ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ปาดโลกเก่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
มีความยาวลำตัวประมาณ 2-12 เซนติเมตร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนต้นไม้ หลายชนิดสามารถร่อนไปมาระหว่างต้นไม้หรือจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ โดยการพยุงตัวให้ลอยอยู่ในอากาศได้จากแผ่นหนังระหว่างนิ้วตีนขนาดใหญ่มากร่วมกับการทำลำตัวให้แบนราบเพื่อให้พื้นที่ต้านอากาศมากขึ้น เช่น [[ปาดเขียวตีนดำ]] (''Rhacophorus nigropalmatus'')
 
เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในตำแหน่งหน้าอก แต่ชีววิทยาการสืบพันธุ์แตกต่างหากหลายกันมาก บางชนิดวางไข่ในน้ำ และลูกอ๊อดอาศัยอยู่ในน้ำ แต่ในบางสกุลสร้างก้อนฟองขึ้นมาซึ่งอาจติดอยู่กับน้ำหรือติดไว้กับกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำแล้ววางไข่ไว้ในก้อนฟอง บางสกุลมีการรวมตัวกันหลายตัวแล้วสร้างก้อนฟองขึ้นมาเพียงก้อนเดียว แล้ววางไข่รวมกัน พื้นผิวของก้อนฟองด้านนอกเมื่อถูกอากาศจะแห้งและแข็ง ซึ่งช่วยป้องกันการระเหยของน้ำออกจากภายใน ไข่ที่อยู่ด้านในจะได้รับความชุ่มชื้นตลอดเวลา ลูกอ๊อดที่อยู่ใต้ก้อนฟองจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามกาลเวลา หรือทิ้งตัวลงสู่แหล่งน้ำและอาศัยอยู่ในน้ำ ในขณะที่บางชนิดวางไข่ในโพรงของไม้ไผ่และลูกอ๊อดที่อยู่ในนั้นกินไข่ที่ตัวเมียนำไข่ไม่ได้ปฏิสนธิปล่อยมาให้ หลายชนิดวางไข่บนต้นไม้ เอมบริโอเจริญเติบโตและลูกอ๊อดเปลี่ยนรูปร่างเป็นของตัวเต็มวัยภายในไข่
 
จำแนกออกได้เป็น 3 วงศ์ย่อย มีทั้งสิ้น 21 สกุล และประมาณ 476 ชนิด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่แอฟริกา, เกาะมาดากัสการ์, ตอนใต้ของอินเดียไปจนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เกาะฟอร์โมซา และหมู่เกาะญี่ปุ่น<ref name="อ้าง">{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = วีรยุทธ์ เลาหะจินดา|ชื่อหนังสือ =วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก| URL = | จังหวัด = กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ =สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์| ปี =2552 | ISBN =978-616-556-016-0 | จำนวนหน้า =458 | หน้า =347-348}}</ref>