ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อภิรัชต์ คงสมพงษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
 
== ประวัติ ==
พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ [[23 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2503]] มี[[ชื่อเล่น]]ว่า "แดง" จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกเล่น ๆ ของบุคคลทั่วไปว่า "ผู้การแดง" เป็นบุตรชายคนโตของ พล.อ.[[สุนทร คงสมพงษ์]] อดีต[[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุด|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] และหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ที่มีบทบาทในเหตุการณ์[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534|รัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534]] และ[[พฤษภาทมิฬ|เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535]] กับ พ.อ.หญิง คุณหญิง อรชร คงสมพงษ์ ด้านชีวิตครอบครัว[[สมรส]]กับ ผศ.ดร.[[กฤษติกา คงสมพงษ์]] ([[นามสกุล]]เดิม-ศิริจรรยา) อาจารย์ประจำ[[สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]], อดีตพิธีกร[[รายการโทรทัศน์|รายการ]][[เกมโชว์]][[กำจัดจุดอ่อน]] ทาง[[ช่อง 3]] มีบุตรที่เกิดจากการสมรสก่อนหน้า 2 คน คือ ร.ท.พิรพงษ์ คงสมพงษ์ (ชื่อเล่น-พลุ) และนางสาวอมรัชต์ คงสมพงษ์ (ชื่อเล่น-เพลิน)<ref>[http://www.thairath.co.th/people/view/life/3867 กฤษติกา คงสมพงษ์ จาก[[ไทยรัฐ]]]</ref>
 
== ประวัติการศึกษา ==
บรรทัด 51:
พ.อ.อภิรัชต์ เป็นที่รู้จักกันในเหตุการณ์[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553|การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553]] พ.อ.อภิรัชต์ในฐานะผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการเป็นที่บัญชาการของ[[ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน]] (ศอฉ.) เป็นผู้นำกำลังทหารปฏิบัติการยึดคืน[[สถานีโทรทัศน์]]ผ่าน[[ดาวเทียมไทยคม]]ที่[[จังหวัดปทุมธานี]] เมื่อวันที่ [[9 เมษายน]] [[พ.ศ. 2553]] จากการยึดครองของกลุ่ม[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน]] (นปช.) แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นผู้นำทหารกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ 28 คนบนดาดฟ้าของอาคารที่ทำการสถานี ทำการปกป้องสถานี<ref name="หนัง">หนังสือ ลับลวงเลือด โดย [[วาสนา นาน่วม]] [[สำนักพิมพ์มติชน]] ISBN 9789740206552</ref>
 
ซึ่งก่อนหน้านั้น พ.อ.อภิรัชต์ เป็นผู้นำทหารในสังกัด[[กองทัพบกไทย|กองทัพบก]]หลายคน หลายเหล่า แถลงข่าวตำหนิพฤติกรรมของ พล.ต.[[ขัตติยะ สวัสดิผล]] ซึ่งถือว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่และเป็นอาจารย์มาก่อนที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ที่ออกมากล่าววิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.[[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารบก|ผู้บัญชาการทหารบก]] อย่างรุนแรงหลายครั้ง ซึ่งถือเป็นผู้บังคับบัญชาระดับสูง และในต้นปี [[พ.ศ. 2551]] พ.อ.อภิรัชต์ เป็นผู้ที่เข้าไปกระซิบกับ นาย[[จักรภพ เพ็ญแข]] [[รายนามรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของไทย|รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]] ใน[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย|รัฐบาล]]ที่มีนาย[[สมัคร สุนทรเวช]] เป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ให้หยุดพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบัน จนเป็นที่กล่าวขานมาแล้ว<ref>[http://www.tfn3.info/board/index.php?topic=7918.0;wap2 "อภิรัชต์ คงสมพงษ์" ทหารดีที่ควรยกย่อง]</ref><ref name="หนัง"/>
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==