ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปาล์มน้ำมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 21:
ลักษณะผลเป็นทะลายผลจะเกาะติดกันแน่นจนไม่สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปที่ก้านผลได้ เวลาเก็บผลปาล์มจึงต้องใช้'''มีดงอ'''เกี่ยวที่โคนทะลายแล้วดึงให้ขาด ก่อนที่จะตัดทะลายปาล์มต้องตัดทางปาล์มก่อนเพราะผลปาล์มจะตั้งอยู่บนทางปาล์ม กระบวนการตัดทาง(ใบ)ปาล์มและตัดเอาทะลายปาล์มลง เรียกรวมๆ ว่า '''แทงปาล์ม''' ปาล์มน้ำมันจัดเป็น [[พืชเศรษฐกิจ]] มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นพืชที่ให้ผลผลิต น้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด
 
'''ราก'''เป็นระบบรากฝอย (Fibrous root system) รากของปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณผิวดินลึกไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีความหนาแน่นมากในบริเวณโคนและระยะ 1.5 ถึง 2.0 เมตรจากลำต้น แต่ในกรณีที่ดินมีการถ่ายเทอากาศดีและระดับน้ำใต้ดินไม่สูงอย่างถาวร อาจจะมีรากบางส่วนเจริญลึกลงถึง 5 เมตร ซึ่งจะช่วยยึดลำต้นไว้ไม่ให้ล้มง่าย การแตกแขนงของรากเริ่มจาก Primary root, Secondary root, Tertiary root และ Quaternary Root ตามลำดับ โดย Quaternary Root จะทำหน้าที่ดูดธาตุอาหารเนื่องจากธาตุชนิดนี้ไม่มีลิกนินเหมือนรากชนิดอื่นที่มีสารนี้ ในส่วนของเนื้อเยื่อ Hypodermis ปาล์มน้ำมันไม่มีขนอ่อน นอกจากนี้ Hydathodes ที่เกิดจากเนื้อเยื่อชั้น Cortex ของราก จะโผล่เหนือพื้นดินเพื่อช่วยในการหายใจในกรณีที่เกิดน้ำท่วม
สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นทั้งในรูปแบบของน้ำมันพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมและ[[เนยเทียม]] เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน [[ไบโอดีเซล]]รวมถึงเป็นส่วนผสมในเพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และยังสามารถแปรรูปเป็น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ต่างๆ และอาหารสัตว์ ด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีก <ref>http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=67386</ref>
 
'''ลำต้น''' จุดเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันมีจุดเดียวคือตายอด ในระยะแรกลำต้นจะเจริญเติบโตด้านกว้าง จนมีขนาดเต็มที่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ปี ได้เป็นลำต้นใต้ดิน (Bole) จากนั้นเป็นการเจริญเติบโตด้านความสูงเป็นลำต้นเหนือดิน (Trunk) ที่มีกาบใบห่อหุ้มอยู่ กาบใบติดอยู่กับลำต้นอย่างน้อย 12 ปี ดังนั้นต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุไม่เกิน 12 ปี จะมีใบคลุมถึงโคนต้น หากอายุมากขึ้นกาบใบบริเวณโคนต้นจะทยอยร่วง ซึ่งแตกต่างจากมะพร้าวซึ่งเมื่อใบร่วงกาบใบจะหลุดออกจากลำต้นหมดโดยไม่ทิ้งกาบใบไว้เลย ปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชที่ไม่มีเนื้อเยื่อเจริญเติบโตด้านข้าง ดังนั้นเมื่อมีแผลบริเวณลำต้นจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ อัตราการยืดตัวของลำต้นนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและพันธุกรรม ในสภาพของการปลูกปกติ ซึ่งขนาดของลำต้นมีลักษณะต่างกัน จะมีการเพิ่มความสูง 25 ถึง 50 เซนติเมตรต่อปี หากมีการปลูกที่หนาแน่นมากเกินไปจะทำให้ลำต้นเจริญเติบโตเร็วและมีขนาดเล็ก หากในสภาพแวดล้อมที่มีการบังแสงอย่างมาก ลำต้นและใบจะมีการเจริญเติบโตช้ามาก ต้นปาล์มน้ำมันที่เจริญเต็มที่แล้ว จะมีส่วนของเนื้อเยื่อเจริญเติบโต ขนาดเส้น ผ่าศูนย์กลาง 10 ถึง 12 เซนติเมตร ความลึก 2.5 ถึง 4.0 เซนติเมตร บริเวณส่วนกลางของส่วนยอด (Crown) โดยมีจุดกำเนิดใบ ใบอ่อน และฐานของใบหุ้มอยู่ การจัดเรียงใบบนลำต้นมีลักษณะเป็นเกลียวบนลำต้น โดยแต่ละรอบจะมีใบ จำนวน 8 ใบและรอบต่อไปจะมีใบ จำนวน 13 ใบสลับกัน การเวียนจะมีทั้งด้านซ้ายและด้านขวา แต่ปาล์มน้ำมันที่ปลูกจะมีต้นไปทางด้านซ้ายหรือเวียนไปทางด้านขวาในปริมาณใกล้เคียงกัน และความสูงโดยทั่วไป สูง 15 ถึง 18 เมตร
 
'''ใบ''' ในระยะแรกของต้นกล้ามีใบ ที่เรียกว่า Plumular Sheath จำนวน 2 ใบ หลังจากนั้นจะมีใบจริงเจริญเติบโตออกมาใบแรกซึ่งมีรูปร่างแบบ Lanceolate โดยมีเส้นกลางแบ่งแยกออกเป็นสองทาง แต่ยังคงมีใบย่อยติดกันอยู่ และใบถัดมาจะมีใบย่อยแยกออกจากกันอีกส่วนใบจริงที่มีลักษณะนี้จะถูกสร้างขึ้นมาเดือนละ 1 ใบ จนกระทั่งครบระยะเวลา 6 เดือน ใบของปาล์มน้ำมันประกอบด้วยก้านใบที่อาจมีความยาวถึง 7.5 เมตร สามารถประเภทของใบเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนปลายเป็นส่วนที่รองรับใบย่อย จำนวน 250 ถึง 300 ใบ และส่วนก้านที่ติดกับลำต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีหนามแข็ง ในระยะแรกใบจะเจริญเป็นเนื้อเยื่อบางๆ ห่อหุ้มตายอด ซึ่งมีจำนวน 45 ถึง 50 ใบ แต่ละใบจะห่อหุ้มตายอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี ต่อมาจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นใบที่แหลมเหมือนหอก แต่ใบย่อยยังไม่คลี่ ในสภาพ แวดล้อมที่แห้ง ใบจะยังไม่คลี่จนกระทั่งถึงช่วงฤดูฝน ดังนั้นในช่วงฤดูแล้งจะพบว่ามีจำนวนของใบที่มีลักษณะแหลมมากกว่าในฤดูฝน ในสภาพปกติในระยะ 5 ถึง 6 ปีแรก จะมีใบที่ติดกับยอดประมาณ 25 ถึง 35 ใบ แต่ต่อมาจะมีจำนวนใบลดลงเหลือ 18 ถึง 25 ใบ หากในสภาพที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันจำนวนหนาแน่นจะมีจำนวนใบน้อยกว่า และใบที่คลี่แล้วจะมีอายุประมาณ 2 ปี และแต่ละเดือนจะมีใบคลี่ประมาณ 2 ใบ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชประเภทกึ่ง Xerophye มี Cuticle หนา และมีเนื้อเยื่อที่มีลิกนิน มีเซลล์ปากใบประมาณ 145 เซลล์ต่อตารางมิลลิลิตร และในส่วนของ Guard Cell จะมีผนังบาง ๆ และในสภาพขาดน้ำปากใบจะปิดในช่วงเวลาเที่ยงวัน
 
'''ช่อดอกและดอก''' จุดกำเนิดช่อดอก คือบริเวณมุมใบของต้นที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป โดยส่วนของตาจะพัฒนาเป็นช่อดอกเมื่อเป็นใบแหลมได้ 9 ถึง 10 เดือน ปาล์มน้ำมันเป็นพืชพวก Monoecious Plant คือมีทั้งช่อดอกตัวผู้ (Male Inflorescences) และช่อดอกตัวเมีย (Female Inflorescences) อยู่ในต้นเดียวกัน ลักษณะการเกิดช่อดอกซึ่งจะเป็นเพศใดเพศหนึ่งในช่วงระยะเวลา 4 ถึง 5 เดือน จำนวนช่อดอกที่เกิดในแต่ละช่วงมี จำนวน 8 ถึง 10 ช่อ
ในระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงจากช่อดอกเพศหนึ่งไปเป็นอีกเพศหนึ่งของปาล์มน้ำมัน จะเกิดช่อดอกที่มีทั้ง 2 เพศ (Hermaphroditic Inflorescences) โดยเฉพาะในปาล์มน้ำมันที่ยังมีอายุน้อย จะมีช่อดอกตัวเมียอยู่ด้านล่าง และช่อดอกตัวผู้อยู่ด้านบน และจะไม่ค่อยพบดอกชนิดสมบูรณ์เพศหรือเป็นช่อดอกแบบ Compound Spike หรือ Spadix แกนกลางจะแบ่งเป็นก้านช่อดอก และส่วนที่มีดอกติดอยู่ (Rachis) ดอกจะเป็นชนิดไม่มีก้านดอก ขึ้นเรียงเป็นเกลียว มีส่วนที่ห่อหุ้มช่อดอกเหมือนมะพร้าว เรียกว่า Spathe โดยมีจำนวน 2 แผ่น คือ Outer และ Inner Spathe ในขณะที่มะพร้าวมีเพียงแผ่นเดียว ช่อดอกตัวผู้มีช่อดอกย่อยที่มีรูปทรงเป็นช่อยาวทรงกระบอก สีเหลืองยื่นออกมาจาก Rachis จำนวนมาก ลักษณะคล้ายนิ้วมือ และแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้ปกติและมีเกสรตัวเมียเป็นหมัน ช่อดอกตัวเมียมีลักษณะของดอกอวบหนา และแต่ละดอกจะมี Bract ลักษณะเป็นหนามแหลม มีเปอร์เซ็นต์การติดผล 60 ถึง 65 เปอร์เซ็นต์
 
'''ผลและเมล็ด''' ผลเป็นแบบ Drupe เหมือนมะพร้าว ส่วนของ Pericarp ซึ่งเป็นส่วนเปลือกของผล แบ่งออกเป็น 3 ส่วนอย่างชัดเจน คือ Exocarp อยู่ด้านนอกสุด ผิวเป็นมันและแข็ง Mesocarp (Pulp) เป็นส่วนที่อยู่ถัดไปที่เป็นเส้นใย เป็นส่วนทีมีน้ำมันสูง นำไปสกัดเป็นน้ำมันปาล์ม (Palm Oil) และ Endocarp (กะลา, Shell) ลักษณะเป็นเปลือกแข็งสีดำ เมื่อสกัดน้ำมันจาก Mesocarp ออกมาจะเหลือส่วนนี้ซึ่งห่อหุ้มเมล็ดอยู่ สามารถส่งไปขายหรือเพื่อสกัดสกัดเอาน้ำมันปาล์มจากเมล็ด (Palm Kernel Oil) ถัดจากส่วนของ Endocarp เป็นส่วนของเมล็ดซึ่งมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลหุ้มเอนโดเสปิร์มที่มีความแข็งและแน่น มีน้ำมันสูง มีสีเทาหรือขาว และจะพบส่วนของคัพภะบริเวณตาของผล (germ pore)
สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นทั้งในรูปแบบของน้ำมันพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมและเนยเทียม เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน ไบโอดีเซลรวมถึงเป็นส่วนผสมในเพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และยังสามารถแปรรูปเป็น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ต่างๆ และอาหารสัตว์ ด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีก [
 
ในประเทศไทยมีการปลูกทั้งทางภาคใต้และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่[[สามจังหวัดชายแดนภาคใต้]] ช่วงปี 2547 - 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่องให้ฟรี ให้พันธุ์และปุ๋ย โดยให้เหตุผลในการส่งเสริมการปลูกเนื่องจากเป็นปาล์มที่ให้นำมันใช้ได้ทั้งการบริโภคและใช้เป็นไบโอดีเซลได้โดยประเทศที่ปลูกปาล์มนำมันได้แก่ อินโดนีเซีย 50ล้านไร่ มาเลเซีย 35ล้านไร่ ส่วนไทย 5.5ล้านไร่ปัจจุบันภาครัฐของไทยมีเป้าหมายจะปลูกปาล์มให้ได้ทั้งสิ้น 10ล้านไร่ภายในปี 2572 จากพื้นที่มีศักยภาพ ทั้งสิ้น 20ล้านไร่
 
ปัจจุบัน ประเทศที่ผลิตและส่งออก[[น้ำมันปาล์ม]]รายใหญ่ที่สุดในโลกคือ[[ประเทศมาเลเซีย]] ผลิตเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 47 ของการผลิดของโลก
 
 
'''การปลูกปาล์มน้ำมัน'''
 
'''สภาพอากาศ''' พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันควรมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,500 – 3,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีการกระจายของฝนตลอดปีมากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อเดือน และถ้ามีช่วงฝนทิ้งก็ไม่ควรเกิน 2 เดือน อุณหภูมิต่ำสุดไม่ต่ำเกินกว่า 20 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดไม่สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ลมไม่แรงโดยอัตราเร็วลมไม่เกิน 10 เมตรต่อวินาที มีแสงแดดอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน
 
'''สมบัติทางกายภาพของดิน''' เนื้อดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนปนทรายแป้ง มีความลึกของหน้าดิน ตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป เป็นที่ราบจนถึงมีความลาดชันไม่เกิน 23 % มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขังหรือท่วมขังเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
 
'''สมบัติทางเคมีของดิน''' ดินที่ใช้ปลูกปาล์มน้ำมัน นอกจากจะต้องมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารสูงแล้ว สภาพความเป็นกรด – เบส ของดินควรมีค่า pH ตั้งแต่ 4.2 ขึ้นไป คือเป็นกรดอ่อน ๆ จนถึงเป็นกลาง สำหรับสมบัติทางเคมีของดินในพื้นที่ที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน สามารถส่งไปตรวจวิเคราะห์ได้ที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี
 
'''การวางผังเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน''' เพื่อให้ปาล์มน้ำมันเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตเร็วและสะดวกต่อการดูแลตลอดจนการเก็บผลผลิต ที่นิยมกันโดยทั่วไปใช้การปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า 9 x 9 x 9 เมตร สลับฟันปลาระหว่าง 2 แถวที่อยู่ติดกัน แต่ละแถวของปาล์มน้ำมันจะอยู่ห่างกัน 7.8 เมตร การปลูกแบบนี้เป็นการจัดแนวปลูกที่ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันแต่ละต้นได้รับแสงมากที่สุด
 
'''ปาล์มน้ำมัน'''แต่ละต้นจะกำหนดปริมาณการให้ช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย ล่วงหน้า 33 เดือน โดยขึ้น กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันนั้น ๆ ได้รับ เช่น หากต้นปาล์มได้รับน้ำ ในปริมาณที่เหมาะสมในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวเมียมากกว่าช่อดอกตัวผู้ ในทางกลับกัน หากต้นปาล์มนั้น ๆได้รับน้ำ ในปริมาณที่ไม่เพียงพอในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวผู้มากกว่าช่อดอกตัวเมีย ซึ่งช่อดอกทั้ง ตัวผู้และตัวเมียที่ถูกกำหนดล่วงหน้านี้จะไปผลิออกเป็นช่อดอกในอีก 33 เดือนข้างหน้า ดังนั้น ปาล์มที่ปลูกโดยอาศัยน้ำ ฝนจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว จะให้ผลผลิตตามปริมาณน้ำ ฝนที่ได้รับ ยิ่งถ้าพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีช่วงฝนแล้ง หรือขาดน้ำ หลายเดือน ปาล์มนั้น ๆ ก็จะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมาก หรือแทบไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย ต้นปาล์มจะมีลักษณะสูงเร็ว เพราะไม่ต้องสูญเสียธาตุอาหารในการออกลูกออกผลปาล์มน้ำมันที่ขาดน้ำ เป็นระยะเวลาหลายเดือน จะให้แต่ช่อดอกตัวผู้ หรือแทบจะไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย แม้ว่าเราจะให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา ก็ไม่สามารถแก้ไขให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ได้ เพราะปริมาณการออกช่อดอกตัวเมียได้ถูกกำหนดไว้แล้วเมื่อ 33 เดือนที่แล้วตามปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวได้รับ แต่การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา จะไปมีผลให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ในอีก 33 เดือนข้างหน้าอย่างไรก็ตามหากช่อดอกตัวเมียที่ออกมา กระทบกับช่วงฤดูแล้ง หรือภาวะต้นปาล์มขาดน้ำ ช่อดอกตัวเมียดังกล่าวก็อาจจะฝ่อไม่ให้ผล เพื่อลดการสูญเสียน้ำ
 
'''อายุปลูกลงดิน''' 1 ½ - 3 ½ ปี: ต้นปาล์มจะเริ่มออกดอก ให้ผลผลิต มีผลปาล์มออกดกรอบต้น เนื่องจากต้นปาล์มได้น้ำ จากแปลงเพาะต้นกล้า ในช่วงอายุปลูกประมาณ 2 ½ ขึ้น ไป การกำหนดปริมาณช่อดอกตัวผู้-ตัวเมีย จะขึ้น อยู่กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มได้รับบนแปลงปลูกนั้น ๆ(น้ำ จากฝน และการรดน้ำ )
'''การเลือกพันธุ์ และต้นกล้าปาล์มน้ำมัน'''
1. ใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากการผสมระหว่าง แม่ดูรา กับ พ่อฟิสิเฟอรา มาปลูกเพราะจะทำให้ได้ปริมาณผลผลิตทะลายสด และน้ำมันสูง ถ้าใช้ต้นกล้าจากแหล่งปลูกหรือแหล่งพันธุ์ที่ไม่ทราบที่มา หรือเก็บเมล็ดจากใต้ต้นมาเพาะ จะทำให้ผลผลิตต่ำหรือไม่ได้ผลผลิตเลย ซึ่งในปัจจุบันมีแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเทเนอราที่เชื่อถือได้ทั้งในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น กรมวิชาการเกษตร และบริษัทเอกชน
 
'''อายุปลูกลงดิน'''ประมาณ 3 ½ ปี เป็นช่วงปาล์มขาดคอ ต้นปาล์มจะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมากเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน ขึ้น อยู่กับสภาพภูมิอากาศและการได้รับน้ำ ในแปลงปลูกนั้น ๆ
2. อายุของต้นกล้าที่ใช้ปลูก ควรมีอายุ 10-18 เดือน และต้องผ่าน การคัดต้นกล้าที่ผิดปกติทิ้งไปในอัตรา 20-30% ในระยะ pre และ main nursery เช่น ต้นเตี้ย และแคระแกรน ทางใบทำมุมที่แคบกว่าปกติ ทางใบสั้น ต้นผอมชะลูด ซึ่งการดูแลรักษาต้นกล้าปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะมีความสำคัญมากในการผลิตปาล์มน้ำมัน ทั้งนี้เพราะถ้ามีการนำต้นกล้าปาล์มที่ไม่แข็งแรงและไม่สมบูรณ์ไปปลูกจะทำให้เริ่มได้ผลผลิตล่าช้า และผลผลิตที่ได้จะต่ำในระยะยาว ดังนั้นการพิจารณาแหล่งพันธุ์ และแหล่งเพาะกล้าจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการทำสวนปาล์มน้ำมันให้ประสบความสำเร็จ
3. ควรมีการเลือกใช้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุ 18 เดือนไปปลูก ทั้งนี้เพราะจะทำให้ต้นปาล์มตกผลเร็ว และให้ผลผลิตถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วกว่าใช้ต้นกล้าปกติ ซึ่งเป็นจุดที่เกษตรกรควรให้ความสำคัญเพราะจะเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ และไม่ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุต่ำกว่า 10 เดือนไปปลูก เพราะการใช้ต้นกล้าอายุน้อยจะทำให้มีอัตราการผิดปกติของต้นปาล์มในแปลงสูง และให้ผลผลิตต่ำ
 
'''อายุปลูกลงดิน''' 4 – 7 ปี ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีจะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น ๆเรื่อย ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง รวมทั้ง ถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปีที่รับประกันเอาไว้โดยผู้ผลิตแต่ละแหล่ง สามารถที่ จะรับประกันได้ที่อายุต้นปาล์ม 8 ปี อายุปลูก8 ปีขึ้น ไป ปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง และถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปี ต้องได้ตามปริมาณที่แต่ละแหล่งผลิตรับประกันด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากวิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มที่ต้นสูงมาก ไม่สามารถใช้เสียมแทงปาล์มได้ต้องใช้เคียวตัดทางใบล่างออกก่อนแล้วจึงจะสามารถใช้เคียวตัดทะลายปาล์มลงมาได้ด้วยวิธีดังกล่าว จะทำให้ต้นปาล์มมีทางใบน้อยลง เสมือนมีขนาดโรงครัวปรุงอาหารเล็กลง ทำให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตน้อยลงตามไปด้วย
'''อายุปลูกลงดิน'''
1 ½ - 3 ½ ปี: ต้นปาล์มจะเริ่มออกดอก ให้ผลผลิต มีผลปาล์มออกดกรอบต้น เนื่องจากต้นปาล์มได้น้ำ จากแปลงเพาะต้นกล้า ในช่วงอายุปลูกประมาณ 2 ½ ขึ้น ไป การกำหนดปริมาณช่อดอกตัวผู้-ตัวเมีย จะขึ้น อยู่กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มได้รับบนแปลงปลูกนั้น ๆ(น้ำ จากฝน และการรดน้ำ )
 
ประมาณ 3 ½ ปี เป็นช่วงปาล์มขาดคอ ต้นปาล์มจะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมากเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน ขึ้น อยู่กับสภาพภูมิอากาศและการได้รับน้ำ ในแปลงปลูกนั้น ๆ
 
4 – 7 ปี ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีจะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น ๆเรื่อย ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง รวมทั้ง ถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปีที่รับประกันเอาไว้โดยผู้ผลิตแต่ละแหล่ง สามารถที่ จะรับประกันได้ที่อายุต้นปาล์ม 8 ปี อายุปลูก8 ปีขึ้น ไป ปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง และถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปี ต้องได้ตามปริมาณที่แต่ละแหล่งผลิตรับประกันด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากวิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มที่ต้นสูงมาก ไม่สามารถใช้เสียมแทงปาล์มได้ต้องใช้เคียวตัดทางใบล่างออกก่อนแล้วจึงจะสามารถใช้เคียวตัดทะลายปาล์มลงมาได้ด้วยวิธีดังกล่าว จะทำให้ต้นปาล์มมีทางใบน้อยลง เสมือนมีขนาดโรงครัวปรุงอาหารเล็กลง ทำให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตน้อยลงตามไปด้วย
 
'''การให้นํ้ากับต้นปาล์มนํ้ามันในปริมาณที่เหมาะสม'''
เส้น 69 ⟶ 39:
จากการศึกษาทางวิชาการ เสนอไว้ว่า ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นต้องการน้ำ วันละ200 ลิตรซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรกรที่จะต้องจัดหาน้ำ ปริมาณดังกล่าว เพื่อใช้รดให้กับต้นปาล์มน้ำมันอูติพันธุ์พืชเสนอให้ใช้วิธีสังเกตยอดต้นปาล์มที่มียอดแหลม ไม่คลี่ออก คล้ายหอก หากปรากฏว่าปาล์มน้ำมันต้นใดมียอดแหลม ไม่คลี่ คล้ายหอก สูงในระดับใกล้เคียงกัน มากกว่า 2 ยอดหอกแสดงว่าปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวขาดน้ำ แล้ว ต้องให้น้ำ แก่ต้นปาล์มนั้น ๆมากขึ้นลักษณะการให้น้ำ ด้วยท่อพีอี พันรอบลำต้นปาล์มและใส่หัวฉีดขนาดเล็กจำนวน 3 หัว พ่นน้ำ หันออกจากลำต้นทำให้ไม่เกะกะและเสียหายจากการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันลักษณะของยอดปาล์มที่แหลม ไม่คลี่ใบออก คล้ายหอกหากมียอดหอกดังกล่าว ที่มีความสูงระดับใกล้เคียงกันมากกว่า 2 ยอด แสดงว่าปาล์มอยู่ในภาวะขาดน้ำ หรือได้รับน้ำ ไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มการให้น้ำ
 
'''การแนะนำการใช้ปุ๋ย'''
การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด มีหลักเกณฑ์ ที่ควรพิจารณา ดังนี้
 
'''1.ชนิดปุ๋ย'''
การเลือกใช้ปุ๋ยมีความสำคัญประการหนึ่งในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งนอกจากจะต้องคำนึงถึงราคาของปุ๋ยแล้ว ควรคำนึงถึงผลตอบแทนจาการใส่ปุ๋ยด้วย ซึ้งในการเลือกใช้ปุ๋ยด้วย ซึ่งในการเลือกใช้ปุ๋ยควรพิจารณาคุณสมบัติของปุ๋ย สภาพพื้นที่และภูมิอากาศในสวนด้วย เพื่อที่จะเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพื้นที่ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของของการใช้ปุ๋ย สำหรับปุ๋ยที่นิยมในสวนปาล์ม เป็นปุ๋ยเชิงเดี่ยว ซึ่งมีราคาต่อหน่วยธาตุอาหารต่ำกว่าปุ๋ยผสมและสามารถปรับลดอัตราการใส่ธาตุอาหารแต่ละชนิดไดตามต้องการของพืช ซึ่งแหล่งปุ๋ยเชิงเดี่ยวมีหลายชนิด
 
1) ปุ๋ยไนโตรเจน
แหล่งให้ธาตุไนโตรเจน (N) ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่
(1) ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้เป็นแหล่งของธาตุ N ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ปุ๋ยแอมโมเนียม ซัลเฟต (21% N) และปุ๋ยยูเรีย (46% N) ซึ่งเป็นปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุ N เป็นปริมาณสูง แต่ในการเลือกใช้ปุ๋ยชนิดนี้ต้องระวังการสูญเสียจากระเหิด (Volatilization) โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยยูเรียในดินทรายที่เป็นด่าง
(2) การตรึงไนโตรเจนของพืชตระกูลถั่ว การปลูกพืชตระกูลถัวคลุมดิน ตั้งแต่เริ่มปลูกสร้างสวนปาล์มเป็นการเพิ่มอินทรีย์ไนโตรเจน ซึ่งเมื่อตระกูลถัวสลายตัว ค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ออกมาช้า ๆ ซึ่งพืชตระกูลถั่วที่นิยมปลูกดิน ได้แก่ ถั่วคาโลโปโกเนียม (Calopogonium caerulum) ผสมถั่วเพอราเรีย (Pueraria phaseoloides) ซึ่งจะเป็นแหล่งให้ธาตุ N ที่สำคัญในสวนปาล์มโดยเฉพาะในช่วงปีที่ 3-5 ของการปลูก เพื่อสลายตัวจะปลดปล่อยธาตุ N เท่ากับ 1.34 กก./ต้น/ปี หรือ 30 กก./ไร่/ปี
(3) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มเติมในดิน เช่น ทางใบปาล์มที่ตัดแต่งแล้ว ทะลายเปล่าปาล์มมัน ซึ่งเมื่อสลายตัวจะเป็นแหล่งของธาตุอาหารที่สำคัญ และอินทรียวัตถุเหล่านี้จะช่วยรักษาความชื้นของดินทำให้ดินมีโครงสร้างดี ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพ เคมีและจุลชีวของดิน ทำให้ประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของรากเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของปุ๋ย N ที่ใส่ในสวนปาล์ม
2) ปุ๋ยฟอสฟอรัส
ปุ๋ยที่ให้ธาตุ P ที่นิยมใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (46%P2O5) และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต ซึ่งความเป็นประโยชน์ของธาตุ P จะขึ้นอยู่แหล่งของร็อคฟอสเฟต ซึ่งในการเลือกใช้ปุ๋ย P นี้ ขึ้นอยู่กับราคาปุ๋ยความเป็นประโยชน์ของธาตุ P ที่พืชต้องการ กรณีที่ปาล์มอายุน้อย (immature) หรือแสดงอาการขาดธาตุ P ควรใส่ปุ๋ย P ในรูปของปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต ซึ่งจะมีธาตุฟอสฟอรัส อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ง่าย ทำให้ปาล์มสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ใส่ได้ทันที
ในสวนปาล์มที่โตเต็มที่ (mature) สามารถใส่ปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต และร็อคฟอสเฟตเป็นแหล่งของธาตุ P ในสวนปาล์มได้ แต่การเลือกใช้ปุ๋ยร็อคฟอสเฟต จะทำให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านปุ๋ยเคมี เนื่องจากมีราคาต่อหน่วยธาตุอาหารต่ำกว่าปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต
3) ปุ๋ยโพแทสเซียม
ปุ๋ยที่ให้ธาตุ K ที่นิยมใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ และปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต แต่สวนใหญ่จะนิยมใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ เพราะมีราคาต่อหน่วยธาตุอาหารต่ำกว่า
แหล่งของธาตุ K ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง คือ ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้จากผลผลิตทะลายปาล์มสดที่สกัดน้ำมันออกแล้ว โดยผลผลิตทะลายสด เมื่อสกัดน้ำมันออกแล้วจะได้ส่วนที่เป็นทะลายเปล่า 22%
ใน 1 ตันทะลายเปล่าจะมีธาตุอาหารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งคิดเทียบเท่าปุ๋ยเคมีแอมโมเนียมซัลเฟต 15.3 กก. ปุ๋ย Christmas Island Rock Phosphate 2.5 กก. ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 18.8 กก. และ ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ 4.7 กก. ดังนั้น จึงสามารถใช้ทะลายเปล่าเป็นแหล่งของธาตุ K ในสวนปาล์มน้ำมันได้
4) ปุ๋ยแมกนีเซียม
ปุ๋ยที่ธาตุ Mg ที่นิยมใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ และปูนโดโลไมท์ (ground magnesium limestone) ซึ่งสามารถในการสะลายจะต่างกัน โดยคีเซอร์ไรท์ จะมีธาตุ Mg อยู่ในรูปละลายน้ำได้ง่ายกว่าปูนโดโลไมท์ แต่ในดินกรดควรใส่ปูนโดโลไมท์ ซึ่งจะมีธาตุ Ca เป็นองค์ประกอบทำหน้าที่ปรับสภาพความเป็นกรดของดิน สำหรับปาล์มน้ำมันที่มีอายุน้อย (immature) หรือแสดงอาการขาดธาตุควรเลือกใช้ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ ซึ่งมีธาตุ Mg ในรูปละลายน้ำไดง่าย สำหรับปาล์มน้ำมันที่โตเต็มที่แล้ว (mature) สามารถเลือกใช้ปูนโดโลไมท์ เป็นแหล่งธาตุ Mg ทดแทนการใช้ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ โดยไม่ทำให้ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันและความเข้มข้นของธาตุ Mg ในปบแตกต่างกัน และโดโลไมท์ทำหน้าที่เหมือนปูนที่ปรับสภาพความเป็นกรดของดิน (liming agent) ทำให้ดินมี pH ที่เหมาะสม ที่จะทำให้ธาตุอาหารพืชละลายออกมาในรูปที่เป็นประโยชน์ได้ง่าย แต่การใส่โดโลไมท์ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ควรระวังการสะสมธาตุ Ca ในดิน ซึ่งถ้ามีปริมาณมาก อาจส่งผลกระทบต่อการดูดใช้ธาตุ K ของรากพืชได้
'''2.ความถี่ในการใส่ปุ๋ย'''
ความถี่ในการใส่ปุ๋ยหรือการเพิ่มจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ย เนื่องจากจะสามารถลดการสูญเสียธาตุอาหารจาการชะล้างที่ผิวหน้าดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนมาก การใส่ปุ๋ยบ่อยครั้ง ทำให้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตสูงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และการใส่ปุ๋ยมากกว่า 1 ครั้งต่อปี ดีกว่าการใส่เพียงครั้งเดียว
อย่างไรก็ตาม ความถี่ในการใส่ปุ๋ยขึ้นอยู่กับความต้องการของพืช อายุปาล์ม สิ่งปกคลุมดิน ชนิดปุ๋ยและน้ำฝน ซึ่งการเพิ่มจำนวนครั้งในการใส่ ต้องคำนึงถึง การลดการสูญเสียธาตุอาหารจากการชะล้างและน้ำไหลบ่าให้เหลือน้อยที่สุด ขณะเดี่ยวกันธาตุอาหารที่ให้ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม และอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับความต้องการของปาล์มน้ำมัน เช่น ในปาล์มเล็ก ควรเพิ่มความถี่ในการใส่ปุ๋ย เนื่องจาก ในระยะนี้ปาล์มน้ำมันมีความต้องการธาตุอาหารสูงในการใช้เพื่อการเจริญเติบโต แต่ในปาล์มที่โตเต็มที่แล้วสามารถลดจำนวนครั้งของการใส่ปุ๋ยลง จำนวนครั้งของการใส่ปุ๋ยในรอบปีสำหรับปุ๋ยที่ให้ธาตุ N K และ Mg ควรใส่ 2-3 ครั้ง/ปี ในดินทั่วไป แต่ถ้าเป็นดินทรายมีความสามารถในดารดูดยึดธาตุอาหารต่ำ ควรใส่ปุ๋ย 3-4 ครั้ง/ปี เพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร สำหรับปุ๋ย P สามารถใส่ 1-2 ครั้ง/ปี เนื่องจากการใส่ปุ๋ย P จะทำให้ผลตกค้างของธาตุ P ในดิน
'''3.อัตราการใส่'''
การใส่ปุ๋ยในอัตราที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภายในสวนปาล์มน้ำมัน เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม เนื่องจาการใช้ปุ๋ยในอัตราที่มากเกิน หรือน้อยเกินความต้องการของปาล์มน้ำมัน จะส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิต เป็นสาเหตุให้ผลผลิตลดลงเนื่องจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร และการใส่ปุ๋ยที่มากเกินความต้องการปาล์มน้ำมัน ทำให้ ผลกำไรลดน้อยลง และเกิดการสูญเสียธาตุอาหาร ทำให้ดินเป็นกรดจัด และเสื่อมสภาพ และก่อให้เกิดมลพิษต่อส่งแวดล้อม เนื่องจากธาตุอาหารที่ถูกชะล้างไปกับน้ำ หรือน้ำไหลบ่า จะไหลสู่แหล่งน้ำ
ดังนั้นในการกำหนดอัตราการใส่ปุ๋ย จะต้องคำนึงถึงหลักความสมดุลของธาตุอาหาร และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพภูมิอากาศ พันธุ์ อายุปาล์ม การเจริญเติบโตและให้ผลผลิต สภาพดิน ประวัติของแปลง และการจัดการสวน อัตราการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ แสดงในตารางแนะนำการใช้ปุ๋ยทั่วไปของปาล์มน้ำมัน
== ดูเพิ่ม ==
*[[น้ำมันปาล์ม]]
เส้น 111 ⟶ 49:
* http://www.doae.go.th/plant/palm.htm
* http://210.246.186.28/palm/breed.html
 
* http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/palm/controller/index.php
* http://fieldtrip.ipst.ac.th/intro_sub_content.php?content_id=20&content_folder_id=233
* http://www.sintusatepalmoil.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539259313&Ntype=2
[[หมวดหมู่:วงศ์ย่อยหมาก]]
[[หมวดหมู่:พืชเศรษฐกิจ]]