ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมไกรสร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 35:
ผลงานของหม่อมไกรสร ทรงมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งในทางการตัดสินคดีความ กำกับกรมวัง ดูแลการจ่ายเบี้ยหวัดประจำปีของ[[พระราชวงศ์]]และ[[ขุนนางไทย|ขุนนาง]]
 
ในปี พ.ศ. 2381 หม่อมไกรสรเป็นตุลาการชำระความคดีเจ้าจอมมารดาอิ่มกับ[[พระสุริยภักดี]] ซึ่งแม้จำเลยทั้งสองคนจะไม่เคยพบกันคุยตัวต่อตัว แต่มีพ่อสื่อแม่ชักเป็นตัวกลางให้ทั้งสองคน แต่ก็ได้รับพิพากษาประหารชีวิตทั้งชายหญิง<ref>เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. ''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3''. (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2538) น. 76.</ref>
 
''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3'' ของ [[เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)]] บันทึกเกี่ยวกับหม่อมไกรสร มีประเด็นคำพิพากษา คือ หม่อมไกรสรประพฤติกำเริบ ทำตนเทียมเจ้าในงาน[[ลอยกระทง]] เกลี้ยกล่อมเจ้านาย ขุนนางและซ่องสุมกองทหาร[[รามัญ]]ไว้เป็นพวกพ้อง แต่ถูกสอบสวนว่าซ่องสุมผู้คนไว้มากเพื่อคิด[[กบฏ]]หรือไม่ หม่อมไกรสรตอบปฏิเสธว่า "ไม่ได้คิดกบฏ" แต่เมื่อถามว่า หากเปลี่ยนแผ่นดินเมื่อไหร่ก็จะไม่ยอมเป็นข้าใคร<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1267432127&grpid=&catid=02 เหตุประหาร "หม่อมไกรสร" เพื่อนยากในรัชกาลที่ 3]</ref> ตุลาการในสมัยนั้นจึงมีคำตัดสินออกมาส่วนหนึ่ง ว่า ''"...กรมหลวงรักษ์ณรเรศมีความผิด ต้องลดอิศริยอิสริยศักดิ์สมญาเป็นหม่อม ตลอดทั้งวงศ์วาน..."''<ref>ภาณุพันธุวงศ์วรเดช, สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยา. ''เรื่องเดิม'', หน้า 117-118. </ref>
 
นอกจากนี้มูลเหตุอีกอย่างหนึ่งที่พระองค์เจ้าไกรสรถูกถอดอิสริยยศคือ ทรงเลี้ยงโขนผู้ชายไว้มากมาย บรรทมอยู่แต่กับพวกโขนละคร ไม่บรรทมกับพวกหม่อมห้ามในวังเลย รัชกาลที่ 3 มีรับสั่งให้เอาพวกโขนละครมาไต่สวน ได้ความสมกันว่า ''"...ทรงเป็นสวาทกับพวกละคร ไม่ถึงกับชำเรา แต่เอามือพวกละครและมือของพระองค์ท่านกำคุยหฐานของทั้งสองฝ่ายจนภาวธาตุเคลื่อน..."'' <ref>นัดดา อิศรเสนา ณ อยุธยา. ''เรื่องเดิม'', หน้า 23. </ref>