ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คอมพิวเตอร์กราฟิกส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 2001:3C8:182E:4410:F503:7E9E:5A64:FA59 (พูดคุย) ไปยังรุ่น...
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''คอมพิวเตอร์กราฟิกส์''' (computer graphics) หรือใน[[ศัพท์บัญญัติ]]ว่า '''วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์''' คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ (computing methodology) ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญานต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง
เมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยวเมี๊ยว เมี๊ยวแม่ไอ้แป๊ะเอง
 
มุกิ๊ว
ขั้นตอนแรกเริ่มต้นด้วย[[การสร้างแบบจำลอง]] (modeling) เพื่อแทน[[ความสัมพันธ์]]ของ[[ข้อมูล]]ต่าง ๆ เหล่านั้นให้สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์
ตามด้วย การแปรเป็นภาพสุดท้าย หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า[[เรนเดอร์]] หรือ[[การให้แสงและเงา]] (rendering) เป็นการแปรหรือแสดงผลลัพธ์ทางอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น [[จอภาพ]] หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ออกมาเป็นภาพเชิง[[เรขาคณิต]]มองเห็น [[รูปทรง]] [[สีสัน]] [[ลวดลาย]] [[ลายผิว]] หรือ ลักษณะ[[แสงเงา]] รวมถึง ข้อมูลอื่น ๆ ของภาพ เช่น ข้อมูล[[การเคลื่อนไหว]] การเปลี่ยนแปลง ลักษณะ[[การเชื่อมต่อ]] และ [[ความสัมพันธ์]]ระหว่าง[[วัตถุ]]หรือสิ่งของในภาพ
 
วิชานี้ยังครอบคลุมถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ [[สถาปัตยกรรม]]ของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือ อุปกรณ์ในการนำเข้า และ แสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์ วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น การสร้าง[[ภาพเคลื่อนไหว]]หรือ [[แอนิเมชัน]] งาน[[ภาพยนตร์]] [[เกม]] [[สื่อประสม]]ภาพและเสียง [[ศึกษาบันเทิง]] หรือ ระบบสร้างภาพ[[ความจริงเสมือ]]น เป็นต้น
 
ระเบียบวิธีที่นิยมแบ่งเป็นสองวิธีหลัก คือ การใช้หลักการฉายและการใช้หลักการตามรอยละแสง สำหรับวิธีการสร้างภาพโดยใช้หลัก[[การฉาย]] (projective method) ซึ่งใช้หลัก[[การแปลง]][[พิกัด]]ข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ ในสามมิติ ให้เป็นข้อมูลที่มีพิกัด[[สองมิติ]]แล้วแสดงผลบนอุปกรณ์แสดงผลเช่นจอภาพ เป็นต้น โดยระหว่างการแปลงพิกัดจะมีการคำนวณย่อย เช่น การขริบ (clipping) การขจัดเส้นแฝงผิวแฝง (hidden line/surface removal) และ การทำให้เป็นจุดภาพ (rasterization) เป็นต้น
 
อีกวิธีที่นิยมใช้คือ [[การตามรอยลำแสง]] (ray tracing) ซึ่งเป็นการคำนวณโดยอาศัยหลักไล่ตามรอยทางเดินของแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงมาตกกระทบที่วัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาหรือกล้อง โดยไล่ตรวจสอบย้อนรอยแสง ไปดูค่าความสว่างของวัตถุที่จะแสดงในแต่ละจุดภาพบน[[อุปกรณ์แสดงผล]]
 
== การสะกดคำ ==
ตามหลักทับศัพท์ของ[[ราชบัณฑิต]] กำหนดให้ ใช้ "[[กราฟิก]]" สำหรับคำว่า graphic ซึ่งแปลไทยว่า [[เรขภาพ]] และ ส่วนคำว่าคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ สำหรับ computer graphics ซึ่งการเติมเอส จะแสดงถึงคำว่าศาสตร์วิชา แต่หากรูปไม่เติมเอสจะใช้เป็น[[คำวิเศษณ์]] เช่น ภาพกราฟิก (grpahic image) ภาพเชิงกราฟิก (graphical image) [[ซอฟต์แวร์กราฟิก]] (graphic software) หรือ ส่วนต่อประสานผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI: graphic user interface)
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[เกมคอมพิวเตอร์]] (computer game)
* [[ศึกษาบันเทิง]] (edutainment)
* [[พีชคณิตเชิงเส้น]]
* [[สื่อประสม]] (multimedia)
* [[ความจริงเสมือน]] (virtual reality)
* [[การประมวลผลภาพ]] (image processing)
* [[คอมพิวเตอร์วิทัศน์]] (computer vision)
* [[การรู้จำภาพ]] (image recognition)
* [[การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล]] (digital signal processing)
* [[ไลบรารี]] (library) หรือ คลังสำหรับการแสดงผลภาพ [[GDI]] [[OpenGL]] [[DirectX]]
* [[เนื้อหาดิจิทัล]] (digital content)
* [[ซิกกราฟ]] (siggraph)
 
{{Visualization}}
[[หมวดหมู่:คอมพิวเตอร์กราฟิกส์|คอมพิวเตอร์กราฟิกส์]]
{{โครงคอมพิวเตอร์}}
 
{{Link FA|de}}