ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vyacheslav (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Vyacheslav (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 97:
'''ปิตราพัฟลอฟสค์-คัมชาตสกี''' ({{lang-en|Petropavlovsk-Kamchatsky}}; {{lang-ru|Петропа́вловск-Камча́тский}}) เป็นเมืองใหญ่เพียงแห่งเดียวบนคาบสมุทรคัมชาตคาและเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของ[[คัมชาตคาไคร]]ทางตะวันออกไกลของ[[รัสเซีย]] มีประชากรราวๆ 180,000 คนหรือกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในดินแดนคัมชาตคาไครทั้งหมด
 
ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1740 เพื่อเป็นฐานตั้งต้นของการสำรวจทางทะเลของ[[ไวทัส เบริง]]นักเดินเรือเชื้อสายเดนมาร์กซึ่งมารับภารกิจสำรวจทางทะเลให้กับ[[จักรวรรดิรัสเซีย]]<ref name="History">{{cite web|url=http://pkgo.ru/history.html|title=История образования города Петропавловска-Камчатского|publisher=Petropavlovsk-Kamchatsky city website}}</ref> เมืองนี้มีบทบาทสำคัญทางทะเลด้านตะวันออกไกลให้แก่รัสเซียมาอย่างยาวนาน เป็นทั้งสมรภูมิด้านตะวันออกไกลใน[[สงครามไคร์เมียร์ไครเมีย]]เมื่อปี ค.ศ. 1854 และมีส่วนร่วมใน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]จนได้รับเกียรติยกย่องในรัสเซียเป็นหนึ่งในเหล่าเมืองเกียรติยศทางการทหาร ({{lang-en|City of military glory}}; {{lang-ru|Город воинской славы}}) เป็นที่ตั้งของสนามบินพาณิชย์เพียงแห่งเดียวบนคาบสมุทรและยังมีฐานทัพของกองเรือแปซิฟิคของรัสเซียตั้งอยู่ด้วย
 
==ที่มาของชื่อ==
แม้ว่าคาบสมุทรคัมชาตคานั้นจะมีนักสำรวจชาว[[คอสแซค]]ของทางรัสเซียกลุ่มอื่นเข้ามาสำรวจและตั้งชุมชนอยู่อาศัยมาก่อนตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1700 หากแต่ด้วยชนพื้นเมืองซึ่งอยู่มาก่อนนั้นได้ทำการรบพุ่งกับฝ่ายรัสเซียซึ่งเข้ามาทางตอนเหนือขึ้นไปของคาบสมุทรทำให้ไม่มีชุมชนของฝ่ายรัสเซียในบริเวณนี้จนกระทั่งการเดินทางมาถึงของไวตัส เบริงพร้อมกับกองเรือสำรวจซึ่งเดินทางมาจาก[[ทะเลโอค็อตสค์]] เพื่อไปสำรวจทะเลทางตะวันออกของคาบสมุทรคัมชาตคา โดยเบริงได้สั่งให้มีการสร้างชุมชนขึ้นบริเวณอ่าวอวาชาในวันที่ 17 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1740 เพื่อให้เป็นฐานสำหรับการเตรียมการออกเรือสำรวจ โดยได้ตั้งชื่อชุมชน ณ อ่าวอวาชานี้ว่า ''ปิตราพัฟลอฟสค์'' จากชื่อเรือสองลำในกองเรือคือเรือ[[เซนต์ปีเตอร์]] และ เรือ[[เซนต์พอล]]<ref name="History">{{cite web|url=http://pkgo.ru/history.html|title=История образования города Петропавловска-Камчатского|publisher=Petropavlovsk-Kamchatsky city website}}</ref>
 
ด้วยว่าชื่อของเมืองนั้นตั้งมาจากชื่อของนักบุญสององค์ เมืองจึงได้นับถือนักบุญทั้งสองเป็นนักบุญประจำเมืองด้วยและใช้รูปของนักบุญทั้งสองในตราเมือง
บรรทัด 110:
สภาพแวดล้อมโดยรอบของเมืองเป็นแนวทิวเขาจนแทบไม่มีจุดใดจากในตัวเมืองสามารถมองเห็นเส้นขอบฟ้าได้ จุดที่เมืองตั้งเป็นบริเวณที่ราบขนาดแคบๆลาดลงสู่ทะเลสลับเนิน อ่าวอวาชาซึ่งเป็นทางออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิคนั้นมีสภาพเกือบคล้ายลากูนด้วยมีช่องทางติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิคเพียงแคบๆ ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราวๆ 30 กิโลเมตรเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟสามลูกเรียงตัวกันในแนวตะวันตกไปยังตะวันออกคือ '''[[ภูเขาไฟคาเรียคสกี]]'''({{lang-en|Koryaksky Volcano}}) '''[[ภูเขาไฟอวาชินสกี]]'''({{lang-en|Avachinsky Volcano}}) และ '''ภูเขาไฟคาเซลสกี'''({{lang-en|Kozelsky Volcano}}) โดยภูเขาไฟทั้งสามลูกนี้ไม่ค่อยปะทุบ่อยนักและถูกเรียกกันว่า Home Volcanoes ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของเมืองซึ่งประกอบอยู่ในตราเมืองเช่นกัน
 
ภูมิอากาศของปิตราพัฟลอฟสค์-คัมชาทคัมชาตสกีได้รับอิทธิพลจากความชื้นของมหาสมุทรแปซิฟิคค่อนข้างมาก ทำให้อากาศไม่ค่อยหนาวเย็นรุนแรงนักแม้จะอยู่ในไซบีเรีย มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมเพียง -7 องศาเซลเซียส(ส่วนอื่นของไซบีเรียสามารถมีอุณหภูมิต่ำได้ถึง -30 องศาเซลเซียสในช่วงเดียวกัน) อากาศจะเริ่มหนาวเย็นลงได้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนและเริ่มมีหิมะได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมและหิมะสามารถคงอยู่โดยไม่ละลายได้จนถึงราวกลางมิถุนายน ในบางช่วงของฤดูหนาวหิมะสามารถตกลงมาสะสมเป็นปริมาณที่สูงมากและน้ำทะเลในบางส่วนของอ่าวอวาชาสามารถจับตัวเป็นน้ำแข็งได้ ช่วงหน้าร้อนจะมีเพียงระยะสั้นไม่เกินสามเดือนโดยอุณหภูมิจะเป็นแบบอบอุ่นเฉลี่ยระดับ 15-16 องศาเซลเซียส
 
ด้าน[[ธรณีวิทยา]] เมืองเคยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องจากอยู่ในแนวขนานกับ[[รอยเลื่อนคูริล-คัมชาตคา]]({{lang-en|Kuril–Kamchatka Trench}}) ที่อยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิคซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้จาก[[หมู่เกาะคูริล]]ทางด้านใต้ของคาบสมุทรขนานมาจนถึงครึ่งนึ่งของความยาวคาบสมุทรทั้งหมด ที่ผ่านมาบางครั้งเคยเกิดแผ่นดินไหวระดับมากกว่า 7 ริกเตอร์ในมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ห่างจากเมืองมากนัก<ref name="BM">{{cite web|url=http://www.themoscowtimes.com/beyond_moscow/petropavlovsk_kamchatsky.html|title=Beyond Moscow : Petropavlovsk-Kamchatsky|publisher=The Moscow Times}}</ref> ด้วยเหตุนั้นอาคารต่างๆในเมืองนอกจากไม่สร้างให้มีความสูงมากแล้วยังต้องสร้างให้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ด้วย
 
==ประวัติศาสตร์==
บรรทัด 131:
 
[[en:Petropavlovsk-Kamchatsky]]
[[ru:Петропавловск-Камчатский]]
[[ru:Петропа́вловск-Камча́тский]]