ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กีฬาไพ่คารูตะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: กีฬาไพ่คารุตะ({{lang-ja|競技かるた}}) (Kyōgi karuta) เป็นกีฬาอย่างหนึ่งของประเทศญ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:30, 15 มกราคม 2558

กีฬาไพ่คารุตะ(ญี่ปุ่น: 競技かるた) (Kyōgi karuta) เป็นกีฬาอย่างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เกมคารุตะที่เป็นทางการนั้นจะเป็น เพลงกลอนไพ่คารุตะ ภายในรูปแบบและกฎระเบียบที่กำหนดโดย สมาคมคารุตะทั่วประเทศญี่ปุ่น

ความเป็นมา

การแข่งขันในญี่ปุ่นเริ่มมีมาประมาณศตวรรษที่ 19 และได้ก่อตั้งสมาคมคารุตะทั่วประเทศญี่ปุ่นในปี 1934 และมีการเริ่มแข่งขันระดับยอดฝีมือผู้ชาย(ญี่ปุ่น: 名人戦(Meijin sen))ตั้งแต่ปี 1995 และ ยอดฝีมือผู้หญิง (ญี่ปุ่น: クイーン戦(Kui-n sen))

ลักษณะไพ่

ไพ่มาจากการเอา กลอน 100 กลอนประเภททังกะ ของญี่ปุ่นมาลงใน ไพ่อ่านและไพ่หยิบ -ไพ่อ่าน (Yomifuda); จะมี 100 ใบ โดยลักษณะจะมี อักษรกลอนอยู่ในไพ่เพื่อให้ผู้อ่านให้ผู้เล่นและมีรูปวาดผู้แต่งกลอนอยุ่ในนั้นด้วย โดยกลอนจะมี พยางค์แบบทังกะ คือ 5-7-5 7-7 พยางค์ -ไพ่หยิบ หรือ ไพ่เล่น (Torifuda); จะมี 100 ใบเช่นกัน โดยที่ลักษณะไพ่จะมีเพียงกลอนวรรคหลังเท่านั้น (คือ 7-7) โดยผู้ที่เล่นจะต้องฟังผู้ถือไพ่อ่าน พอเริ่มอ่านผู้เล่นต้องไปตบไพ่วรรคท้ายของกลอนที่อ่านออกมา

ลักษณะและกฏการเล่น

การเล่น กีฬาไพ่คารุตะ คือ เล่น 2 คน ลักษณะท่าการเล่นคือ นั่ง และการเล่นจะเล่นเพียง 50 ใบ จากไพ่ 100 ใบ (คือ เล่น 50 ฝั่งผู้เล่นละ 25 ใบนั้นเอง) โดยส่วนใหญ่จะเล่นบนเสื่อทาทามิ ส่วนลักษณะการวางนั้นจะวางไพ่กลอนหยิบตามความถนัดของผู้เล่น แต่สนามเล่นต้องมีขนาดกว้าง ประมาณ 87 เซนติเมตร และระยะห่างของสนามแต่ละฝั่งของผู้เล่นคือ 3 เซนติเมตร โดยกฏการเล่นคือ ผู้เล่นฝ่ายใดหยิบไพ่ที่ถูกได้ก่อนถือว่าได้แต้ม(คือ ฝั่งของผู้ที่หยิบได้จะลด 1 ใบ) ถ้าหยิบไพ่ที่ถูกในฝั่งตนเองได้ก็ลด 1 ใบ แต่ถ้าไปหยิบไพ่ที่ถูกในฝั่งของฝ่ายตรงข้ามได้ก็ต้องหยิบไพ่ในฝั่งของตนไปให้กับอีกฝ่ายเพื่อให้ฝั่งตนเองลด แต่ถ้าหยิบผิดจะเรียกว่า ฟาวล์ เช่น ไพ่ที่ถูกอยู่ฝั่งตรงข่ามแต่ตนเองได้ไปหยิบไพ่ฝั่งตนเองแทนซึ่งไม่ใช่ไพ่ที่ถูก หรือไพ่ที่ไม่อยู่ในสนามแต่ดันไปหยิบเรียกว่า ไพ่เปล่า (เนื่องจากเวลาเล่นจะเล่นเพียง 50 ใบในสนามทำให้อีก 50 ใบจะเป็นกลอนเปล่าหรือกลอนหลอก)ฝั่งตรงข้ามก็จะหยิบไพ่ในแดนของเขา 1 ใบให้ฝั่งเราทำให้เรามีไพ่เพิ่มนั้นเอง