ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาร์ล มาคส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 14:
| influences = [[อดัม สมิธ]], [[วอลแตร์]], [[โยฮันน์ โวลฟ์กัง ฟอน เกอเธอ]]|
| influenced = [[วลาดีมีร์ เลนิน]], [[โจเซฟ สตาลิน]], [[ลีออน ทร็อตสกี]], [[เหมา เจ๋อตง]], [[ฟีเดล กัสโตร]], [[เช เกบารา]], [[โรซา ลุกเซมบวร์ก]], [[ฌ็อง-ปอล ซาทร์]], ''และอื่น ๆ'' |
| notable_ideas = ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักมากซ์ิสมากซ์ส (ร่วมกับ [[ฟรีดริช เองเงิลส์]]), [[ค่าส่วนเกิน]], [[ทฤษฎีความแปลกแยก]]และการใช้ประโยชน์ของแรงงาน, [[คำประกาศพรรคคอมมิวนิสต์]]
|signature = Karl Marx Signature.svg }}
 
บรรทัด 55:
ในภายหลังมากซ์ได้ระบุแหล่งข้อมูลที่เขาใช้ว่าคือหนังสือพิมพ์ ''เดอะ มอร์นิง สตาร์''
 
เองเงิลส์ได้ใช้เนื้อที่ในส่วนคำนำในการพิมพ์ครั้งที่สี่ของหนังสือ ''ว่าด้วยทุน'' เพื่อพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถจบข้อโต้เถียงนี้ลงได้ เองเงิลส์อ้างว่าแหล่งข่าวนั้นไม่ใช่ ''เดอะ มอร์นิง สตาร์'' แต่เป็น ''ไทมส์'' นักวิจารณ์แนวคิดมากซ์ิมากซ์เช่นนักข่าว [[พอล จอห์นสัน]] ยังคงใช้เรื่องนี้ในการกล่าวหามากซ์ในเรื่องความซื่อสัตย์อยู่
 
=== ช่วงปลายชีวิตของมากซ์ ===
บรรทัด 83:
นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มากซ์มิได้ใช้ข้ออ้างอื่นๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.
 
มากซ์สืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมากซ์ิสมากซ์สจะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ -- สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่างๆ รอบตัว
 
มากซ์ไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
บรรทัด 122:
{{โครง-ส่วน}}
== การวิพากษ์มากซ์โดยนักคิดร่วมสมัย ==
ทฤษฎีมากซ์ิสมากซ์สถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายๆ มุมมอง
 
ผู้สนับสนุนระบบทุนนิยมได้อธิบายว่า แท้จริงแล้ว ในท้ายที่สุด ระบบทุนนิยมจะมีประสิทธิภาพในการสร้างและกระจายความร่ำรวย ได้ดีกว่าระบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ และช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ที่มากซ์และเองเงิลส์กังวลนั้น เป็นแค่ปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น. บางคนกล่าวว่า ความละโมบและความต้องการที่จะมีทรัพย์สินนั้น เป็นความต้องการพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ของมนุษย์ หาใช่เป็นผลมาจากการรับเอาระบบทุนนิยมเข้ามา หรือว่าเกิดจากระบบเศรษฐกิจใด ๆ (แม้ว่า[[มานุษยวิทยาเชิงวัฒนธรรม|นักมานุษยวิทยา]]จะตั้งข้อสงสัยกับคำกล่าวอ้างนี้) และระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากสังคมที่แตกต่างกันสะท้อนความจริงนี้ออกมาไม่เหมือนกัน กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์[[สายออสเตรีย]]วิจารณ์มากซ์ในการใช้[[ทฤษฎีมูลค่าจากแรงงาน]] ([[:en:labor theory of value|labor theory of value]]) นอกจากนี้นโยบายและการกระทำต่าง ๆ ของ[[รัฐสังคมนิยม]] ที่มักอ้างว่าเป็นการกระทำตามแนวคิดของมากซ์ ได้ทำลายชื่อของมากซ์อย่างมากมายใน[[โลกตะวันตก]]
บรรทัด 128:
มากซ์เองก็โดนวิพากษ์วิจารณ์จากทางฝ่ายซ้ายด้วยเช่นกัน นักสังคมนิยมแนววิวัฒนาการไม่เชื่อคำอ้างของมากซ์ว่า การสร้างรัฐสังคมนิยมจะต้องกระทำผ่านทางการปะทะระหว่างชนชั้น และการปฏิวัติอย่างรุนแรงเท่านั้น. บางกลุ่มก็กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมระหว่างชนชั้นนั้น ไม่ใช่ความไม่เท่าเทียมพื้นฐานของประวัติศาสตร์ และชี้ให้เห็นความปัญหาของ[[ลัทธิชายเป็นใหญ่]] และ[[การเหยียดชาติพันธุ์]] นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและด้านประวัติศาสตร์ ในการใช้ "ชนชั้น" เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ และมีการตั้งคำถามในทิศทางเดียวกันนี้ ถึงการที่มากซ์ถือความเชื่อของสมัยศตวรรษที่ 19 ที่เชื่อมวิทยาศาสตร์เข้ากับแนวคิดของ "ความก้าวหน้า" (ดู [[วิวัฒนาการเชิงสังคม]]) หลายคนเชื่อว่าระบบทุนนิยมเองได้เปลี่ยนแปลงไปมาก นับจากสมัยของมากซ์ และการแบ่งแยกชนชั้นก็มีรูปแบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างจากการที่คนงานก็มีสิทธิถือครองหุ้นของบรรษัทขนาดใหญ่ได้ โดยผ่านทางกองทุน (ดู [[แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม]] และ [[แนวคิดหลังสมัยใหม่]] สำหรับการเคลื่อนไหวสองกลุ่มที่มักมีทิศทางสอดคล้องกับแนวคิดฝ่ายซ้าย ที่วิพากษ์มากซ์และ[[ลัทธิมากซ์]])
 
ยังมีกลุ่มที่วิจารณ์มากซ์โดยใช้ทัศนะจากการศึกษาด้านปรัชญาของวิทยาศาสตร์ ที่โดดเด่นก็คือ [[คาร์ล พอพเพอร์]] ผู้เป็นนักปรัชญา ได้วิพากษ์ทฤษฎีของมากซ์ว่า เป็นสิ่งที่ตรวจสอบว่าผิดไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คำอ้างทางประวัติศาสตร์ รวมถึงด้านสังคมและการเมืองของมากซ์นั้น ไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ สาเหตุหลักมาจากการทำนายของมากซ์ว่า ระบบทุนนิยมจะล่มสลายลงเนื่องจากการปฏิวัติของชนชั้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะกล่าวว่า "สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น" ในขณะที่เหล่ามากซ์ิสมากซ์สจะโต้ว่า "แต่มันจะต้องเกิด" ลักษณะเช่นนี้ทำให้ข้อพิสูจน์ต่าง ๆ ของแนวคิดมากซ์ที่วางอยู่บนหลักฐานเชิง[[ประจักษ์นิยม]]นั้น เป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุผลนี้ พอพเพอร์จึงอธิบายว่า ไม่ว่ามากซ์จะอ้างว่า ได้ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่ความจริงแล้ว ความคิดแนวมากซ์ไม่สามารถเป็นความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้. [[กลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์]]ในฝั่งตะวันตกมักกล่าวโทษมากซ์อย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการมองมากซ์ผ่านทางการกระทำของรัฐคอมมิวนิสต์ และปัญหาการเมืองเมื่อสมัย[[สงครามเย็น]]
 
พรรคการเมืองมากซ์ิสต์มากซ์สต์รวมถึงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ นั้น ลดความเข้มแข็งลง ภายหลังจาก[[การล่มสลายของสหภาพโซเวียต]] นักวิจารณ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขวา ได้ใช้เหตุการณ์นี้อธิบายว่า เกิดขึ้นมาจากความล้มเหลวภายในหลาย ๆ อย่างในสหภาพโซเวียต และการล่มสลายที่ตามมานี้ เป็นผลพวงโดยตรงจากแผนการของมากซ์ แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของแนวคิดมากซ์ิสม์มากซ์สม์. อย่างไรก็ตาม กลุ่มมากซ์ิสต์กล่าวว่ามากซ์สต์กล่าวว่า นโยบายของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลนินนิสต์และสตาลินนิสต์นั้น แม้จะดูผิวเผินแล้วคล้ายคลึงกับทฤษฎีของมากซ์ แต่ในเนื้อแท้แล้วแตกต่างกันมาก. มากซ์วิเคราะห์โลกในยุคสมัยของเขา และปฏิเสธที่จะเขียนแผนการว่าโลกสังคมนิยมจะต้องเป็นอย่างใด โดยเขากล่าวว่าเขามิได้ "เขียนตำราอาหาร สำหรับอนาคต". สำหรับภายนอกยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน[[ลัทธิจักรวรรดินิยม]] รวมถึงการกลุ่ม[[ชาตินิยม]] มักมีความสำคัญกว่าคอมมิวนิสต์. อย่างไรก็ตาม หลายครั้งกลุ่มเคลื่อนไหวนี้ ได้ใช้แนวคิดของมากซ์เป็นพื้นฐานทางทฤษฎี.
 
ผู้สนับสนุนมากซ์ในปัจจุบันกล่าวโดยทั่วไปว่า มากซ์นั้นพูดไว้อย่างถูกต้องว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาพสะท้อนมาจากผลของประวัติศาสตร์และสภาพทางสังคม (ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้ถ้ายังเชื่อว่ามีธรรมชาติที่แท้ของมนุษย์อยู่) พวกเขาเชื่อว่าการวิเคราะห์เกี่ยวกับสินค้าของมากซ์ยังคงเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และความแปลกแยกก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญอยู่ พวกเขากล่าวว่าระบบทุนนิยมนั้น ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นระบบโดด ๆ แยกกันไปตามแต่ละประเทศ ดังนั้นการวิเคราะห์จะต้องพิจารณาว่าเป็นระบบที่เชื่อมต่อกันในระดับโลก พวกเขากล่าวว่าเมื่อมองในระดับโลกแล้ว ระบบทุนนิยมในขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการก่อตัว และก็กำลังขยายช่องว่างระหว่างคนมั่งมีและคนยากจนขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับในประเทศอังกฤษในบทความของเองเงิลส์ ซึ่งช่องว่างนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้มากซ์หันเหจากการศึกษาปรัชญามาสนใจปัญหาสังคม