ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Oilcon (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย AlphamaBot
Oilcon (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมหลักการทำงานของโทรศัทน์
บรรทัด 5:
 
เครื่องรับโทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปี[[พ.ศ. 2468]] โดยเป็นผลงานการประดิษฐ์ของ[[จอห์น ลอกกี้ เบรียด]] [[ชาวสกอตแลนด์]]<ref>{{Cite web|url=http://www.pembers.freeserve.co.uk/World-TV-Standards/index.html#Timeline|title=World Analogue Television Standards and Waveforms - section - Timeline|publisher=Histrorical television data 2011|accessdate=29 January 2011}}</ref>
 
== '''การแพร่ภาพโทรทัศน์พื้นฐาน ''' ==
โทรทัศน์ (television)
 
การถ่ายทอดเสียงและภาพพร้อมกันจากสถานที่หนึ่ง หรือเครื่องส่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง หรือเครื่องรับ โดยเครื่องดังกล่าว จะปลี่ยนสัญญาณภาพ
และเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อถ่ายทอดออกไป เรียกว่าเครื่องส่งโทรทัศน์ และเครื่องที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลับเป็นสัญญาณภาพ
และเสียงดังเดิม เรียกว่าเครื่องรับโทรทัศน์
 
โทรทัศน์แอนะล็อก (analog television)
 
โทรทัศน์แอนะล็อก คือ โทรทัศน์ที่มีระบบการรับ ส่งสัญญาณภาพ และเสียงในรูปสัญญาณแอนะล็อกแบบเอเอ็ม (AM) และเอฟเอ็ม (FM) เช่น
โทรทัศน์ที่ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) ระบบพัลล์ (PAL) และซีแคม (SECAM) เป็นต้น
โทรทัศน์ดิจิทัล (digital television)
 
โทรทัศน์ที่มีระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปดิจิทัล ซึ่งหลายช่องสัญญาณที่มีความถี่เดียวกันสามารถนำมาส่งเป็นช่องสัญญาณเดียวกัน
ได้ โทรทัศน์ดิจิทัล จะให้คุณภาพของภาพ และเสียงดีกว่าระบบแอนะล็อก เช่น ระบบ โทรทัศน์ความคมชัดสูง (High Density Television: HDTV)
 
การแพร่ภาพ (television broadcasting)
 
การส่งกระจายภาพ และเสียงออกไป ในรูปสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพ และเสียงได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การแพร่ภาพ
โทรทัศน์ ซึ่งจากเดิม ที่เป็นการแพร่ภาพ แบบไม่จำกัด ผู้รับได้รับการพัฒนา มาเป็นแบบแพร่ภาพ เฉพาะทาง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ ผ่าน
ดาวเทียม การแพร่ภาพโทรทัศน์ ผ่านสื่อนำสัญญาณเฉพาะ สถานที่โดย อาจรวมถึงการแพร่ภาพ ไปถึงเฉพาะผู้รับที่เป็นสมาชิก หรือเคเบิลทีวี
(Cable TV)
สัญญาณซิงโครไนซ์ (synchronized signal)
 
สัญญาณที่ใช้ผสมกับสัญญาณภาพเพื่อให้การสแกนภาพเป็นไปอย่างถูกต้องตรงจังหวะคือเริ่มต้นพร้อมกันและจบ พร้อมกันอันเป็นขั้นตอนของการ
สร้างภาพบนเครื่องรับโทรทัศน์
ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC)
 
ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ย่อมาจาก Nation Television System Committee โดยมีการส่ง ๕๒๕ เส้น ๓๐ ภาพต่อ วินาที อาจเรียกระบบนี้ว่า
ระบบเอฟซีซี (FCC) มีการใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่เคยอยู่ภายใต้ อาณานิคม ของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่
ระบบพัล (PAL)
 
ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ประเภทหนึ่ง ย่อมาจาก Phase Alternative Line หรือเรียกว่า ระบบซีซีไออาร์(CCIR) ซึ่ง เป็นระบบที่พัฒนามาจาก
ระบบโทรทัศน์สีเอ็นทีเอสซี (NTSC) โดยมีการส่ง ๖๒๕ เส้น ๒๕ ภาพต่อวินาที
 
ระบบซีแคม คม (SECAM)
 
ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศฝรั่งเศสย่อมาจาก Se'quantiel Couleur à Me'moire (sequential color with a memory) โดยมีการส่ง
๖๒๕ เส้น ๒๕ภาพต่อวินาที เป็นระบบที่ใช้ในประเทศฝรั่งเศสและหลายประเทศในยุโรป และแอฟริกา
 
== '''การแพร่ภาพโทรทัศน์พื้นฐาน ''' ==
[[File:พื้นฐานการส่งและรับสัญญาณ.png|thumb|พื้นฐานการส่งและรับสัญญาณ]]
การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเกิดจากการที่เห็นภาพนิ่งที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยซ้อนเรียงกันตั้งแต่ ๑๖ ภาพต่อวินาทีขึ้นไป ซึ่งจะทำให้สายตาของมนุษย์จับการเปลี่ยนแปลงของภาพไม่ทันทำให้มองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ จากหลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการแพร่ภาพโทรทัศน์เนื่องจากการแพร่ภาพ คือ การส่งภาพและเสียงออกไปในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพเสมือนภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง
หลักในการแพร่ภาพเบื้องต้นคือการส่งสัญญาณภาพในรูปสัญญาณเอ.เอ็ม. และส่งสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณเอฟ.เอ็ม. โดยที่เครื่องส่งจะทำการเปลี่ยนภาพที่อยู่ในรูปพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางไฟฟ้า(สัญญาณภาพ) แล้วทำการขยายให้มีกำลังมากขึ้น จากนั้นจึงนำไปผสมสัญญาณกับสัญญาณวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ที่จะช่วยทำให้สัญญาณดังกล่าวสอดคล้องหรือร่วมจังหวะกันได้แล้วแพร่กระจายออกสู่อากาศ ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนที่เครื่องรับจะทำการแยกสัญญาณภาพที่ผสมมากับสัญญาณวิทยุกับสัญญาณซิงโครไนซ์ให้กลายเป็นภาพปรากฏที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ ดังรูปที่ ๔.๑ โดยการที่เครื่องรับ และเครื่องส่งจะทำงานตรงจังหวะกันได้นั้น เกิดจากสัญญาณซิงโครไนซ์ ที่ได้ทำการผสมสัญญาณ เข้ากับสัญญาณภาพ และสัญญาณวิทยุก่อนส่งเพราะสัญญาณ ซิงโครไนซ์เป็นสัญญาณที่ทำให้การสแกนเป็นไปอย่างถูกต้องทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
 
== '''การสแกนภาพ ''' ==
[[File:Manita.png|thumb|หลักการสแกนภาพ]]
ภาพโทรทัศน์ที่บันทึกไว้หรือแสดงออกทางหน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆ เรียกว่า จุดภาพหรือพิกเซล ซึ่งพิกเซลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากข้อมูลแสง (ความสว่างของภาพ) ให้เป็นค่าทางไฟฟ้าที่เป็นสัญญาณภาพ และแทนสีแดง สีเขียว สีน้ำเงินในภาพโดยการใช้ลำแสงสแกนตามแนวนอนทีละเส้น
จากด้านซ้ายไปด้านขวา และจากด้านบนลงด้านล่าง สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะส่งไปแสดงผลที่เครื่องรับทีละเส้นแบบเส้นต่อเส้น ซึ่งเครื่องรับจะใช้สัญญาณภาพเป็นสัญญาณควบคุมลำอิเล็กตรอนเพื่อเขียนภาพที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ตามภาพที่ส่งมาดังการทำงานเบื้องต้น
 
== ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น ==
เส้น 93 ⟶ 143:
 
== อ้างอิง ==
<ref>http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Television_Broadcasting/index.php</ref>
{{รายการอ้างอิง}}