ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยางพารา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vilannn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
 
'''ยางพารา''' เป็นไม้ยืนต้น<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ"/> มีถิ่นกำเนิดบริเวณ[[ลุ่มน้ำแอมะซอน|ลุ่มน้ำ]][[แม่น้ำแอมะซอน|แอมะซอน]] [[ประเทศบราซิล]]และ[[เปรู]] [[ทวีปอเมริกาใต้]] โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พรีสต์ลีย์ พบว่ายางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่ายางลบหรือตัวลบ (rubber) ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เท่านั้น ศูนย์กลางของการเพาะปลูกและซื้อขายยางในอเมริกาใต้แต่ดั้งเดิมอยู่ที่[[รัฐปารา]] (Pará) ของบราซิล ยางชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา<ref>[http://www.reothai.co.th/Para1.htm ประวัติยางพารา โดยองค์การสวนยาง]</ref>
 
== การปลูกยางในประเทศไทย ==
การปลูกยางในประเทศไทยไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานที่แน่นอน แต่คาดว่าน่าจะเริ่มมีการปลูกในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2442-2444 ซึ่ง[[พระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี]] (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่[[อำเภอกันตัง]] [[จังหวัดตรัง]] เป็นครั้งแรก ซึ่งชาวบ้านเรียกต้นยางชุดแรกนี้ว่า "ต้นยางเทศา"<ref name="การผลิตยางธรรมชาติ">เสาวณีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี, การผลิตยางธรรมชาติ, 2547, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</ref> และต่อมาได้มีการขยายพันธ์ยางมาปลูกในบริเวณจังหวัดตรังและ[[นราธิวาส]] ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการนำพันธุ์ยางมาปลูกใน[[จังหวัดจันทบุรี]]ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยหลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) เป็นผู้นำพันธุ์ยางมาปลูก และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการขยายพันธุ์ปลูกยางพาราไปทั่วทั้ง 14 จังหวัดในภาคใต้ และ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์ยางมาปลูกในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ยางพาราก็กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก
 
ยางพาราประเภทยางดิบ ผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ยางพารา สามารถทำรายได้การส่งออกเป็นอันดับสองของประเทศ ยางพาราจึงถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการส่งออกยางธรรมชาติมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งในปี พ.ศ. 2543 มีผลผลิตจากยางธรรมชาติประมาณ 2.4 ล้านตัน มีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 124,000 ล้านบาท เดิมพื้นที่ที่มีการปลูกยางส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก แต่ในปัจจุบันมีการขยายการปลูกเพิ่มขึ้นไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยเฉพาะยางพาราจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในเขต[[จังหวัดบุรีรัมย์]]และ[[จังหวัดศรีสะเกษ]] จัดเป็นยางพาราคุณภาพดีไม่ต่างจากแหล่งผลิตเดิมในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกยางทั่วประเทศมีทั้งหมด 55.1 ล้านไร่ แต่พื้นที่ปลูกจริงมีประมาณ 19 ล้านไร่เกษตรกร 1,200,000คน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 4แสนล้านบาท
 
 
== สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การปลูกยางพารา ==
; ''' ปัจจัยทางดิน'''
 
* เป็นพื้นที่ที่ความลาดชันไม่เกิน 35 องศา ถ้าความลาดชันเกินกว่า 15 องศาการปลูกต้องทำแบบขั้นบันได
* หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน
* ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร
* เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงร่วนทราย ไม่เป็นดินเกลือหรือดินเค็ม
* ไม่เป็นพื้นที่นาหรือที่ลุ่มน้ำขัง สีของดินควรมีสีสม่ำเสมอตลอดหน้าตัดดิน
* ดินไม่มีชั้นกรวดอัดแน่นหรือแผ่นหินแข็งในระดับต่ำกว่าหน้าดินไม่ถึง 1 เมตร เพราะจะทำให้ต้นยางไม่สามารถใช้น้ำในระดับรากแขนงในฤดูแล้งได้ และหากช่วงแล้งยาวนานจะทำให้
* ต้นยางตายจากยอดลงไป
* ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร ถ้าสูงกว่านี้อัตราการเจริญเติบโตของต้นยางจะลดลง
* มีค่า pH ระหว่าง 4.5-5.5 ไม่เป็นดินด่าง
 
 
; ''' ปัจจัยทางภูมิอากาศ '''
* ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตรต่อปี
* มีจำนวนวันฝนตก 120-150 วันต่อปี
 
 
== การกรีดยาง ==
เส้น 54 ⟶ 29:
** การกรีดยางชดเชย : วันกรีดที่เสียไปในฤดูฝนสามารถกรีดทดแทนได้แต่ไม่ควรเกินกว่า 2 วันในรอยกรีดแปลงเดิม และสามารถกรีดสายในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. หากเกิดฝนตกทั้งคืน
* การกรีดสาย : เมื่อต้นยางเปียกหรือเกิดฝนตกสามารถกรีดหลังเวลาปกติโดยการกรีดสายซึ่งจะกรีดในช่วงเช้าหรือเย็นแต่ในช่วงอากาศร้อนจัดไม่ควรทำการกรีด
 
 
; ข้อควรระวังในการกรีดยาง
* มีดกรีดยางต้องลับให้คมอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถกรีดเปลือกได้บาง ไม่ต้องออกแรงมาก และหลีกเลี่ยงบาดแผลที่จะทำให้หน้ายางเสีย
* กรีดเปลือกให้บาง ความสิ้นเปลืองเปลือกไม่เกินเดือนละ 2.0-2.5 เซนติเมตร เพื่อให้กรีดได้นานที่สุด
* หยุดกรีดยางต้นที่เป็นโรคเปลือกแห้ง และโรคหน้ายาง
* หยุดกรีดเมื่อต้นยางผลัดใบ
* อย่ากรีดลึกถึงเนื้อไม้ เพราะจะทำให้เปลือกที่งอกใหม่เป็นปุ่มปมจนไม่สามารถกรีดซ้ำได้
 
 
== การใช้ประโยชน์และการแปรรูป ==
ในขั้นต้นยางพาราที่กรีดได้มักจะถูกนำไปแปรรูปเบื้องต้นซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.# ยางแห้ง (ย่างแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง และยางสกิม)
 
2.# ยางน้ำ (น้ำยางข้น หรือยางลาเท็กซ์) ก่อนจะนำไปแปรรูปในขั้นต่อไปซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราพบได้ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น ยางยานพาหนะ ยางยืดและยางรัดของ
1. ยางแห้ง (ย่างแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง และยางสกิม)
 
2. ยางน้ำ (น้ำยางข้น หรือยางลาเท็กซ์) ก่อนจะนำไปแปรรูปในขั้นต่อไปซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราพบได้ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น ยางยานพาหนะ ยางยืดและยางรัดของ
 
ถุงมือยางทางการแพทย์ รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา สายพานลำเลียง ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำ เป็นต้น
 
== โรคและแมลงศัตรูยางพารา ==
 
1. [[โรคใบร่วงและฝักเน่า]]<ref>พูลผล ธรรมธวัช, ยางพารา, เซาเทิร์นรับเบอร์, สงขลา, หน้า 312-314</ref> : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการใบยางร่วงในขณะที่ใบยังสด
 
2. โรคราแป้ง : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการปลายใบอ่อนบิดงอ เปลี่ยนเป็นสีดำและร่วง ใบแก่มีปุยสีขาวเทาใต้ใบ เป็นแผลสีเหลืองก่อนที่จะเป็นเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล
 
== ปัญหาราคายางพาราในไทย ==
ในช่วงที่ผ่านมามีการประท้วงโดยเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในไทย เนื่องจากสาเหตุที่ราคายางในไทยตกต่ำอย่างน่าเป็นห่วง ปัญหาหลักเกิดจากอุปทานยางพาราในโลกเพิ่มสูงขึ้น ประเทศจีนซึ่งผู้บริโภคยางพาราอันดับ 1 ของโลกและเป็นผู้นำเข้ายางพาราอันดับ 1 ของไทย ได้มีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งในและต่างประเทศ (กลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ในประเทศตัวเอง ทำให้มียางพาราออกมาสู่ตลาดอย่างมากมาย บทบาทของไทยในตลาดยางพาราโลกก็ลดลง ดังนั้นในอนาคตยังเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงถึงสถานการณ์ราคายางพาราในไทยที่ยากที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้เหมือนในอดีต
 
 
''' สถิติสำคัญทางเศรษฐกิจ '''
 
{| class="wikitable sortable"
|-
!หัว!!2008!! 2009!! 2010!! 2011!! 2012!! 2013!!class="unsortable"|
|- style="text-align:center;"
||มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)|| [[223,628.25]]||[[146,263.60]]||[[ 249,262.50]]|| [[383,318.60]]|| [[270,153.85]]|| [[249,288.97]]|| style="text-align:center;"|
|- style="text-align:center;"
||จำนวนยางพารา (ตัน)|| [[3,166,910]]||[[3,090,280]]||[[3,051,781]]|| [[3,348,897]]|| [[3,625,295]]|| [[3,862,996]]|| style="text-align:center;"|
|- style="text-align:center;"
||พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)|| [[16,716,945]]||[[17,254,317]]||[[18,095,028]]|| [[18,461,231]]|| [[NA]]|| [[NA]]|| style="text-align:center;"|
|- style="text-align:center;"
||ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม))|| [[278]]||[[266]]||[[253]]|| [[262]]|| [[263]]|| [[255]]|| style="text-align:center;"|
|}
 
 
== ตัวอย่างนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางราคา ==
 
 
1. วิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตและคุณภาพของยางพารา
 
2. พัฒนาตลาดและสิ่งอำนวยความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยนยางพาราในราคาเป็นธรรม
 
3. วิจัยพัฒนาการเพิ่มมูลค่ายางพารา
 
4. จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรยางพารา
 
5. ร่วมกลุ่มกับกลุ่มประเทศผู้ปลูกยางเพื่อเพิ่มขีดจำกัดในการต่อรอง
 
 
 
== ระเบียงภาพ ==
เส้น 129 ⟶ 52:
[[หมวดหมู่:พืชเศรษฐกิจ]]
[[หมวดหมู่:วงศ์ยางพารา]]
 
Rubber research institute of Thailand. Thai’s rubber development strategy (2009-2013).
 
http://www.rubberthai.com/about/strategy.php (22/8/2014)
 
Rubber History. Office of the rubber replanting aid fund.
 
http://www.rubber.co.th/ewtadmin/ewt/rubber_eng/ewt_news.php?nid=1198 (22/8/2014)
 
The Thai rubber association. Thai rubber statistic.
 
http://www.thainr.com/th/?detail=stat-thai (22/8/2014)
 
http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/para/used/01-03.php