ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 30:
 
</gallery>
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม '''นายกรัฐมนตรี ได้ทำความตกลงกับ องค์การส่งเสริมความมั่นคงร่วมกันของสหรัฐอเมริกา (Mutual Security Agency; M.S.A.) '''<br /> ส่งเสริมการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาของชาติให้ดียิ่งขึ้น จึงเห็นว่าควรจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนครสักแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เยาวชนของชาติได้มีโอกาสฝึกฝนอบรมวิชาชีพอย่างกว้างขวางและ ยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น<br />ปีพุทธศักราช 2495 รัฐสภาได้อนุมัติเงินงบประมาณ 3,961,450.- บาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2495 จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนครขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินราชพัสดุบริเวณ ตำบลทุ่งมหาเมฆ เนื้อที่ 108 ไร่ เพื่อใช้ในเป็นที่ตั้งวิทยาลัยเทคนิค<br />การจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิค โดยที่ดินบริเวณดังกล่าวมีคลองขนาดใหญ่ยาว ขนาดคลองใหญ่พอที่เรือสำปั้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาจะเข้ามาได้ ปลายคลองด้านหนึ่งสามารถออกแม่น้ำเจ้าพระยาตรงช่องนนทรีในปัจจุบัน ปลายคลองอีกด้านต่อเชื่อมกับคลองสาทร<br /> พื้นที่สองฝั่งคลองนี้เป็นเรือสวนฝั่งหนึ่ง อีกฝั่งหนึ่งเป็นทุ่งนา ฝั่งทุ่งนามีผืนนากว้างไกลยืนริมคลอง มองมุม 180 องศา จะเห็นผืนฟ้าจรดผืนนา ท้องฟ้าสีสีครามเต็มไปด้วยหมู่เมฆ บางวันมีเมฆขนนกเกลื่อนเต็มท้องฟ้า<br />บางวันเป็นเมฆก้อนใหญ่ ลอยไล่มาเป็นระยะ บางครั้งเมฆทมึนแปรปรวนเคลื่อนเข้าหาอย่างรวดเร็ว ความหลากหลายนี้เหมาะกับนามเป็นที่มาของคำว่า ทุ่งมหาเมฆ<br />ฝั่งที่เป็นสวนนั้น เต็มไปด้วยสวนกล้วย สวนมะยม ชาวบ้านปลูกกระต๊อบกระจายห่างๆ เลี้ยงไก่ ปั่นด้าย มีบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดมีการปลูกต้นพลูจำนวนมากจนเป็นชื่อของ ซอยสวนพลู<br /> วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เปิดสอนปีแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2495 ระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน โรงฝึกงาน ได้ฝากนักศึกษาเรียนที่สถาบันอื่นดังนี้
* แผนกวิทยุ มีนักศึกษา 27 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
* แผนกฝึกหัดครูมัธยมอาชีวศึกษา มีนักศึกษา 13 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
* แผนกช่างก่อสร้าง มีนักศึกษา 30 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
* แผนกพาณิชยการ มีนักศึกษา 21 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนพณิชยการพระนคร<br />รัฐบาลฯ ได้เล็งเห็นคุณค่าความสำคัญของการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคที่กรุงเทพฯ จึงได้ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งจัด ตั้งวิทยาลัยเทคนิคในส่วนภูมิภาคที่ ภาคใต้ (สงขลา) เป็นวิทยาลัยเทคนิคที่กรุงเทพฯภาคใต้ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นปัจจุบัน วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย <br />จากนั้นมีภาคเหนือ วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ เชียงใหม่ ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และขยายการจัดตั้งศึกษาไปยังฝั่งธนบุรี จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคที่ธนบุรี (ปัจจุบันเป็น มจธ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, พายัพ (เชียงใหม่), โคราช (นครราชสีมา) และได้จัดตั้งตั้งกองวิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษา เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบกิจการส่วนวิทยาลัยเทคนิค
 
=== ปีพุทธศักราช 2496 ===
บรรทัด 41:
=== ปีพุทธศักราช 2497 ===
* วิทยาลัยได้นำผลงานของนักศึกษาร่วมแสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน ณ. โรงเรียนสวนกุหลาบ
* พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทอดพระเนตรงานของกิจกรรมนักศึกษาด้วยความสนพระทัย ทรงกระแสพระราชดำรัสที่จะให้วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ทดลองทำหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวได้ เดินได้ พูดได้ ซึ่งพระองค์จะได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดทำสร้างหุ่นยนต์
=== ปีพุทธศักราช 2498 ===
* วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ได้นำหุ่นยนต์ที่ผลิตออกแสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร หุ่นยนต์และรถแทรคเตอร์ที่นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ สร้างขึ้นด้วยความสนพระทัย
* ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์จัดสร้าง หุ่นยนต์ขนาดเท่าคนจริงเดินได้ตัวแรกของเมืองไทย เป็นผลงานของนักศึกษาแผนช่างวิทยุ โดยการออกแบบและควบคุมงานของ อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ลักษณะของหุ่นมีหน้าและมือ เหมือนหุ่นโชว์ แขนและขา เป็นโครงเหล็ก หลังจากออกแสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียนแล้ว ได้จัดทำเสื้อสวมเป็นหุ่นคุณหมอ อัดเสียงพูดเชิญชวนให้บริจาคสมทบทุนสภากาชาดไทย ในงานกาชาด ณ. สถานเสาวภา พ.ศ. 2498<br />สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนีชนนี เสด็จทอดพระเนตรงานกิจกรรมการปฏิบัติของนักศึกษาแแผนกวิชาช่างพิมพ์ และแผนกวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน ประจำปี 2498
=== ปีพุทธศักราช 2499 ===
* มหาวิทยาลัย เวนสเตท (Wayne State University) สหรัฐอเมริกา ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิคมาช่วยการเรียน การสอน จำนวน 27 คน และให้ทุนครู อาจารย์ของวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
=== ปีพุทธศักราช 2503 ===
* สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนีชนนี เสด็จฯ ประทับมาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ให้นักศึกษาแผนกวิชาช่างภาพ ฉายพระฉายาลักษณ์ในงานเมตตาบันเทิง วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503
=== ปีพุทธศักราช 2514 ===
* สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ งานชุมนุมแม่บ้านครั้งที่ 14 ของสมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ณ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2514
บรรทัด 54:
* วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
=== ปีพุทธศักราช 2531 ===
* พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯอันมีความหมายว่า สถาบันเทคเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา
=== ปีพุทธศักราช 2548 ===
* ยกระดับ เปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548
 
== สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ==
* ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยคือ [[สาธร (พืช)|ต้นสาธร]]