ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาวุธนิวเคลียร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Padsohot1 (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขของเดิมเพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Padsohot1 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Horus
บรรทัด 1:
{{กึ่งล็อก|small=yes}}
=='''''ประวัติการสร้าง'''''==
[[ไฟล์:Nagasakibomb.jpg|thumbnail|250px|[[เมฆรูปเห็ด]]สูง 18 กิโลเมตร ที่เกิดจากอาวุธนิวเคลียร์ ที่ถล่ม[[ฮิโรชิมา|เมืองฮิโรชิมา]]และ[[นางาซากิ]]ของ[[ประเทศญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]] เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลาย[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]]]
1938 [http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/atom/index/chap5/index2.htm อ็อตโตฮาห์น (otto hahn)] บิดาแห่งนิวเคลียร์ และ ฟริตซ์ สตราสซ์แมน (Fritz Strassman) เป็นผู้ค้นพบปฏิกริยาฟิวชชั่น ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่
ทำให้เกิดเป็นระเบิดนิวเคลียร์ระเบิดนิวเคลียร์เกี่ยวข้องอยู่กับแรงที่ยึดเหนึ่ยวอนุภาคต่างๆไว้ในนิวเคลียส แรงนี้มีค่ามหาศาล
เรามีวิธี 2 วิธีที่จะดึงพลังงานจากอะตอมออกมาได้ดังนี้
* 1. นิวเคลียร์ฟิชชั่น แยกนิวเคลียสขนาดใหญ่ให้เป็นนิวเคลียสขนาดเล็ก พร้อมกับได้อนุภาคนิวตรอนจำนวนหนึ่ง วิธีนี้ใช้ได้กับไอโซโทปของยูเรเนียม 235 ยูเรเนียม 233 และพลูโตเนียม 239
* 2. นิวเคลียร์ฟิวชั่น รวมนิวเคลียสขนาดเล็กอย่างน้อย 2 อันให้เป็นนิวเคลียสขนาดใหญ่ โดยทั่วไปใช้กับไอโซโทปของไฮโดรเจน (ดิวทีเรียม และทริเทียม) วิธีนี้เป็นวิธีเดียวกันกับที่ดวงอาทิตยให้พลังงานออกมา
[[File:ฟิวชั่น.jpg|thumb|left|500px]]
 
'''อาวุธนิวเคลียร์''' เป็นวัตถุระเบิดซึ่งอำนาจทำลายล้างมาจาก[[ปฏิกิริยานิวเคลียร์]] ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยา[[ฟิชชัน]] หรือฟิชชันและ[[ฟิวชัน]]รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับ[[ทีเอ็นที]]ประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน
 
อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดระเบิดทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็น[[อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง]] และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถืแกำเนิดขึ้น
 
มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 วัตถุประเภทจุดระเบิดยูเรเนียม (uranium gun-type) ชื่อรหัสว่า "[[ลิตเติลบอย]]" ถูกจุดระเบิดเหนือนคร[[ฮิโรชิมา]]ของญี่ปุ่น อีกสามวันให้หลัง วันที่ 9 สิงหาคม วัตถุประเภทจุดระเบิดภายในพลูโตเนียม (plutonium implosion-type) ชื่อรหัสว่า "[[แฟตแมน]]" ระเบิดเหนือนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตไปประมาณ 200,000 ศพ ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน จากการบาดเจ็บฉับพลันที่ได้รับจากการระเบิด<ref>{{cite web |url = http://www.rerf.or.jp/general/qa_e/qa1.html |title = Frequently Asked Questions #1 |publisher=[[Radiation Effects Research Foundation]] | accessdate = Sept. 18, 2007}}</ref>
 
นับแต่การทิ้งระเบิดฮิโรชิมาและนางาซากิ อาวุธนิวเคลียร์ถูกจุดระเบิดกว่าสองพันโอกาสเพื่อจุดประสงค์ด้านการทดสอบและสาธิต มีเพียงไม่กี่ชาติที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์หรือถูกสงสัยว่ากำลังแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ ประเทศที่ทราบว่าเคยจุดระเบิดอาวุธนิวเคลียร์ และได้รับการรับรองว่าครอบครองอาวุธนิวเคีลยร์ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต (รัสเซียเป็นผู้สืบทอดอำนาจนิวเคลียร์) สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ปากีสถาน และเกาหลีเหนือ นอกเหนือจากนี้ อิสราเอลยังถูกเชื่ออย่างกว้างขวางว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ แต่ไม่ได้รับการรับรองว่ามี<ref name="nuclearweapons1">{{cite web|url=http://www.fas.org/programs/ssp/nukes/nuclearweapons/nukestatus.html |title=Federation of American Scientists: Status of World Nuclear Forces |publisher=Fas.org |date= |accessdate=2010-01-12}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.fas.org/nuke/guide/israel/nuke/index.html |title=Nuclear Weapons – Israel |publisher=Fas.org |date=Jan 8, 2007 |accessdate=2010-12-15}}</ref> รัฐหนึ่ง [[แอฟริกาใต้]] เคยยอมรับว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ที่ทำขึ้นก่อนหน้านี้ในอดีต แต่นับแต่นั้นได้แยกประกอบคลังแสงของตนและส่งให้กับผู้คุ้มครองนานาชาติ<ref>{{cite web|url=http://www.fas.org/nuke/guide/rsa/nuke/index.html |title=Nuclear Weapons – South Africa |publisher=Fas.org |date=May 29, 2000 |accessdate=2011-04-07}}</ref>
 
สหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกาประเมินว่ามีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 20,500 หัวทั่วโลกใน พ.ศ. 2554 โดยมีราว 4,800 หัวถูกเก็บไว้ในสถานะ "ปฏิบัติการ" คือ พร้อมใช้งานได้ทันที<ref name="nuclearweapons1" />
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.intell.rtaf.mi.th/newsdetail.asp?id=1882 กำลังรบนิวเคลียร์โลก Nuclear Forces & Global Nuclear Stockpiles] จาก กรมข่าวทหารอากาศ
* [http://news.bbc.co.uk/2/shared/spl/hi/sci_nat/05/nuclear_fuel/html/mining.stm The Nuclear Fuel Cycle] จาก BBC News / Indepth
* [http://www.nst.or.th/article/article5001/article5001e.htm วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ The Nuclear Fuel Cycle] จาก สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย
 
[[หมวดหมู่:อาวุธนิวเคลียร์]]
[[หมวดหมู่:อาวุธพลังทำลายล้างสูง]]
[[หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา]]
{{โครงเทคโนโลยี}}
 
{{Link FA|ar}}
 
{{Link FA|la}}
 
{{Link FA|sv}}
 
{{Link FA|vi}}
 
{{Link GA|de}}
 
{{Link GA|sv}}
 
 
 
 
 
 
 
 
==''''' ภายในลูกระเบิดนิวเคลียร '''''==
'''ประกอบด้วย'''
• เชื้อเพลิงสำหรับปฏิกิริยาฟิชชั่น และฟิวชั่น
• อุปกรณ์ทริกเกอร์ (triggering)
• นิวตรอนเจนเนอเรเตอร์
ระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกเกิดจากกระบวนการฟิชชั่น และภายหลังจึงได้มีการสร้างระเบิดฟิวชั่น ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการฟิชชั่นมากระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชั่น และฟิวชั่นรวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน
 
 
==''''' ขั้นตอนการระเบิด '''''==
'''ใช้ปืนกระตุ้น'''
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพื่อทำให้มวลที่อยู่ใต้สถานะวิกฤติ เปลี่ยนไปอยู่ในสถานะวิกฤติ โดยใช้ปืนยิงกระสุนเข้าในเม็ดเชื้อเพลิง ของยูเรเนียม -235 ซึ่งล้อมรอบด้วยนิวตรอนเจนเนอร์เรเตอร์ (ตัวให้นิวตรอน) ลูกกระสุนจะบรรจุอยู่ทางด้านบน และถูกแรงระเบิดของเชื้อประทุ ทำให้กระสุนพุ่งลงมาทางด้านล่าง ขั้นตอนเป็นไปตามลำดับดังนี้
• แรงระเบิดจะอัดกระสุนให้พุ่งลงมาทางด้านล่าง
• ลูกกระสุนพุ่งเข้าหาเชื้อเพลิง เวลาเดียวกับนิวตรอนเจนเนอร์เรเตอร์ สร้างนิวตรอน ยิงเข้าไปในนิวเคลียสของยูเรเนียม เชื้อเพลิงเข้าสู่สภาวะวิกฤติ
• ปฏิกิริยาฟิชชั่นเริ่มขึ้น
 
• ระเบิดตูม [[File:TGS.jpg|thumb|left|แสดงการระเบิดของเจ้าหนูน้อย (Little boy) แรงระเบิดมีขนาด 14.5 กิโลตัน เทียบเท่ากับระเบิดไดนาไมต์ 14500 ตัน มีประสิทธิภาพ 1.5 % มีความหมายว่า ต้องเกิดปฏิกิริยาฟิชชั่น 1.5 % จึงจะทำให้เกิดการระเบิดได้
|250px]]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
'''ใช้ระเบิดกระตุ้น'''
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เราสามารถอัดมวลใต้วิกฤติ โดยใช้ระเบิด ซึ่งเป็นหนทางดีที่สุดที่ทำให้มวลเปลี่ยนสถานะไปเป็นมวลวิกฤติได้ อย่างไรก็ตามมีปัญหามากมายเกี่ยวกับความคิดนี้ ว่าจะควบคุมทิศทางของคลื่นกระแทกที่ได้จากระเบิดให้สม่ำเสมออย่างไร ในโครงการแมนฮัตตัน ทางทีมงานสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยทำยูเรเนี่ยม 235 (Temper) เป็นรูปทรงกลมกลวง และแกนกลางเป็นพลูโตเนียม 239 ล้อมรอบ ด้วยดินระเบิด ขั้นตอนของระเบิดเป็นดังนี้
• ทำให้เชื้อระเบิดเกิดการระเบิดขึ้นเพื่อสร้างคลื่นกระแทก
• คลื่นกระแทกจะอัดเชื้อเพลิงพลูโตเนียมด้วยแรงมหาศาล เข้าไปในแกนกลางที่ทำด้วย เบอริลเลียมและโพโลเนียม
ปฏิกิริยาฟิชชั่นเริ่มต้น
• ระเบิดตูม
[[File:Thh.png|thumb|left|250px]]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
==''''' ประวัติการใช้อาวุธนิวเคลียร์ '''''==
มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 วัตถุประเภทจุดระเบิดยูเรเนียม (uranium gun-type) ชื่อรหัสว่า "ลิตเติลบอย" ถูกจุดระเบิดเหนือนครฮิโรชิมาของญี่ปุ่น อีกสามวันให้หลัง วันที่ 9 สิงหาคม วัตถุประเภทจุดระเบิดภายในพลูโตเนียม (plutonium implosion-type) ชื่อรหัสว่า "แฟตแมน" ระเบิดเหนือนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตไปประมาณ 200,000 ศพ ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน จากการบาดเจ็บฉับพลันที่ได้รับจากการระเบิด
 
[[File:Sbobet.jpg|thumb|left|300px]][[File:7dbd.jpg|thumb|right|300px]]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
=='''''แหล่งอ้างอิง'''''==
http://www.rmutphysics.com/…/howstu…/nuclear/nuclearthai.htm