ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุพรรณกัลยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Colasady (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sasakubo (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 45:
* '''[[พงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว]]''' ที่แต่งขึ้นโดยพระบรมราชโองการของกษัตริย์พม่าเมื่อวันที่ [[3 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2372]] (ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์) <ref>ถั่นทุน (เขียน) [[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ]] (แปล)."ชาวอยุธยาในพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์พม่าในปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17) ".ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. '''อยุธยาประวัติศาสตร์และการเมือง''' </ref> ได้กล่าวถึงพระสุพรรณกัลยาว่า พระองค์มีคนสนิทคนหนึ่ง มีนามว่า พระองค์จันทร์ ภายหลังพระอุปราชาสิ้นพระชนม์ในการกระทำยุทธหัตถีกับ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]นั้น พระเจ้านันทบุเรงมิได้ประหารพระสุพรรณกัลยาทันทีที่ทราบข่าว หากแต่ได้เสวยน้ำจัณฑ์จนเมามายอยู่เป็นเวลานาน แต่ละวันก็พาลหาเรื่องพระสุพรรณกัลยาและขู่อาฆาตบ่อยๆ จนพระนางสังหรณ์พระทัย ได้ทรงเรียกพระองค์จันทร์มาปรับทุกข์หลายครั้ง ท้ายที่สุดพระองค์ได้ตัดปอยพระเกศาใส่ผอบเครื่องหอมประทานแก่พระองค์จันทร์ เตรียมนำไปถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่[[กรุงศรีอยุธยา]] เผื่อพระองค์จะไม่มีพระชนม์ชีพต่อไป ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้านันทบุเรงทรงเมามายไม่ได้พระสติ ได้เสด็จไปถึงห้องพระบรรทมของพระสุพรรณกัลยาแล้วใช้พระแสงดาบฟันแทงพระสุพรรณกัลยาสิ้นพระชนม์อยู่บนพระที่นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้วได้ระบุว่าพระนางมีพระราชโอรสกับพระเจ้าบุเรงนองหนึ่งพระองค์ และในครรภ์อีก 1 พระองค์ เมื่อพระเจ้านันทบุเรงทรงคืนพระสติแล้ว ก็ได้มีพระราชโองการจัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพแก่พระสุพรรณกัลยาอย่างสมพระเกียรติ ส่วนพระองค์จันทร์นั้นได้ลักลอบออกจากวังโดยนำผอบพระเกศาไปกับนายทหารมอญโดยทำทีเป็นสามีภรรยากันตลอดเป็นเวลาสามเดือนเศษจนถึง[[กรุงศรีอยุธยา]] และได้นำความกราบบังคมทูลแก่พระญาติวงศ์ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจ ในครั้งนั้น พระองค์จันทร์ได้รับการสถาปนาเป็น ''ท้าวจันทร์เทวี'' หลังจากได้พระราชทานเพลิงพระศพ[[พระวิสุทธิกษัตรีย์]] (ซึ่งทางไทยได้กล่าว่าสิ้นพระชนม์เนื่องจากทรงตรอมพระทัยในการสูญเสียพระสุพรรณกัลยา) สมเด็จพระนเรศวรทรงได้ยกทัพไปตีหงสาวดีและตองอูแต่ไม่สำเร็จ ระหว่างที่พระองค์ได้รับพระอัฐิพระสุพรรณกัลยาจากมอญผู้หนึ่งในช่วงที่พระองค์ประทับ ณ เมืองปาย ทรงพระสุบินถึงพระสุพรรณกัลยาได้เสด็จมาพบและตรัสว่าพระนางเปรียบเสมือนคนสองแผ่นดิน มีความผูกพันทั้งไทยและพม่า จึงมีพระประสงค์ที่จะพำนักเมืองปายนั่นเอง จากการพระสุบินดังกล่าวสมเด็จพระนเรศวรจึงหยุดทัพไว้ที่เมืองปาย เป็นเวลา 32 วัน และโปรดฯให้ม้าเร็วเข้ามารับตัวท้าวจันทร์เทวีขึ้นไป และนำผอบบรรจุพระเกศาขึ้นไปด้วย จากนั้นก็โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง และพระเจดีย์เพื่อจะประดิษฐานพระเกศาและพระอัฐิไว้ ณ เมืองปาย ปัจจุบันเชื่อกันว่าอยู่ที่[[วัดน้ำฮู]] [[อำเภอปาย]] [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]]นั่นเอง<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์'''. หน้า 283-287</ref>
 
อย่าไงรอย่างไรก็ตามจากหลักฐานของไทยและพม่าก็ต่างแสดงความมีตัวตนของพระสุพรรณกัลยา และประทับอยู่ในหงสาวดีตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2112 ขณะมีพระชันษาได้ 17 ปี ดังนั้นในปี [[พ.ศ. 2135]] ที่เกิดยุทธหัตถี พระองค์จึงน่าจะมีพระชันษา 40 ปี และหากมีพระโอรส-ธิดากับพระเจ้าบุเรงนอง พระโอรสธิดาก็ควรมีพระชันษาราว 8 ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งดูจะขัดแย้งกับคำให้การขุนหลวงหาวัด ที่กล่าวถึงการ ''ให้พระโอรสเสวยนมอยู่ในที่..''<ref name="อยุธยา">'''อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์''', หน้า 184</ref> ส่วนกรณีที่ถูกพระแสงดาบของพระเจ้านันทบุเรงเช่นเดียวกัน เนื่องจากหากพระเจ้าแผ่นดินจะประหารชีวิตใครก็จะบันทึกเรื่องราวไว้โดยละเอียด แต่ในเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยากลับไม่ปรากฏไว้เลย<ref name="อยุธยา"/> <ref>{{Citation |author1=Chris Baker |author2=Pasuk Phongpaichit |title=A History of Thailand |edition=Second |publisher=Cambridge University Press |year=2000 |pages=262}}</ref>
 
=== หลักฐานที่ขัดแย้งกัน ===