ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮอสท์-เว็สเซิล-ลีท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
'''ฮอสท์-เวสเซิล-ลีด''' ({{lang-de|Horst-Wessel-Lied}}, "เพลงฮอสท์ เวสเซิล") หรือที่รู้จักจากคำขึ้นต้น '''"ดีฟาเนอฮอค"''' ({{lang-de|Die Fahne hoch}}, "ธงอยู่สูงเด่น") เป็นเพลงประจำ[[พรรคนาซี]]ตั้งแต่ ค.ศ. 1930 - 1945 และใช้เป็น[[เพลงชาติ]]ร่วมของ[[นาซีเยอรมนี]] ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 - 1945 และเป็นเพลงชาติเยอรมนีร่วมกับเพลง "[[ดัสลีดแดร์ดอยท์เชิน]]" บทแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 - 1945<ref>Geisler, [http://books.google.com/books?id=CLVaSxt-sV0C&pg=PA71 p.71.]</ref>
 
เนื้อร้องของเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1929 ที่เขตฟรีดริชซ์ไฮน์ [[กรุงเบอร์ลิน]] [[ประเทศเยอรมนี]] โดย[[ฮอสท์ เวสเซิล]] ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหว[[ลัทธินาซี]]และเป็นผู้บัญชาการกองพลวายุ "[[ชตูร์มับไทลุง]]" (Sturmabteilung) หรือ "เอสอา" (SA) ระดับท้องถิ่น ต่อมาเมื่อเวสเซิลถูกสมาชิกอัลเบรชต์ เฮอเลอร์ (Albrecht Höhler) [[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเยอรมนี]]คนหนึ่งสังหารอย่างอุกอาจใน ค.ศ. 1930 [[โจเซฟ เกิบเลส์]] ได้ดำเนินการทำให้เขาเป็นมรณสักขีแห่งขบวนการพรรคนาซี เพลงนี้จึงได้มีการบรรเลงครั้งแรกในงานศพของเวสเซิลเอง และหลังจากนั้นก็ได้ถูกนำใช้อย่างเข้มข้นในการดำเนินกิจกรรมของพรรค เช่น การขับร้องเพลงนี้ของหน่วยเอสเอระหว่างการเดินแถวตามท้องถนน เป็นต้น
 
เมื่อพรรคนาซีเถลิงอำนาจในปี [[ค.ศ. 1933]] เพลง "ฮอสท์-เวสเซิล-ลีด" ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นสัญลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่งตามกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ [[19 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1933]] ในปีถัดมาจึงมีการออกข้อบังคับให้มีการชูแขนขวาทำ "[[การสดุดีฮิตเลอร์]]" เมื่อมีการขับร้องเพลงนี้ในบทที่ 1 และบทที่ 4 (ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน) ในตอนท้ายของภาพยนตร์เรื่อง "[[ทรีอุมฟ์เดสวิลเลนส์|ทรีอุมฟ์เดสวิลเลนส์ - ชัยชนะแห่งเจตจำนง]]" ของ[[เลนี รีเฟนสทาล]] (ภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อของพรรคนาซี) ซึ่งเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1935 จะพบว่าบรรดาผู้นำของพรรคนาซีมีการร่วมร้องเพลง "ฮอสท์-เวสเซิล-ลีด" อยู่ด้วย
 
หลังระบอบนาซีล่มสลายใน [[ค.ศ. 1945]] "ฮอสท์-เวสเซิล-ลีด" ได้กลายเป็นเพลงต้องห้าม ทั้งเนื้อร้องและทำนองเพลงดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมายทั้งใน[[ประเทศเยอรมนี]]และ[[ออสเตรีย]]จนทุกวันนี้ เว้นแต่ใช้เพลงเพื่อการศึกษาและวิชาการเท่านั้น
 
== เนื้อร้อง ==