ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
คมชัดลึกได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีวิวัฒนาการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด ด้วยเทคนิคทางการตลาดที่ใช้พรีเซ็นเตอร์ชูคอนเซ็ปต์เด็กขายหนังสือพิมพ์ และมีสโลแกนทำนอง "คมมั้ย... คมมั้ย... คมมั้ย... คม" ซึ่งกลายเป็นวลีติดปากของคนทั่วไป ผนวกกับการที่เนชั่นกรุ๊ปมีพันธมิตรสปอนเซอร์มากมาย จากประสบการณ์ในการทำสื่อด้านธุรกิจ โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ เช่น เดอะเนชั่น กรุงเทพธุรกิจ จนทำให้ผลสำรวจในปีแรกหนังสือพิมพ์คมชัดลึกมียอดจำหน่ายสูงเป็นอันดับ 3 รองจากเดลินิวส์ และไทยรัฐ
 
=== กรณีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ===
นสพ.คมชัดลึก ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการตีพิมพ์ข้อความคำปราศรัยของนาย[[สนธิ ลิ้มทองกุล]] ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์[[ผู้จัดการ]] และแกนนำ[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] ในฉบับประจำวันที่ [[24 มีนาคม 2549]] ที่พูดถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลชุด [[พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น อย่างขาดตกบกพร่องบางประโยค ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดเป็นจำนวนมาก จนนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนายสนธิ และ นสพ.คมชัดลึกในหลายพื้นที่
 
ทั้งนี้ นสพ.คมชัดลึก ได้แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการสั่งให้ออกพนักงานทีมข่าวหน้า 1 โทษฐานประมาทเลินเล่อ และนาย[[ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์]] ลาออกจากการเป็นบรรณาธิการบริหาร นสพ.คมชัดลึก เพื่อแสดงความรับผิดชอบ พร้อมทั้งทำหนังสือต่อ[[สำนักราชเลขาธิการ]] เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษต่อ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] จากการตีพิมพ์ข้อความที่ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ทั้งนี้ได้ตีพิมพ์หนังสือลงในหน้าหนึ่ง ของ นสพ.คมชัดลึก ฉบับประจำวันที่ 29 มีนาคม 2549
 
จวบจนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันที่ [[30 มีนาคม 2549]] ประชาชนจากกลุ่ม[[คาราวานคนจน]] ที่ปักหลักชุมนุมเพื่อสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ถูกขับไล่ในขณะนั้น ออกเดินทางโดยขนมวลชนขึ้นรถตู้และรถสิบล้อจาก[[สวนจตุจักร]] ปิดล้อม[[อาคารเนชั่นทาวเวอร์]] [[ถนนบางนา-ตราด]] ซึ่งเป็นที่ทำการของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก และสื่อใน[[เครือเนชั่น]] โดยแกนนำกลุ่มคาราวานคนจนประกอบด้วยนาย[[คำตา แคนบุญจันทร์]] นาย[[อรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ]] นาง[[สอิ้ง ไถวสินธุ์]] ร่วมกับแกนนำฝ่ายสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ประกอบด้วยนาย[[ชินวัฒน์ หาบุญพาด]] นายกสมาคมพิทักษ์ผลประโยชน์ผู้ขับรถแท็กซี่ และนาย[[ชูพงศ์ ถี่ถ้วน]]
 
โดยการกระทำของอ้างกลุ่มขบวนการของตนเองว่า [[กลุ่มชาวไทยผู้จงรักภักดี]] ตัดสินใจปิดล้อมทางเข้าออกของอาคาร กักขังหน่วงเหนี่ยวพนักงานและผู้สื่อข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในอาคาร รวมถึงพูดจาข่มขู่และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่ให้พนักงานเข้า-ออก แม้กระทั่งพนักงาน[[เนชั่นทีวี]] (ขอสงวนชื่อเพื่อความปลอดภัย) ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และผู้สื่อข่าวหญิงประจำ นสพ.[[กรุงเทพธุรกิจ]] (ขอสงวนชื่อเพื่อความปลอดภัย) ที่กำลังตั้งครรภ์ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาพนักงาน[[เครือเนชั่น]]กว่า 212 คนได้เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางนาเพื่อเอาผิดกับการกระทำของแกนนำเหล่านี้
 
เวลาผ่านไปกว่า 7 ชั่วโมง การเจรจาระหว่างกลุ่มดังกล่าวสรุปได้ว่า หนังสือพิมพ์คมชัดลึกขอปิดตัวเองเป็นเวลา 5 วัน นาย[[ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์]] บรรณาธิการบริหารในขณะนั้น ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ สั่งปลดผู้สื่อข่าว และบรรณาธิการข่าวหน้า 1 ในวันเกิดเหตุ และจะต้องลงข่าวระบุว่า กลุ่มคนไทยผู้จงรักภักดีฯ ได้มาชุมนุมเรียกร้องในวันดังกล่าว ตามที่กลุ่มคาราวานคนจนบังคับ
 
เหตุการณ์ในครั้งนี้ [[สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย]] [[สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย]] [[คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ]] นักวิชาการ สื่อมวลชน รวมถึงนิสิต นักศึกษา ได้ยกย่องและให้กำลังใจในการแสดงความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก และประณามการกระทำของกลุ่มมวลชนบางกลุ่มที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง ในการคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชน
 
อนึ่ง ภายหลังจากเหตุการณ์การรวมตัวกันของกลุ่มคาราวานคนจนดังกล่าว นาง[[สอิ้ง ไถวสินธุ์]] หนึ่งในแกนนำกลุ่มคาราวานคนจน ตกเป็นข่าวเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2549 ระบุว่าได้ออกรถอีซุซุ ดีแม็กซ์ป้ายแดง ท่ามกลางข้อครหาของชาวบ้านที่เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคาราวานคนจน ว่าถูกหักหัวคิว และได้รับค่าจ้างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2549 นาย[[เทพพนม ศิริวิทยารักษ์]] ประธานเครือข่ายประชาชนภาคอีสานพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ได้ออกมาระบุว่าเหตุการณ์ในขณะนั้น มีนักการเมืองที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้สั่งการให้ปิดล้อมอาคารเนชั่นทาวเวอร์ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการเผาที่ทำการหนังสือพิมพ์
 
* [http://203.146.129.208/index.php?option=com_content&task=view&id=96&Itemid=91 แถลงการณ์ร่วมสมาคมวิชาชีพสื่อ เรื่อง ขอให้หยุดคุกคามการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน จากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==