ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุลล์เทร์เรียร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Apinan Suriyachai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
Apinan Suriyachai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55:
 
บูล เทอเรียร์สามารถทนพฤติกรรมของของเด็กได้มาก แต่จะไม่ทนหากถูกแหย่และสามารถเกเรถ้าถูกแหย่ให้โกรธเสมอๆ เจ้าของบูล เทอเรียร์ต้องมีความรับผิดชอบสูงและการผสมพันธุ์ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบและการดูแลของผู้เป็นเจ้าของสุนัขเท่านั้น
 
== โรคและวิธีการป้องกัน ==
 
แม้บูล เทอเรียร์จะเป็นสุนัขที่พื้นฐานร่างกายค่อนข้างแข็งแรง แต่โรคและอาการที่พบในบูล เทอเรียร์ก็มีมากเช่นกัน ทั้งนี้โรคที่พบบ่อย ได้แก่
 
1. โรคผิวหนังหรือผิวหนังมีอาการแพ้ง่าย โรคนี้พบมากเหลือเกินโดยเฉพาะสุนัขที่มีสีขาว และอยู่ในประเทศแถบร้อนชื้นอย่างบ้านเรา
 
2. โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด อาการนี้ต้องให้สัตวแพทย์ตรวจ ซึ่งหมายความว่าผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นพาเขาไปตรงสุขภาพทุกปี เมื่อรู้ว่าเขาป่วยด้วยโรคนี้จะได้ดูแลได้อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นบางคนนำสุนัขที่เป็นโรคหัวใจไปออกกำลังกายหนักๆ ก็จะทำให้เสียชีวิตได้
 
3. โรคไตผิดปกติแต่กำเนิด อาการนี้ก็ต้องตรวจเช่นกันว่าค่าไตอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ เพื่อที่ผู้เลี้ยงจะได้เตรียมการดูแลที่ต่างออกไปจากสุนัขปกติ ทั้งด้านอาหารและการออกกำลังกาย
 
4. อาการหมุนเป็นวงกลมโดยไม่สามารถควบคุมได้ บางตัวอาจมีการงับหางตัวเองร่วมด้วย ส่วนมากเกิดจากความเครียดที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
 
5. อาการลูกสะบ้าหัวเข่าเคลื่อน เป็นโรคเกี่ยวกับพันธุกรรม เกิดจากการเลี้ยงบนพื้นลื่น หรือบางตัวอาจได้รับการกระแทกบริเวณหัวเข่า อาจแสดงอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างพร้อมกันก็ได้ อาการที่พบคือ สุนัขจะเดินย่อตัว ปลายเท้าแบะออก นอกจากนี้อาจพบโรคกระดูกบาง ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการได้รับสารอาหารบางชนิดในวัยเด็ก เช่น ข้าวคลุกตับ โครงไก่ หรือปลากระป๋อง หรือการเสริมแคลเซียมให้มากเกินไป ทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือดเสียสมดุล ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกบางตามมาได้
 
6. หูหนวกแต่กำเนิด ที่ต่างประเทศจะมีเครื่องที่ใช้ตรวจกรณีนี้โดยเฉพาะเรียกว่า BEAR test แต่เท่าที่ทราบนี่เมืองไทยยังไม่น่าจะมี แต่เราก็สามารถใช้วิธีตรวจสอบคร่าวๆได้ เช่น การเป่านกหวีด หรือทำเสียงต่างๆเพื่อป้องกันการซื้อสุนัขหูหนวกมาเลี้ยง
 
จะเห็นได้ว่าสุนัขบูล เทอเรียร์มีโอกาสเกิดโรคต่างๆได้ไม่แพ้สุนัขสายพันธุ์อื่นๆ แม้จะมีร่างกายที่แข็งแรงเพียงใดก็ตาม ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำตามใบนัดเพื่อทำการฉีดวัคซินตามโปรแกรม และขอย้ำเรื่องการจูงเดินเล่น เป็นการออกกำลังกายที่ควรจะทำให้บ่อยที่สุด หรือทุกวันก็จะดีมากๆ แต่ควรหลีกเลี่ยงในเวลาที่แสงแดดจัด จะได้ไม่เกิดอาการแพ้ขึ้นมาได้
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==