ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลื่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
XenonX3 (คุย | ส่วนร่วม)
วรวรรณ ชื่นบุญ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 83:
** [[รังสีอินฟราเรด]] หรือรังสีใต้แดง
* [[คลื่นสนามแรงโน้มถ่วง]] ([[:en:gravitational wave]]) (ต่างจาก[[คลื่นจากแรงโน้มถ่วง]] ([[:en:gravity wave]]) ซึ่งเป็นคลื่นในของไหล)
ในชีวิตประจำวันคลื่นมีอยู่มากมายเช่น คลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นแสง เป็นต้น ซึ่งคลื่นเกิดขึ้นได้อย่างไร เราตอบปัญหานี้ได้ โดยพิจารณาคลื่นน้ำเป็นตัวอย่าง เช่น การวางเศษไม้ หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ลงบนผิวน้ำ แล้วเราโยนก้อนหิน หรือตีน้ำทำให้เกิดคลื่น จะสังเกตเห็นเศษไม้ หรือวัสดุจะกระเพื่อมขึ้นลงอยู่กับที่ แต่จะไม่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่น แสดงให้เห็นว่า การเกิดคลื่นเป็นการถ่ายโอนพลังงานโดยผ่านโมเลกุลของน้ำ ซึ่งโมเลกุลของน้ำ ( ตัวกลาง ) จะไม่เคลื่อนที่ไปกับคลื่น ปรากฏการณ์เช่นนี้สรุปได้ว่าวัตถุได้รับพลังงานมาจากคลื่น เราจึงสรุปได้ว่าคลื่นเกิดจากการรบกวนตัวกลาง( ในที่นี้คือน้ำ)ซึ่งสิ่งที่คลื่นพาไปคือพลังงานในรูปของการสั่น และสิ่งที่รบกวนตัวกลางเราเรียกว่าแล่งกำเนิดคลื่น
ชนิดของคลื่น
ชนิดของคลื่น
จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น
2. คลื่นกล (Mechanical wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ เช่น คลื่นเสียง คลื่นที่ผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก คลื่นสปริง เป็นต้น
จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่ของอนุภาคของตัวกลางที่ถูกรบกวน แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1. คลื่นตามขวาง (Transverse waves) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นแสง คลื่นในเส้นเชือก คลื่นที่ผิวน้ำ
2. คลื่นตามยาว (Longitudinal waves) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง คลื่นในสปริง
จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่นหรือการรบกวน แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. คลื่นดล (Pulse waves) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเพียงครั้งเดียว
2 คลื่นต่อเนื่อง (Continuous waves) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเป็นจังหวะต่อเนื่องหลายๆครั้ง
 
 
 
 
== อ้างอิง ==
* [http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/88/wave.html คลื่น] คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคล
* [http://oho.ipst.ac.th/bookroom/snet3/saowalak/wave/wave.htm ปรากฏการณ์คลื่น]
www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_1.htm
 
หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ : ฟิสิกส์ ม.4-6 ช่วงชั้นที่ 4 กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ 2549 หน้าที่ 154-156
[[หมวดหมู่:คลื่น|คลื่น]]
[[หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/คลื่น"