ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นีออน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 5:
'''นีออน''' ({{lang-en|Neon}}) เป็น[[ธาตุเคมี|ธาตุ]]ใน[[ตารางธาตุ]]ที่มีสัญลักษณ์ '''Ne''' และ[[เลขอะตอม]] 10 นีออนเป็น[[ก๊าซเฉื่อย]] เป็นสมาชิกหมู่ที่ 8 ของตารางธาตุ เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใดๆ และเกิดแสงเรืองสีแดงเมื่อใช้ในหลอดสุญญากาศ (vacuum discharge tube) กับ[[ไฟนีออน]] และพบในปริมาณเล็กน้อยในอากาศ (หนึ่งส่วนใน 55,000ส่วน) ได้จากการนำอากาศเหลวมากลั่นลำดับส่วนและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใดๆ เลย จึงทำให้ไม่มีสารประกอบนีออนที่เรารู้จักเลย ซึ่งนีออนจะไม่เป็นอันตรายต่อคนโดยตรง
== การค้นพบ ==
นีออนค้นพบโดย Sir William Ramsay และ M.W. Travers ถูกค้นพบที่ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1898 เป็นเศษส่วนที่ระเหยง่ายจากอาร์กอนเหลว) ณ อุณหภูมิที่อากาศกลายเป็นของเหลว ส่วนอาร์กอนนั้นเป็นแก๊สเล็กน้อยที่เหลืออยู่เมื่อนำแก๊สไนโตรเจนจากอากาศมาทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมที่เผาจนร้อนแดง
คำว่า Neon มาจากคำกรีก neos ตรงกับคำอังกฤษ new แปลว่าใหม่ และต่อมาพวกเขาค้นพบธาตุซีนอนโดยใช้วิธีการที่คล้ายกัน
 
== การใช้ประโยชน์ ==
การใช้ประโยชน์ของนีออนในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญที่สุดได้แก่ กลไกการทำให้เกิดแสงสว่าง และที่เราคุ้นเคยมากที่สุดคือหลอดนีออนที่ใช้เป็นไฟโฆษณา หลอดเรืองแสง (fluorescence lamp) หลอดนำแก๊ส (gaseous conduction lamp) ฯลฯ หลอดไฟที่บรรจุด้วยนีออนที่ความดันต่ำมาก (เพียงไม่กี่ mm Hg) ให้แสงส้มแดงที่สว่าง ส่วนหลอดไฟนีออนที่ใช้เป็นไฟโฆษณาอาจบรรจุด้วยแก๊สอื่นด้วย เช่น ฮีเลียม อาร์กอนหรือปรอท และสีของแสงไฟขึ้นกับชนิดของแก๊สผสมและสีของแก้วของหลอดไฟ นอกจากนี้แล้วหลอด Geiger-Muller ที่ใช้ในการจับและนับอนุภาคนิวเคลียร์ ก็บรรจุด้วยของผสมของนีออนและโบรมีน หรือของผสมของนีออนและคลอรีน Ionization chambers, proportional counters, neutron fission counter, scintillation counters และ cosmic ray counters ก็อาจใช้นีออน อาร์กอน ฮีเลียม หรือของผสมของแก๊สเหล่านี้กับไฮโดรคาร์บอน เฮโลเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สเลเซอร์ (gas lasers) ก็ใช้ของผสมของฮีเลียมและนีออน นีออนที่ใช้ในหลอดสุญญากาศใช้เป็นตัวชี้วัดไฟฟ้าแรงสูง , ดักฟ้าผ่าหลอดเมตรคลื่นหลอดโทรทัศน์ , นีออนเหลวถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นสารทำความเย็น อุณหภูมิในการใช้งานไม่จำเป็นต้องอุณหภูมิต่ำ และทั้งก๊าซนีออนและนีออนเหลวค่อนข้างมีราคาแพง เนื่องจากธาตุนีออนค่อนข้างจะมีอยู่น้อยในธรรมชาติ
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/นีออน"