ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบเบรตตันวูดส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ระบบการจัดการการเงินเบรตตันวูดส์''' ({{lang-en|Bretton Woods system}}) สถาปนากฎเพ...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ระบบการจัดการการเงินเบรตตันวูดส์''' ({{lang-en|Bretton Woods system}}) สถาปนากฎเพื่อสำหรับความสัมพันธ์พาณิชย์และการเงินระหว่าง[[ประเทศพัฒนาแล้ว|รัฐอุตสาหกรรม]]หลักของโลกช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระบบเบรตตันวูดส์เป็นตัวอย่างแรกของระเบียบการเงินที่มีการเจรจาอย่างสมบูรณ์โดยเจตนาเพื่อปกครองความสัมพันธ์การเงินระหว่างรัฐชาติเอกราช ลักษณะสำคัญของระบบเบรตตันวูดส์ คือ ทุกประเทศมีพันธกรณีใช้[[นโยบายการเงิน]]ซึ่งธำรง[[อัตราแลกเปลี่ยน]]โดยผูกเงินตราของประเทศกับทองคำและความสามารถของ[[กองทุนการเงินระหว่างประเทศ]]เพื่อเชื่อมการเสีย[[ดุลการชำระเงิน]]ชั่วคราว นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องจัดการการขาดความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นและเพื่อป้องกันการลดค่าเงินตราแข่งขันด้วย
 
ในการเตรียมบูรณะระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศระหว่างที่[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]กำลังดำเนินอยู่ ผู้แทน 730 คนจากทั้ง 44 ชาติฝ่ายสัมพันธมิตรประชุมกันที่โรงแรมเมาต์วอชิงตันในเบรตตันวูดส์ [[รัฐนิวแฮมป์เชียร์]] [[สหรัฐอเมริกา]] เพื่อการประชุมการเงินการคลังสหประชชาติ หรือเรียก การประชุมเบรตตันวูดส์ ผู้แทนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างวันที่ 1–22 กรกฎาคม 2487 และลงนามความตกลงในวันสุดท้าย ซึ่งเป็นการจัดตั้งระบบกฎ สถาบันและวิธีดำเนินงานเพื่อจัดระเบียบระบบการเงินระหว่างประเทศ ผู้วางแผนที่เบรตตันวูดส์สถาปนากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และ[[ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา]] (IBRD) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ[[กลุ่มธนาคารโลก]] องค์การเหล่านี้เริ่มปฏิบัติงานในปี 2488 หลังประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันความตกลงมากแล้ว
 
วันที่ 15 สิงหาคม 2514 สหรัฐอเมริกายุติการแปลง[[ดอลลาร์สหรัฐ]]เป็นทองคำฝ่ายเดียว นำให้ระบบเบรตตันวูดส์ถึงคราวสิ้นสุดและดอลลาร์กลายเป็นเงินเฟียต (fiat currency) การกระทำดังกล่าว ซึ่งเรียก นิกสันช็อก สร้างสถานการณ์ซึ่งดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นเงินตราสำรองที่หลายรัฐใช้ ขณะเดียวกัน เงินตราอัตราแลกเปลี่ยนคงที่หลายสกุล (เช่น [[ปอนด์สเตอร์ลิง]]) กลายเป็นเงินอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเสรีเช่นกัน
 
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ]]