ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ. 2352 เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงราชาภิเษกเป็น[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย|พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี]] (ภายหลังได้รับเฉลิมพระนามเป็น '''พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย''') และโปรดเกล้าฯ ให้อุปราชาภิเษก เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ เป็น '''กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์''' ตำแหน่งพระมหาอุปราช ในแผ่นดินรัชกาลที่ 2 เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระบรมเชษฐาหลายประการ อาทิ ทรงจะตรวจข้อราชการจากเสนาบดีกรม กองต่างๆก็ที่จะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมานก่อนทุกครั้ง
 
การศึกสงครามในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงเป็นแม่ทัพหลวงไปรบกับพม่า ย้อนไปสมัยพระเจ้าปดุงทรงทราบว่ารัชกาลที่ 1 ทรงพระชรามาก และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเสด็จสวรรคตแล้ว จึงคิดจะขยายอำนาจเข้ามาเขตสยามประเทศ พระเจ้าประดุงจึงให้อะเติงหวุ่นเป็นแม่ทัพลงมาเกณฑ์พลที่เมืองเมาะตะมะเตรียมตีไทยเป็นการใหญ่ การเตรียมไม่ได้ผลสมคาดจึงได้ระงับการมาตีไทยไว้ก่อนกอปรกับกรุงรัตนโกสินทร์ผลัดแผ่นดิน จากนั้นพม่าจึงคิดมาตีหัวเมืองชายทะเลอีกครั้ง การมาตีสยามครั้งนี้อะเติงหวุ่นไม่ได้มาเองเพียงแต่จัดทัพให้ทัพบกเข้าตีเมืองชุมพรและเมืองไชยา ทัพเรือตีเมืองตะกั่วป่าและเมืองตะกั่วทุ่งแล้วเข้าล้อมเมืองถลาง 27 วัน จึงเข้าตีเมืองถลางได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นแม่ทัพยกไป ทัพกรุงรัตนโกสินทร์ตีทัพพม่าแตกพ่ายกลับไปหมด ผลของการสงครามคือกรุงรัตนโกสินทร์ได้เมืองถลางคืนมา แต่ยับเยินเพราะถูกพม่าเผา นับเป็นการสงครามระหว่างไทยและพม่าครั้งสุดท้ายในสมัยพระเจ้าปดุง
การศึกสงครามสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์เป็นแม่ทัพหลวงไปรบกับ[[พม่า]] และจัดการกับหัวเมืองทางใต้ เมื่อ พ.ศ. 2352 ต่อมาใน พ.ศ. 2357 ทรงเป็นแม่กองตั้งเมืองใหม่เป็นเมืองด่านหน้าทางทะเล พระราชทานชื่อว่า '''[[นครเขื่อนขันธ์]]''' นอกจากนั้นยังทรงปฏิสังขรณ์วัดเก่า 2 วัด คือ วัดลิงขบ พระราชทานชื่อว่า [[วัดบวรมงคล]] และวัดเสาประโคน พระราชทานชื่อว่า [[วัดดุสิตาราม]] และทรงสร้างวัดใหม่ ชื่อว่า [[วัดทรงธรรม]]
 
การศึกสงครามสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์เป็นแม่ทัพหลวงไปรบกับ[[พม่า]] และทรงจัดการกับหัวเมืองทางใต้ เมื่อ พ.ศ. 2352 ต่อมาใน พ.ศ. 2357 ทรงเป็นแม่กองตั้งเมืองใหม่เป็นเมืองด่านหน้าทางทะเล พระราชทานชื่อว่า '''[[นครเขื่อนขันธ์]]''' นอกจากนั้นยังทรงปฏิสังขรณ์วัดเก่า 2 วัด คือ วัดลิงขบ พระราชทานชื่อว่า [[วัดบวรมงคล]] และวัดเสาประโคน พระราชทานชื่อว่า [[วัดดุสิตาราม]] และทรงสร้างวัดใหม่ ชื่อว่า [[วัดทรงธรรม]]
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ทรงอภิเษกกับพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 ขณะพระชนมายุ 44 พรรษา ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศร์ในหมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพประดิษฐานพระบรมศพไว้ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ หลังจากงานพระบรมศพแล้วพระบรมอัฐิถูกอัญเชิญไปประดิษฐานพระบุษบกทรงปราสาทเคียงข้างพระบรมอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศและถูกอัญเชิญมาประดิษฐานอีกครั้งที่หอพระนาคในพระบรมมหาราชวัง และพระบรมอัฐิบางส่วนถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่ท้ายจรนำวัดชนะสงคราม หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีกเลยตลอดรัชกาล ตำแหน่งวังหน้าจึงว่างลงนับแต่บัดนั้น