ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะละกอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 140:
แมลงวันที่ทำลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลแก่ จึงทำให้หนอนไปฟักเป็นตัวและทำลายเนื้อผลเสียหาย โดยจะพบแมลงวันทองระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายนเป็นส่วนมาก เพราะเป็นช่วงที่ดินชื้น ซึ่งตัวเต็มวัยจัขึ้นมาจากดินเพื่อผสมพันธุ์กัน และวางไข่ได้หลายจุด โดยช่วงที่ทำความเสียหายให้เกษตรกรมากที่สุดก็คือระยะที่เป็นหนอน ซึ่งมักจะพบในมะละกอสุก
การป้องกัน แมลงวันทองคือใช้มาลาไธออนฉีดทำลายตัวเต็มวัยและล่อตัวผู้ด้วยเมธธิลยูจีนอนผสมยาฆ่าแมลง จำพวกมาลาไธออน ในอัตราส่วน 1:1 หรือห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสียจากเมลง ออกจากแปลงปลูก ฝังดินหรือเผาไฟ เพื่อทำลาย
 
<br />
 
 
<br />
โรคราแป้ง
* ลักษณะอาการ
จะสังเหตุได้จากบนใบและผลที่มีสีเขียว ซึ่งจะเกิดเป็นคราบฝุ่นของเชื้อราซึ่งมีลักษณะเป็นขุยสีขาว ๆ คล้ายแป้ง โดยที่บนก้านใบและผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วง หรือเสียรูปยอดชงักการเจริญเติบโต ผลที่อ่อนมาก ๆก็จะร่วง ส่วนผลโตแล้วจะมีผิวแห้งกร้าน และขรุขระไม่สวยงาม ส่วนก้านก็จะมีสีเทาจาง ๆ โดยที่แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน
* สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
เกิดจากเชื้อรา Oidium sp โดยจะสร้างสปอร์ที่สามารถปลิวได้ตามลมจึงแพร่ระบาดไปได้ไกล โดยจะมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว
* การป้องกันและกำจัด
ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรครา เช่น เบโนมีล 10 วันต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนแคพ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
<br />
โรคโคนเน่า
* ลักษณะอาการ
โรคโคนเน่าจะพบได้ทั้งที่รากและโคน ลำต้น อาการเน่าที่โคนต้น จะเน่าบริเวณระดับดิน และหากแผลลุกลามมากขึ้นจะเห็นอาการที่ใบ คือใบเหี่ยวและเหลือง ต้นตายหรือล้มได้ง่ายมาก เพราะเมื่อโคนลำต้นเน่าก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละตามไปด้วยหมดไม่มีส่วนแข็งแรงเลย
* สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora ซึ่งพบมากในฤดูฝน เพราะเชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน โดยเมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีความชื้นสูงโดยที่สปอร์จะไหลไปกับน้ำและเข้าทำลายต้นอื่นๆ
* การป้องกันและกำจัด
ควรจัดระบบให้มีการระบายน้ำที่ดีเพราะ โรคนี้จะเกิดได้ง่ายในที่น้ำท่วมขัง เพราะฉะนั้นหากอาการมีของโรคเกิดขึ้นก็ควรถอนขุดทำลาย หรือถ้าพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำลายแล้วก็ควรงดด้วยสารเคมี เช่น เมธาแลคซีล 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฟอสเอ็ทธิลอลูมินั่ม 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือจะถากส่วนที่เป็นโรคออก แล้วใช้สารเคมีดังกล่าว แต่เพิ่มความเข้มข้นขึ้น
 
 
<br />
โรคแอนแทรคโนส
* ลักษณะอาการ
ในผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่เป็นผลแก่จะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลกระจายเป็นวงกลม แต่ในผลใกล้สุกจะมีความหวานมากขึ้น เนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดเจนคือ แผลกลมบุ๋มและเป็นวงซ้อน ๆ กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด
* สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) ซึ่งเชื้อราชนิดนี้ทำลายทั้งใบอ่อนและผล โดยสปอร์ราจะแพร่ระบาดไปยังผลมะละกอต้นเดียวกันและต้นอื่น ๆ รวมถึงในภาชนะบรรจุผลมะละกอได้ง่าย โดยการสัมผัสติดไป หรือมีลมเป็นตัวนำเชื้อโรค
* การป้องกันและกำจัด
ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแมนโคเซบ แคบแทน 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
 
<br />
การเก็บเกี่ยว
ผลของมะละกอจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ เมื่ออายุประมาณ 7 – 8 เดือน และทยอยให้ผลเรื่อยๆ โดยระยะเวลาของอายุมะละกอจะขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา หากยิ่งอายุมากขึ้นตำแหน่งของผลก็จะยิ่งสูงขึ้นทำให้การเก็บเกี่ยวไม่สะดวก จึงนิยมเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1 – 2 ปี แล้วจึงทำการปลูกใหม่ ผลผลิตมะละกอจะได้ประมาณ 3 – 4 ตันต่อไร่ ถ้าใช้ระยะ 4 X 4 เมตร
การเก็บเกี่ยว จะใช้มีดหรือกรรไกรตัดขั้วผลมะละกอให้ติดต้น และตัดขั้วผลภายหลัง โดยห้ามใช้มือบิดผลเด็ดขาดเพราะจะทำให้ขั้วช้ำ และอาจทำให้เชื้อราเข้าทางขั้วที่ติดต้นรวมถึงทำให้ต้นเน่าเสียหายได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่มีผิวส้มประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวผล ผลที่เก็บควรใส่เข่งที่กรุด้วยกระดาษหลาย ๆ ชั้น หรือกล่องกระดาษ ระวังไม่ให้ยางเปื้อนผิว ติดผล และวางเข่ง หรือกล่องไว้ในที่ร่มเคลื่อนย้ายไปที่ต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง
การปลูกมะละกอให้ได้ผลที่มีคุณภาพดี ต้องมีการดูแลตั้งแต่ต้นกล้ามะละกอยังเล็กจนกระทั่งขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผล
# เก็บใบและต้นที่แห้งออกไปเผาทำลาย
# หลุมปลูก ต้องมีการระบายน้ำดี และมีอาหารอุดมสมบูรณ์
# มีการให้ปุ๋ยเพิ่ม และป้องกันโรคแมลงอย่างต่อเนื่อง
# มีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงติดผลและผลเจริญ
# ทำลายวัชพืชและพืชอาศัยของโรคแมลงในบริเวณใกล้เคียงไม่ให้มารบกวน
# ต้นกล้า ต้องแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่อยู่ในถุงนานเกินไป
# เก็บเกี่ยวผลเมื่อเริ่มผลมีสีเหลืองประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผล
# ช่วงต้นให้ตรวจดูว่ามีไร เพลี้ยไฟ หรือโรคจุดเข้าทำลายหรือไม่
# ใช้ยาป้องกันกำจัดมดเพื่อป้องกันมดคาบเพลี้ยหอย ทุก 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มะละกอ"