ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอท่าตูม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
จากการเดินทางรอนแรมมาถึงที่ตั้งบริเวณอำเภอท่าตูมในปัจจุบัน คณะเดินทางได้มาตั้งค่ายพักแรมที่บริเวณริมฝั่งที่มีต้นมะม่วงใหญ่ จึงได้ตั้งค่ายพักแรมและสร้างเป็นที่พักชั่วคราว และเรียกที่พักแรมนี้ว่า "กำปงสวาย" (ท่ามะม่วง) ชุมชนกำปงสวายได้ดำรงอยู่เรื่อยมาแม้ว่าเมื่ออาณาจักรเจนละและขอมโบราณจะเสื่อมอำนาจลง จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการรบพุ่งกันระหว่างไทยกับกัมพูชาอีก ไทยได้อพยพชาวกัมพูชาบางส่วนเข้ามาในประเทศไทย ชาวกัมพูชาที่มีเชื้อสายเดิมก็ได้อพยพมาอยู่ในชุมชนกำปงสวายนี้ ได้เปลี่ยนมาเป็น "พงสวาย" ในปัจจุบัน (หมู่ที่ 13 ตำบลท่าตูม) ประมาณปี พ.ศ. 2330 อำเภอท่าตูมได้มีการอพยพมาบริเวณปากน้ำมูลและชี มาบรรจบกันโดยชาวกูย (ส่วย) ซึ่งอพยพมาจากแคว้นจำปาสักเป็นพวกที่รักสงบ รักธรรมชาติ มีความชำนาญในการเลี้ยงช้างและการเกษตร เห็นว่าบริเวณดังกล่าวมีต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นอาหารของช้างมาก มีทำเลเลี้ยงช้างเหมาะสม จึงได้อพยพมาอาศัยอยู่บริเวณนั้น และเรียกบริเวณนั้นว่า "กระโพ" (ตำบลกระโพในปัจจุบัน)
 
ในรัชสมัยสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณอำเภอท่าตูมได้ยกขึ้นเป็น '''อำเภอสุรพิน''' และขึ้นอยู่กับเจ้าเมืองขุขันธ์ ปี พ.ศ. 2452 ทางราชการเห็นว่าการให้อำเภอสุรพินขึ้นอยู่กับเจ้ารพินอยู่ห่างจากเมืองขุขันธ์นั้น ชมีขุขันธ์เป็นระยะทางไกลมาก สร้างความลำบากให้แก่ข้าราชการและราษฎรไปติดต่อราชการ จึงได้พิจารณาให้อำเภอสุรพินมาขึ้นต่อเจ้าเมืองสุรินทร์ และเปลี่ยนชื่อเป็น '''อำเภออุดรสุรินทร์''' ในปี พ.ศ. 2454 ครั้งแรกให้ขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองสุรินทร์ มีหลวงแพ่งเป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2456 ได้มีการตั้งอำเภออุดรสุรินทร์ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล บ้านกำปงสวาย แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2465 ขุนสุรสิทธิ์ สาราการ (พิน จรัณยานนท์) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อเทศาภิบาลได้ตรวจงานอำเภอและชมทิวทัศน์ในแม่น้ำที่แพ หน้าที่ว่าการได้พลาดตกลงน้ำเสียงดังตูม ชาวบ้านจึงเรียกท่าแห่งนั้นว่า "ท่าตูม" และเนื่องจากท่าแห่งนั้นเป็นที่ตั้งอำเภอด้วย จึงเรียกที่ว่าการอำเภอท่าตูมมาจนติดปาก

ต่อมาสมัยสงครามเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2498) ทางราชการมีคำสั่งให้อำเภอจัดทำสนามบินฉุกเฉิน อำเภอได้แผ้วถางที่สาธารณะ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าตูมเป็นสนามบิน หลังจากสิ้นสงครามทางคณะกรรมการอำเภอเห็นว่า ที่ว่าการอำเภอดั้งเดิมอยู่กลางชุมชนมีความแออัดคับแคบ ขยายส่วนราชการต่าง ๆ ไม่ได้ จึงได้ย้ายมาตั้งที่สนามบิน (บริเวณอำเภอปัจจุบัน) และเนื่องจากการเรียกกันจนติดปากว่าอำเภอท่าตูม จึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภออุดรสุรินทร์ มาเป็น '''อำเภอท่าตูม'''
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==