำเป็นช่วงเวลา เรียกว่า [[วงรอบซารอส]]<ref>[http://sunearth.gsfc.nasa.gov/eclipse/SEsaros/SEsaros.html Eclipses and the Saros] NASA. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-28. </ref> และช่วงสองร้อยปีก่อนคริสตกาล [[ฮิปปาร์คัส]] [[นักดาราศาสตร์]][[ชาวกรีก]] สามารถคำนวณขนาดและระยะห่างของ[[ดวงจันทร์]]ได้<ref>[http://www-groups.dcs.st-and.ac.uk/~history/Biographies/Hipparchus.html Hipparchus of Rhodes] School of Mathematics and Statistics, University of St Andrews, Scotland. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-28. </ref>
 
ตลอดช่วงยุคกลาง การค้นพบทางดาราศาสตร์ในยุโรปกลางมีน้อยมากจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่มีการค้นพบใหม่ๆ มากมายในโลกอาหรับและภูมิภาคอื่นของโลก มีนักดาราศาสตร์ชาวอาหรับหลายคนที่มีชื่อเสียงและสร้างผลงานสำคัญแก่วิทยาการด้านนี้ เช่น Al-Battani และ Thebit รวมถึงคนอื่นๆ ที่ค้นพบและตั้งชื่อให้แก่ดวงดาวด้วย[[ภาษาอารบิก]] ชื่อดวงดาวเหล่านี้ยังคงมีที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน<ref name="short history">{{cite book | author=Arthur Berry | title=A Short History of Astronomy From Earliest Times Through the Nineteenth Century | publisher=Dover Publications, Inc. | location=New York | year=1961 }}</ref><ref name="Cambridge history">{{cite book | editor=Michael Hoskin | title=The Cambridge Concise History of Astronomy | publisher=Cambridge University Press | year=1999 | isbn = 0-521-57600-8 }}</ref>
 
=== การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ===
[[ไฟล์:Galileo moon phases.jpg|thumb|ภาพร่างการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ของ[[กาลิเลโอ]] ทำให้เห็นว่าพื้นผิวดวงจันทร์นั้นขรุขระ]]
 
ในยุค[[เรอเนซองส์]] [[นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส]] ได้นำเสนอแนวคิด[[ระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง|แบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง]] ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมากจากศาสนจักร ทว่าได้รับการยืนยันรับรองจากงานศึกษาของ[[กาลิเลโอ กาลิเลอี]] และ [[โยฮันเนส เคปเลอร์]] โดยที่กาลิเลโอได้ประดิษฐ์[[กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง]]แบบใหม่ขึ้นในปี [[ค.ศ. 1609]] ทำให้สามารถเฝ้าสังเกตดวงดาวและนำผลจากการสังเกตมาช่วยยืนยันแนวคิดนี้
 
เคปเลอร์ได้คิดค้นระบบแบบใหม่ขึ้นโดยปรับปรุงจากแบบจำลองเดิมของโคเปอร์นิคัส ทำให้รายละเอียดการโคจรต่างๆ ของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ที่ศูนย์กลางสมบูรณ์ถูกต้องมากยิ่งขึ้น แต่เคปเลอร์ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการนำเสนอทฤษฎีนี้เนื่องจากกฎหมายในยุคสมัยนั้น จนกระทั่งต่อมาถึงยุคสมัยของ[[เซอร์ ไอแซค นิวตัน]] ผู้คิดค้นหลัก[[กลศาสตร์ท้องฟ้า]]และ[[ความโน้มถ่วง|กฎแรงโน้มถ่วง]]ซึ่งสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้อย่างสมบูรณ์ นิวตันยังได้คิดค้น[[กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง]]ขึ้นด้วย
 
การค้นพบใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ พร้อมไปกับการพัฒนาขนาดและคุณภาพของกล้องโทรทรรศน์ที่ดียิ่งขึ้น มีการจัดทำรายชื่อดาวอย่างละเอียดเป็นครั้งแรกโดย [[นิโคลัส หลุยส์ เดอ ลาซายล์|ลาซายล์]] ต่อมานักดาราศาสตร์ชื่อ [[วิลเลียม เฮอร์เชล]] ได้จัดทำรายการโดยละเอียดของ[[เนบิวลา]]และ[[กระจุกดาว]] [[ค.ศ. 1781]] มีการค้นพบ[[ดาวยูเรนัส]] ซึ่งเป็นการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่เป็นครั้งแรก [[ค.ศ. 1838]] มีการประกาศระยะทางระหว่างดาวเป็นครั้งแรกโดย[[ฟรีดดริค เบสเซล]] หลังจากตรวจพบ[[พารัลแลกซ์]]ของดาว 61 Cygni
 
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 [[เลออนฮาร์ด ออยเลอร์|ออยเลอร์]] [[อเล็กซิส คลาเราต์|คลาเราต์]] และ[[ฌอง ลารอง ดาเลมเบิร์ต|ดาเลมเบิร์ต]] ได้คิดค้นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ[[ปัญหาสามวัตถุ]] (three-body problem หรือ n-body problem) ทำให้การประมาณการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์และดาวเคราะห์สามารถทำได้แม่นยำขึ้น งานชิ้นนี้ได้รับการปรับปรุงต่อมาโดย [[โจเซฟ หลุยส์ ลากรองจ์|ลากรองจ์]] และ [[ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส|ลาปลาส]] ทำให้สามารถประเมินมวลของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ได้
 
การค้นพบสำคัญทางดาราศาสตร์ประสบความสำเร็จมากขึ้นเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น [[การถ่ายภาพ]] และ[[สเปกโตรสโคป]] เราทราบว่าดวงดาวต่างๆ ที่แท้เป็น[[ดาวฤกษ์]]ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ของเรานั่นเอง แต่มี[[อุณหภูมิ]] [[มวล]] และขนาดที่แตกต่างกันไป<ref>Arthur Berry (1961). ''A Short History of Astronomy From Earliest Times Through the Nineteenth Century''. New York: Dover Publications, Inc..</ref>
 
การค้นพบว่า [[ดาราจักร]]ของเราหรือ[[ดาราจักรทางช้างเผือก]]นี้ เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่รวมตัวอยู่ด้วยกัน เพิ่งเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง พร้อมกับการค้นพบการมีอยู่ของดาราจักรอื่นๆ ต่อมาจึงมีการค้นพบว่า [[เอกภพ]]กำลังขยายตัว โดยดาราจักรต่างๆ กำลังเคลื่อนที่ห่างออกจากเรา การศึกษาดาราศาสตร์ยุคใหม่ยังค้นพบวัตถุท้องฟ้าใหม่ๆ อีกหลายชนิด เช่น [[เควซาร์]] [[พัลซาร์]] [[เบลซาร์]] และ[[ดาราจักรวิทยุ]] ผลจากการค้นพบเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีทางฟิสิกส์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของวัตถุเหล่านี้เปรียบเทียบกับวัตถุประหลาดอื่นๆ เช่น [[หลุมดำ]] และ[[ดาวนิวตรอน]] ศาสตร์ทางด้าน[[ฟิสิกส์จักรวาลวิทยา]]มีความก้าวหน้าอย่างมากตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 แบบจำลอง[[บิกแบง]]ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานต่างๆ ที่ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ เช่น [[รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล|การแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล]] [[กฎของฮับเบิล]] และการที่มี[[ธาตุ]]ต่างๆ มากมายอย่างไม่คาดคิดในจักรวาลภายนอก
 
== ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ ==