ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเงือก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
| range_map_caption = แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของนกเงือก (ทั่วโลก)
| familia = '''Bucerotidae'''
| familia_authority = [[Constantine Samuel Rafinesque|Rafinesque]], [[ค.ศ. 1815|1815]]
| subdivision_ranks = [[genus|สกุล]]<ref name="itis"/>
| subdivision = *''[[Aceros]]'' <small>Hodgson, 1844</small>
*''[[Anorrhinus]]'' <small>Reichenbach, 1849</small>
*''[[Anthracoceros]]'' <small>Reichenbach, 1849</small>
*''[[Berenicornis]]'' <small>Bonaparte, 1850</small>
*''[[Buceros]]'' <small>Linnaeus, 1758</small>
*''[[Bucorvus]]'' <small>Lesson, 1830</small>
*''[[Bycanistes]]'' <small>Cabanis & Heine, 1860</small>
*''[[Ceratogymna]]'' <small>Bonaparte, 1854</small>
*''[[Ocyceros]]'' <small>Hume, 1873</small>
*''[[Penelopides]]'' <small>Reichenbach, 1849</small>
*''[[Rhinoplax]]'' <small>Gloger, 1841</small>
*''[[Rhyticeros]]'' <small>Reichenbach, 1849</small>
*''[[Tockus]]'' <small>Lesson, 1830</small>
*''[[Tropicranus]]'' <small>W. L. Sclater, 1922</small>
 
| synonyms = *Bucerotiformes
*Bucerotes
| synonyms_ref = <ref name="itis">[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=178139 จาก itis.gov]</ref>
}}
 
'''นกเงือก''' ({{lang-en|Hornbill}}) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ใน[[Coraciiformes|อันดับนกตะขาบ]] (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวม[[Bucorvus|นกเงือกดิน]]เข้าไปด้วย<ref name="itis"/><ref>Walters, Michael P. (1980). ''Complete Birds of the World''. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.</ref>) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว<ref name="นก"/>
 
นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ<ref name="นก">[http://student.nu.ac.th/51320756/ho1.html ลักษณะเด่นของนกเงือก]</ref> ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา <ref>[http://61.19.202.164/works/birds/L02-30.htm วงศ์นกเงือก]</ref>
 
และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ <ref>Hodgson,BH (1833). "Description of the Buceros Homrai of the Himalaya". ''Asiat. Res''. '''18''' (ฉบับที่ 2): 169–188.</ref>
 
พบทั่วโลกมี 55 [[species|ชนิด]] <ref>[http://kpnet3.nectec.or.th/kp8/nrs/nrs702.html นกเงือก]</ref>ใน 14 [[genus|สกุล]] (ดูในตาราง) มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของ[[ทวีปแอฟริกา]] และ[[เอเชีย]]
 
นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก
 
นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง<ref name="มติชน">[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1234975085&grpid=&catid= วันรัก"นกเงือก" สัตว์ที่เป็น "ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าและธรรมชาติ" จากมติชน]</ref> และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้ง[[เมล็ดพืช|เมล็ด]]ไว้ตามที่ต่าง ๆ<ref name="นก"/>
 
== นกเงือกในประเทศไทย ==
ประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด โดยใน[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]]ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา มี 4 ชนิด ได้แก่ [[นกกก]] หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง [[นกเงือกสีน้ำตาล]] [[นกเงือกกรามช้าง]] หรือ นกกู่กี๋ และ [[นกแก๊ก]] หรือนกแกง และ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา]] พบ 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงืกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง <ref>[http://www.focuspaktai.com/index.php?file=news&obj=news.view(id=9724) เดินป่า-ชมนกเงือก น้ำตกสิรินทร-นราธิวาส]</ref>
 
=== รายชื่อนกเงือกที่พบในประเทศไทย ===
เส้น 67 ⟶ 68:
==รูปภาพ==
<gallery>
ภาพ:Nishi tribal from Arunachal - Diganta Talukdar.jpg|ชาวเผ่า[[นาชิ]] ซึ่งเป็น[[ชนพื้นเมือง]]ของรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย สวมเครื่องประดับศีรษะที่ทำจากโหนกของนกกก
ภาพ:Flag of Chin State.svg|ธงของ[[รัฐชิน]] [[ประเทศพม่า]] ที่มีสัญลักษณ์รูปนกกก
ภาพ:Anthracoceros albirostris -Assam -India-6.jpg|นกแก๊ก ที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
ภาพ:Buceros rhinoceros -Nashville Zoo-8.jpg|นกเงือกหัวแรด ที่สวนสัตว์แนชวิลล์ สหรัฐอเมริกา
ภาพ:Hornbill in Pata Zoo 2.jpg|นกเงือกที่[[สวนสัตว์พาต้า]]
</gallery>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|4}}
 
==แหล่งข้อมูลอื่น==
{{commonscat|Bucerotidae|นกเงือก}}
{{wikispecies|Bucerotidae}}
*[http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/research/hornbill.htm มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก]