ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สร้างขึ้นโดยพระราชดำริใน[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพร้อมด้วยพระราชภาดาและภคินี สนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/249.PDF แจ้งความสภากาชาดสยาม เรื่องเปิดโรงพยาบาล ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2457]</ref> ด้วยเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระชนม์อยู่นั้น ได้ทรงพระราชดำริจัดตั้ง [[สภากาชาดไทย]] ซึ่งเรียกในเวลานั้นว่า '''สภาอุณาโลมแดง''' ขึ้นไว้ โดยรับการรักษาพยาบาลผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ตามคติของนานาชาติที่เจริญแล้ว แต่การสภากาชาดไทยยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ ถ้าจะบริจาคทรัพย์สร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้น ก็จะเป็นพระกุศล อันประกอบด้วยถาวรประโยชน์อนุโลม ตามพระราชประสงค์แห่งองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และเป็นเกียรติแก่ราชอาณาจักรโดยทรงพระดำริเห็นพ้องกัน บรรดาพระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบริจาคทรัพย์รวมกัน สมทบกับทุนของสภากาชาด สร้างโรงพยาบาลขึ้น และพระราชทานนามตามพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมชนกนาถว่า "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2457<ref>[http://fulltext.car.chula.ac.th/doc.asp?dirid=I0012&page=0090&dirname=พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชดำรัสตอบในการเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗]</ref> ตามแจ้งความสภากาชาดสยาม ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2457<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/251.PDF แจ้งความสภากาชาดสยาม เรื่องเรี่ยไรเงินจากสมาชิกก่อสร้างโรงพยาบาล ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗]</ref> ได้กำหนดจุดมุ่งหมายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลที่ดีจริงต้องตามวิทยาศาสตร์แผ่พระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับทั้งแพร่เกียรติยศของชาติไทย บริการรักษาพยาบาลช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ให้บริการรักษาผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยไข้ทั้งในยามสงครามและปกติ โดยยึดมั่นในปณิธาณอันแน่วแน่ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั่วไป โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ ลัทธิ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง โดยให้บริการทางการแพทย์ พยาบาล ตลอดจนการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย รวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการรักษาพยาบาล มีการค้นคว้าวิจัย<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2472/D/4181.PDF แจ้งความสภากาชาดสยาม เรื่องชักชวนบุคคลให้ทำการตรวจค้นในทางแพทยศาสตร์]</ref>และพัฒนาการรักษา พัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการรักษาพยาบาลและงานวิจัย ทั้งนี้ด้วยการประสานงานกันเป็นอย่างดีระหว่างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และ[[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
 
นอกจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยังเป็นสถานฝึกอบรม[[นิสิตแพทย์]] [[แพทย์ประจำบ้าน]] และ[[แพทย์ประจำบ้านต่อยอด]]ของ[[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] นักศึกษาพยาบาลของ[[วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย]] และนักเรียนโรงเรียนรังสีเทคนิค ซึ่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์ในสายงานเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค จึงถือได้ว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นศูนย์รวมของความดีเด่นทางวิทยาการในสหสาขาวิชาของวงการแพทย์ในปัจจุบัน และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานบริการของโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
 
== หน่วยงาน/ฝ่าย ==
บรรทัด 102:
=== อาคาร สก. ===
 
ด้วยในปีพุทธศักราช 2535 ที่ผ่านมาเป็นศุภมงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]]องค์สภานายิกา[[สภากาชาดไทย]] ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม กอปรทั้งเมื่อครั้งมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบใน[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]เมื่อปีพุทธศักราช 2530 [[วัดบวรนิเวศวิหาร]] ุและและ[[สภากาชาดไทย]]ได้ร่วมกันจัดสร้าง “ ตีก ภปร. ” เป็นอาคารผู้ป่วยนอกหลังใหม่ของโรงพยาบาลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่สาธารณชนเสร็จเรียบร้อยไปแล้วอาคารหนึ่ง ด้วยเหตุทั้งสองประการนี้คณะข้าราชการบริพารร่วมกับ[[สภากาชาดไทย]]จึงดำริที่จะดำเนินการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ[[สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]]อีกอาคารหนึ่งในพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [[สภากาชาดไทย]]เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความจงรักภักดีที่ประชาชนชาวไทยมีอยู่อย่างมั่นคงใน[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]]จึงได้นำความกราบทูล[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]ในฐานะองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทยทรงเห็นชอบด้วยที่จะก่อสร้างอาคารผู้ป่วยทางกุมารเวชศาสตร์แทนอาคารรักษาพยาบาลกุมารเวชกรรมเดิม คือ “ ตึก หลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ ” ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมลงมาก อีกทั้งจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานที่ยิ่งคับแคบลงเด็กผู้ป่วยอยู่กันโดยไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะ กับทั้งเพื่อใช้เป็นศูนย์ผู้ป่วยโรคหัวใจของโรงพยาบาลด้วยอาคารที่สร้างใหม่นี้ ได้รับพระราชทานพระราชาอนุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ “ สก. ” เป็นมงคลนาม การก่อสร้างครั้งนี้ตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินการด้วยเงินบริจาคตลอดทั้งจำนวนโดยไม่รบกวนงบประมาณแผ่นดิน หรืองบประมาณของสภากาชาดไทยเลย เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมตั้งแต่เริ่มดำเนินการมาจนกระทั่งบัดนี้ศรัทธาจากมหาชนผู้เปี่ยมด้วยความจงรักภักดีหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย เป็นผลให้การดำเนินงานทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความราบรื่นทุกประการ บัดนี้ตึก “ สก. ” สร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในพื้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “ ตึก ภปร. ” และ “ ตึก สก. ” ได้ประดิษฐานอยู่คู่กันเป็นนิมิตหมายแห่งพระมหากรุณาธิคุณอันมากล้นพ้นประมาณใน[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]]ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยเสมอมา
 
=== อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ===
บรรทัด 112:
* [[รถไฟฟ้ามหานคร|รถไฟฟ้าใต้ดิน]] ลงที่ [[สถานีสีลม]]
* [[รถโดยสารประจำทาง]] เช่น สาย 4, 14, 15, 45, 46, 67, 74, 77, 109, 115, 163
* [[รถปรับอากาศ]] เช่น สาย 4, 16, 21, 50, 67, 76, 77, 141, 172, 177, 504, 505, 507, 514, 547 ปอ.พ.12
* [http://www.chulalongkornhospital.go.th/uploads/media/The_map2_01.pdf แผนที่การเดินทาง]
 
บรรทัด 125:
* [http://www.hrm.moph.go.th/resource/ ระบบรายงานทรัพยากรสาธารณสุข]
{{geolinks-bldg|13.732611|100.536962}}
 
 
{{หน่วยงานในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี}}