ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันติอโศก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Songkran Pakchokdee (คุย | ส่วนร่วม)
Add more information
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ Songkran Pakchokdee (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย พุทธามาต...
บรรทัด 1:
http://www.asoke.info/Book/santi_history/santiasoke_history.html
 
 
“สันติอโศก”
 
๖๕/๑ ซ.นวมินทร์ ๔๔ ถ.นวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
โทร. ๐-๒๓๗๔-๕๒๓๐ โทรสาร ๐-๒๓๗๕-๔๕๐๓
 
๑. ประวัติ “พุทธสถานสันติอโศก”
 
โดยเหตุที่ ‘สมณะโพธิรักษ์’ บวชที่วัดอโศการาม และไปบรรยายธรรม บริเวณ ‘ลานอโศก’ ภายในวัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษดิ์ อยู่เนืองๆ จนได้สมญานามว่า ‘ขวานจักตอก’ ทั้งเมื่อทำหนังสือ ออกเผยแพร่ ตั้งแต่ยุคแรกๆ ได้ใช้ชื่อว่า ‘เรวดียุครุ่งอรุณ ฉบับอโศก’ ส่วนนามปากกา ก็ใช้เป็นอย่างเดียวกันว่า ‘อโศก’ ไม่ว่าใครเขียนก็ตาม
 
ความที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคำว่า ‘อโศก’ หลายสถานะ หลายเหตุการณ์ ดังกล่าว เราจึงได้ จับเอาคำว่า ‘อโศก’ มาเป็นชื่อเรียก ในการร่วมเผยแพร่ธรรมะ ตั้งแต่บัดนั้น จนเกิดกลุ่ม ผู้ปฏิบัติธรรม อันประกอบด้วย นักบวชและฆราวาสขึ้นมา
 
‘ญาติธรรมรุ่นแรก’ ได้ร่วมกันก่อตั้ง สถานที่ปฏิบัติธรรม ชื่อว่า ‘สวนอโศก’ ที่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ถวาย ‘สมณะโพธิรักษ์’ แต่ก็ยัง ไม่เข้ารูปเข้ารอย และไม่ลงตัว ด้วยเหตุหลายประการ
 
ต่อมาจึงย้ายไปที่แห่งใหม่ เรียกชื่อว่า ‘ธรรมสถานแดนอโศก’ ตั้งอยู่ที่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ และได้ใช้สถานที่นี้ อบรม บำเพ็ญธรรม จนกระทั่ง เกิดเหตุการณ์ ที่บีบคั้นมากมาย ทำให้ลำบาก ในการเผยแพร่ธรรมะ
 
สุดท้าย ‘สมณะโพธิรักษ์’ และ ‘หมู่สงฆ์’ จึงต้องตัดสินใจ ประกาศตนเป็น “นานาสังวาส” ตามพระธรรมวินัย เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ ที่ วัดหนองกระทุ่ม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
 
จากนั้น ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้นำพาหมู่กลุ่มมาที่ ‘พุทธสถานสันติอโศก’ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ซึ่งเดิมเป็น “เรือนทรงไทย” หลังใหญ่ ที่คุณสันติยา (กิติยา) วีระพันธุ์ ผู้เป็นเจ้าของ ได้ถวาย ‘สมณะโพธิรักษ์’ ไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ และ “เรือนทรงไทย” หลังนี้เอง คือ จุดกำเนิดของ “วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” ในปัจจุบัน
 
 
“เรือนทรงไทย” ที่คุณสันติยา (กิติยา) วีระพันธุ์ ได้ถวายแด่ ‘สมณะโพธิรักษ์’
คุณสันติยา (กิติยา) วีระพันธุ์
ผู้บริจาคที่ดินพร้อม “เรือนทรงไทย”
เมื่อ ปี ๒๕๑๕
(เสียชีวิตเมื่อ ๑ ต.ค. ๒๕๔๐.
สิริรวมอายุได้ ๗๐ ปี)
ส่วนคำว่า “พุทธสถาน” หมายถึง วัดของชาวอโศก ซึ่งมีอาณาเขต ติดกับเขต ‘ชุมชนบุญนิยม’ ของฝ่ายฆราวาส (ปัจจุบันมี ๙ แห่ง) และคำว่า “สันติ” หมายถึง ความสงบ
 
มูลเหตุที่ทำให้คุณสันติยา (กิติยา) วีระพันธุ์ ถวายที่ดิน พร้อม‘เรือนทรงไทย’ แด่ ‘สมณะโพธิรักษ์’ นั้น คุณสันติยา เคยบอกเล่าไว้ว่า เมื่อคราวที่ชีวิต ประสบความทุกข์ใจ อย่างมาก ได้ลองติดตาม ไปฟังธรรม ที่วัดอาวุธวิกสิตาราม และเกิดศรัทธาเลื่อมใส ประจวบกับ เป็นช่วงที่ กำลังสร้าง ‘เรือนทรงไทย’ หลังนี้ อยู่พอดี จึงแจ้งความประสงค์ ถวายแด่ท่าน เพื่อใช้สอย ให้เกิดประโยชน์ อย่างกว้างขวาง ดีกว่าอาศัยอยู่กันเพียง ไม่กี่คน แล้วคุณสันติยากับลูกๆ ก็ย้ายไปอยู่ ‘เรือนหลังเล็ก’ ที่เคยเป็นที่พัก ของคนงานก่อสร้าง ‘เรือนทรงไทย’ นั่นเอง
 
ทางเข้าด้านหน้าพุทธสถานสันติอโศกสมัยแรก (พ.ศ. ๒๕๑๙)
 
สมัยแรกๆ พื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่ ยังเป็นแอ่งน้ำ และกอหญ้า โดยเฉพาะบริเวณ ด้านหน้า พุทธสถานฯ ต้องปรับปรุง กันเรื่อยมา อาทิ ถมพื้นที่ เพื่อปลูกกุฏิ (ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาต คือ ขนาด ๗x ๑๒ คืบพระสุคต หรือราว ๑.๕ x ๒.๕ เมตร), ซ่อมแซม และ ต่อเติม ตัวเรือน เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยชั้นบน ใช้เป็นโบสถ์ และสถานที่ทำงาน เผยแพร่ธรรมะ ส่วนชั้นล่าง เป็นที่แสดงธรรม, ที่ฉันอาหาร, ที่เก็บเล่ม พับกระดาษ เพื่อทำหนังสือ (สมัยนั้น ยังไม่ใช้ เครื่องจักรมาก เหมือนปัจจุบัน) เป็นต้น เรียกว่าใช้เป็น ‘สถานที่หลัก’ ในการประกอบ กิจวัตร และกิจกรรม
 
 
กุฏิสมัยแรก (พ.ศ. ๒๕๑๙)
 
 
กุฏิปัจจุบัน
 
นับเป็นการถืออุบัติของ “พุทธสถานสันติอโศก” เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๑๙ จากนั้น จึงทยอยเกิด “องค์กร” ต่างๆ นับถึงปัจจุบัน รวม ๘ องค์กร, เกิดกลุ่ม, เกิดชุมชน เครือข่าย เป็น‘ชุมชนพึ่งตนเอง แบบครบวงจร’ ที่มีวิถีชีวิตตาม ‘ระบบบุญนิยม’ มีผลผลิต ของแต่ละ เครือข่าย บริโภคและใช้สอย ภายในชุมชน ผลผลิตส่วนเกิน ก็ได้นำออก เกื้อกูลต่อสังคม (โลกานุกัมปา)
 
 
วิหารพันปีเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ (พ.ศ. ๒๕๓๖)
 
๑.๑ วิหารพันปีเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ
 
ทุกอย่างย่อมเสื่อมไปตามสภาพธรรม ‘เรือนทรงไทย’ หลังใหญ่ ที่ได้รับการใช้ประโยชน์ อย่างมากมาย เพื่อมวลมนุษยชาติ มานาน จึงชำรุดทรุดโทรม และเมื่อ คุณตะวัน สิริวรวิทย์ มาสำรวจ ก็ได้พบว่า เสาเรือน ถูกปลวกกัดกินจนกร่อน น่ากลัวว่า จะพังลงมา จึงได้ประชุมกัน และมีมติ ให้รื้อถอน ‘เรือนทรงไทย’ ออกทั้งหลัง โดยได้เริ่มรื้อถอน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ และก่อสร้าง “วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” ซึ่งออกแบบ โดย คุณอภิสิน ศิวยาธร ขึ้นมาแทนที่
(ตอกเสาเข็ม ลงต้นแรก เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ และยังคง ดำเนินการ ก่อสร้างอยู่ จนทุกวันนี้)
 
 
บรรยากาศ “น้ำตก” ชั้นล่างสุดของวิหารพันปีฯ
‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้กำหนดประเด็น อันเป็นเป้าหมายสำคัญ ในการก่อสร้าง “วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” ไว้เพื่อใช้สอย ให้เป็นประโยชน์ อย่างกว้างขวาง หลายประการ โดยมีแนวคิดว่า
๑. เป็นวิหารเอนกประสงค์ ที่แข็งแรงอยู่ยืนนาน
๒. ใช้ในงานกิจกรรมทางสังคมทั่วไปที่สมควรได้ด้วย
๓. เป็นที่ทำการ (office)
๔. เป็นพระเจดีย์ที่เคารพบูชา
๕. เป็นสถาปัตยกรรมที่มีศิลปะ
๖. มีธรรมชาติสัมพันธ์อย่างเหมาะสม
๗. กล่อมเกลาจิตวิญญาณบูรณาการอารมณ์
 
 
พระเจดีย์ทองคำ บนยอดโดมของพระวิหารพันปีฯ
เมื่อวันกาญจนาภิเษก (๙ มิถุนายน ๒๕๓๙)
อนึ่ง ปี ๒๕๓๙ เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติ เป็นปีที่ ๕๐
 
‘สมณะโพธิรักษ์’ และชาวอโศกทั้งมวล จึงได้ถือเอา “วิหารพันปีเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” อันเป็นที่เคารพ สักการบูชาสูงสุดนี้ เป็นราชสักการะ แด่องค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
 
โดยเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ซึ่งตรงกับ วันวิสาขบูชา ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้นำพา หมู่สงฆ์ ตลอดทั้งญาติธรรม กระทำพิธี อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ และ พระพุทธรูป ปางต่างๆ หลายสมัย รวม ๑๐ องค์ ประดิษฐาน ไว้ในพระเจดีย์ทองคำ จากนั้น ได้อัญเชิญ พระเจดีย์ทองคำ ขึ้นสู่ยอดโดมสูงสุดของ “วิหารพันปีฯ” เพื่อเตรียมเฉลิมฉลอง
 
ส่วนหนึ่งของ พระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ และพระพุทธรูปปางต่างๆ
ที่ประดิษฐาน อยู่ในพระเจดีย์ทองคำ
เมื่อถึงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ อันเป็นวันกาญจนาภิเษก ‘สมณะโพธิรักษ์’ จึงได้พาหมู่กลุ่ม ประกอบพิธี เฉลิมฉลอง มีการสวดมนต์ ทำวัตรเช้า, การแสดงธรรม, การอภิปราย และ กิจกรรมต่างๆ
 
ญาติธรรม ก็ได้ร่วมใจกันเปิด ‘โรงบุญมังสวิรัติ’ หลายร้าน ตลอดทางเข้า ด้านหน้า พุทธสถานฯ และตลอดแนว ในซอย นวมินทร์ ๔๔ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระ อันเป็น มิ่งมหามงคล ครั้งนี้ด้วย
 
“พุทธสถานสันติอโศก” จึงเป็นที่ประดิษฐาน ของสิ่งสักการบูชา อันสูงสุด เป็นส่วนน้อมนำ ให้เกิดจิตศรัทธา เลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา สมดังเจตจำนง ของผู้ถวาย ที่ดินแปลงนี้ คือ คุณสันติยา (กิติยา) วีระพันธุ์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐
 
กาลเวลาผ่านไป ผู้สนใจใฝ่ธรรม ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งลาออกจากงาน มาปฏิบัติธรรม อยู่ประจำที่ พุทธสถานฯ และในชุมชน ต่างช่วยกันทำงาน ที่เป็น “สัมมาอาชีพ” ตามหลัก “อาริยมรรคมีองค์ ๘” จนเกิดหน่วยงานต่างๆ ขึ้นหลายหน่วยงาน ซึ่งดำเนินงาน โดยใช้หลัก ‘บุญนิยม’ ตามที่ท่าน ‘สมณะโพธิรักษ์’ ได้อบรมและพาทำ
 
ปี ๒๕๔๖ ‘สมณะโพธิรักษ์’ พร้อมหมู่สงฆ์ และชาวชุมชนฯ มีมติเห็นสมควร ให้ซื้อที่ดิน ด้านหน้า พุทธสถาน สันติอโศก ตั้งแต่ทาวน์เฮาส์ หน้าพุทธสถานฯ ไปจนถึง อาคารพาณิชย์ ริมถนน นวมินทร์ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์มังสวิรัติ, ร้านกู้ดินฟ้า, ร้านดินอุ้มดาว, บจ.แด่ชีวิต, ร้านธรรมทัศน์สมาคม จากคุณมนัส หลิมขยัน (บุตรชายคนเดียว ของคุณมาลี หลิมขยัน เจ้าของที่ดิน ที่เพิ่งเสียชีวิตไป) มีเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ (๑,๑๗๗ ตารางวา) ภายใต้ “โครงการ ร่วมบุญ ปฐพีพุทธ วิหารพันปี เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ” ซึ่งญาติธรรม ต่างร่วมบุญ ร่วมใจกัน บริจาคตามกำลัง จนในที่สุด โครงการนี้ ก็บรรลุเป้าประสงค์
 
ปัจจุบันพุทธสถานสันติอโศก มีพื้นที่ประมาณ ๑๓ ไร่เศษ.
 
{{Issues|ต้องการอ้างอิง=yes|ไม่เป็นกลาง=yes|ไม่เป็นสารานุกรม=yes}}