ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะละกอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 119:
# ในอุตสาหกรรมทอผ้า จะใช้ปาเปนฟอกไหมให้หมดเมือก
# ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ
 
== โรค แมลง การป้องกันและกำจัด ==
 
การดูแลและป้องกันโรคมีความสำคัญมากในการปลูกมะละกอเพื่อการค้า โรคหลายชนิดอาจทำให้ผลผลิตที่ได้ขาดคุณภาพ และอาจทำให้ต้นมะละกอตายได้ ดังนั้นการป้องกันและการกำจัดโรคจึงมีความจำเป็นอย่างมาก โดยโรคที่พบในมะละกอส่วนใหญ่ ได้แก่
<br />
เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก มี 6 ขามีลำตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่จะมีปีกขาวบนหลัง จึงบินได้และปลิวไปตามลมได้ด้วย มักระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงตลอดฤดูแล้ง โดยอาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีน้ำตาล ถ้าเป็นกับผลจะทำให้ผลกร้านเป็นสีน้ำตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบ ถ้าพบอาจใช้น้ำฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป หรือใช้ยาฆ่าแมลงพวกไดเมธโธเอทหรือโมโนโครโตฟอส ฉีด 2 – 3 ครั้งทุก 5 – 7 วัน
<br />
ไรแดง
ไรแดงเป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา อาการของโรคจะทำให้ผิวใบเกิดเป็นฝ้าด่าง เมื่อดูใกล้ ๆ จะพบตัวไรสีคล้ำ ๆ อยู่เป็นจำนวนมากเดินกระจายไม่ว่องไว อาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูทางธรรมชาติของไรแดงคือ ด้วงเต่าเล็ก ถ้ามีการระบาดเป็นจำนวนมากให้ใช้ไดโคโฟต เช่น เคนเทน ไดโคล อัตรา 30 – 40 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
<br />
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงปากดูดศัตรูตัวสำคัญชนิดหนึ่งของมะละกอ สัณนิฐานว่า เป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคนี้จะทำให้ต้นกล้ามะละกอ มีอาการใบด่างผิดปกติ มีขนาดเล็กลงซีด ต่อมาใบร่วงและทำให้ต้นตาย
ต้นที่โตแล้วจะมีอาการยอดเหลือง ใบมีขนาดเล็ก ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้นหรือก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม มะละกอจะให้ผลผลิตน้อยหรือไม่ให้ผลเลย
<br />
แมลงวันทอง
แมลงวันทอง เป็นแมลงวันที่ทำลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก่ทำให้หนอนไปฟักเป็นตัวทำลายเนื้อผลเสียหาย แมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงดินชื้นที่ตัวเต็มวันขึ้นมาจากดินผสมพันธุ์กัน และวางไข่ได้หลายจุด ช่วงที่ทำความเสียหายให้เกษตรกรมากที่สุดคือระยะที่เป็นหนอน ซึ่งมักจะพบในมะละกอสุก
การป้องกัน ใช้มาลาไธออนฉีดพ่นทำลายตัวเต็มวันและล่อตัวผู้ด้วยเมธธิลยูจีนอนผสมยาฆ่าแมลง จำพวกมาลาไธออน ในอัตราส่วน 1:1 หรือห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสียจากเมลง ออกจากแปลงปลูก ฝังดินหรือเผาไฟ เพื่อทำลาย
 
 
 
<br />
โรคราแป้ง
* ลักษณะอาการ
อาการจะปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว โดยเกิดเป็นคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาว ๆ คล้ายแป้งที่บนก้านใบและผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วง หรือเสียรูปยอดชงักการเจริญเติบโต ผลที่อ่อนมาก ๆ จะร่วง ส่วนผลโตจะมีผิวกร้าน และขรุขระไม่น่าดู ส่วนก้านจะมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน
* สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
เกิดจากเชื้อรา Oidium sp โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โดยจะมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว
* การป้องกันกำจัด
ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรครา เช่น เบโนมีล 10 วันต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนแคพ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
<br />
โรคโคนเน่า
* ลักษณะอาการ
อาการของโรคพบทั้งที่รากและโคน ลำต้น อาการเน่าที่โคนต้น จะเน่าบริเวณระดับดิน แผลลุกลามมากขึ้นจะปรากฏอาการที่ใบ ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุด เพราะเมื่อโคนลำต้นเน่าก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมดไม่มีส่วนแข็งแรงเลย
* สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับน้ำเข้าทำลายต้นอื่น
* การป้องกันกำจัด
ถ้าหากมีน้ำท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นโรคนี้ได้ง่าย การจัดระบบให้มีการระบายน้ำที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้นเมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอนขุดทำลาย ถ้าตรวจพบโรคนี้เริ่มเข้าทำลายก็ควรงดด้วยสารเคมี เช่น เมธาแลคซีล 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฟอสเอ็ทธิลอลูมินั่ม 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือจะถากส่วนที่เป็นโรคออก แล้วด้วยสารเคมีดังกล่าว แต่เพิ่มความเข้มข้นขึ้น
 
 
<br />
โรคแอนแทรคโนส
* ลักษณะอาการ
อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่เป็นผลแก่จะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลลุมลามเป็นวงกลมผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น เนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดเจนคือ แผลกลมบุ๋มและเป็นวงซ้อน ๆ กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด
* สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อราชนิดนี้ทำลายทั้งใบอ่อนและผล สปอร์ราจะแพร่ระบาดไปยังผลมะละกอต้นเดียวกันและต้นอื่น ๆ ตลอดจนในภาชนะบรรจุผลมะละกอได้ง่าย โดยการสัมผัสติดไป หรือลมเป็นตัวนำเชื้อโรค
* การป้องกันกำจัด
ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแมนโคเซบ แคบแทน 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
 
<br />
การเก็บเกี่ยว
มะละกอจะมีผลให้เก็บเกี่ยวได้ เมื่ออายุประมาณ 7 – 8 เดือน และทยอยให้ผล การที่มะละกอจะมีอายุยืนยาวแค่ไหนขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ยิ่งอายุมากขึ้นตำแหน่งของผลก็จะยิ่งสูงขึ้นทำให้การเก็บเกี่ยวไม่สะดวก จึงนิยมเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1 – 2 ปี แล้วจึงทำการปลูกใหม่ ผลผลิตมะละกอจะได้ประมาณ 3 – 4 ตันต่อไร่ ถ้าใช้ระยะ 4 X 4 เมตร
การเก็บเกี่ยว ให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดขั้วผลมะละกอให้ติดต้น และตัดขั้วผลภายหลัง ห้ามใช้มือบิดผลเพราะจะทำให้ขั้วช้ำ อาจทำให้เชื้อราจะเข้าทางขั้วที่ติดต้นและทำให้ต้นเน่าเสียหายได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่มีผิวส้มประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวผล ผลที่กับควรใส่เข่งที่กรุด้วยกระดาษหลาย ๆ ชั้น หรือกล่องกระดาษ ระวังไม่ให้ยางเปื้อนผิว ติดผล และวางเข่ง หรือกล่องไว้ในที่ร่มเคลื่อนย้ายไปที่คัดขนาด ด้วยความระมัดระวัง
การปลูกมะละกอให้ได้ผลมีคุณภาพของผลดี ต้องมีการดูแลตั้งแต่ต้นกล้ามะละกอยังเล็กจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล
# เก็บใบและต้นที่แห้งออกไปเผาทำลาย
# หลุมปลูก มีการระบายน้ำดี มีอาหารอุดมสมบูรณ์
# มีการให้ปุ๋ยเพิ่ม และป้องกันโรคแมลงอย่างต่อเนื่อง
# ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงติดผลและผลเจริญ
# ทำลายวัชพืชและพืชอาศัยของโรคแมลงในบริเวรใกล้เคียงไม่ให้มารบกวน
# ต้นกล้า ต้องแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่อยู่ในถุงนานเกินไป
# เก็บเกี่ยวผลเมื่อเริ่มมีสีเหลืองประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผล
# ช่วงตอนให้ตรวจดูว่ามีไร เพลี้ยไฟ หรือโรคจุดเข้าทำลายหรือไม่
# ใช้ยาป้องกันกำจัดมดเพื่อป้องกันมดคาบเพลี้ยหอย ทุก 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
 
 
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มะละกอ"