ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ภาพ Porte_vers_mer_.JPG ด้วย Porte_vers_mer.JPG จากวิกิพีเดียคอมมอนส์
เพิ่มเนื้อหา ที่มาของพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง,หลังการทำงาน,ศักยภาพและการพัฒนา,ผลกระทบ
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 5:
 
'''พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง''' เป็นการใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สามารถคาดการได้ของน้ำที่มีระดับสูงขึ้นหรือลดลง อันเนื่องจาก แรงดึงดูดของดวงจันทร์หรือพลังงานลม ทำให้เกิดระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงและไหลวน ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นต่อเนื่อง เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา จึงถูกเรียกว่า[[พลังงานหมุนเวียน]]
 
==ที่มาของพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง==
"'พลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง"' เกิดจากการใช้ประโยชน์จาก''ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง'' ทางธรรมชาติที่เกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ระดับน้ำในมหาสมุทรและทะเลมีความสูงขึ้นหรือลดลงในแต่ละวัน โดยนักวิทยาศาสตร์พยายามนำพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลงมาใช้ โดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของพลังงานศักย์ ความสูงขึ้นและลดลงของน้ำที่อยู่ชายฝั่ง โดยสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลงตรงบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำขึ้น-น้ำลงอย่างมาก หรือมีการหมุนเวียนของน้ำที่อยู่ในระดับความสูง20 -30 เมตร
 
==หลังการทำงานของพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง==
พลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง ใช้หลักการพื้นฐานมาจาก ''พลังงานศักย์''และ''พลังงานจลน์''เป็นหลักการเดียวกับ''เขื่อนพลังงานน้ำ'' ที่การกักเก็บน้ำบนพื้นที่สูงและมีปริมาณน้ำมากๆ แต่พลังงานน้ำขึ้น-น้ำลงใช้ความต่างของระดับน้ำขึ้น-น้ำลงในแต่ละวันเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของกำลังงานโดยการสร้างเขื่อนบริเวณปากแม่น้ำหรือปากอ่าวเพื่อที่การกักเก็บน้ำได้ปริมาณที่มากๆ โดยความต่างของระดับน้ำขึ้น-น้ำลง เมื่อน้ำขึ้นน้ำก็ไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำจนเต็มและน้ำจะไหลออกจากอ่างเก็บน้ำเมื่อน้ำลง การไหลเข้าออกของน้ำจะต้องควบคุมโดยไหลผ่านกังหันน้ำที่เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนินไฟฟ้าเมื่อกังหันน้ำหมุนก็จะได้กระแสไฟฟ้าออกมาใช้งาน
 
== การผลิตไฟฟ้า ==
เส้น 14 ⟶ 20:
 
ประเทศเกาหลียังมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบ tidal barrak อีก 2 โครงการ ที่แรก ใกล้กับเกาะ Ganghwa กำลังการผลิต 812 MW จะแล้วเสร็จในปี 2015 อีกที่หนึ่งคือ รอบๆเกาะ Incheon ขนาก 1,320 MW เริ่มก่อสร้างปี 2017
 
ในปัจจุบัน ประเทศสกอตแลนด์ ได้กำลังก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลงที่ใหญ่ที่สุดในสกอตแลนด์ โดยจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าสามารถจ่ายไฟฟ้าให้ 175,000 ครัวเรือน ซึ่งคาดจะสร้างเสร็จในปี 2015
==ศักยภาพและการพัฒนาพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลงในประเทศไทย==
จาการวัดและเก็บข้อมูลของน้ำขึ้น-น้ำลง ภายในประเทศไทยได้ข้อสรุปว่าความสูงของน้ำลงเต็มที่ของประจำวันตามชายฝั่งน่านน้ำไทยและแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่มีความแตกต่างของระดับน้ำขึ้น-น้ำลงค่อยข้างสูงกว่าบริเวณอื่นคือ บริเวณ ปากแม่น้ำระนอง ''จังหวัดระนอง'' น้ำขึ้นความสูงสุด ประมาณ 4 เมตรโดยค่าเฉลี่ยตลอดทั้งปีน้ำขึ้นสูงสุดประมาณ 2 เมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าที่จะนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้ ดังนั้นการพัฒนาพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลงในประเทศไทยจึงไม่ได้มีการศึกษาและวิจัยเพราะความต่างของระดับน้ำขึ้น-น้ำลงในน่านน้ำไทยนั้นมีค่าความสูงของระดับน้ำที่ค่อนข้างต่ำ
 
== ผลกระทบ ==
โรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง นั้นต้องก่อสร้างปิดกันปากแม่น้ำหรือปากอ่าง ทำให้มีผลต่อระบบนิเวศวิทยา และส่งเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่างดังนี้
 
1.การสร้างเขื่อนอาจมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำและการเดินเรือ
2.อาจทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอ่างเก็บน้ำในเวลาน้ำขึ้น
 
3.ส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพการท่องเที่ยวเพราะต้องสร้างเขื่อนบริเวณปากแม่น้ำ
 
ใบพัดของเทอร์ไบน์อาจเป็นอันตรายต่อปลาบางชนืด
เส้น 25 ⟶ 42:
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างชายฝั่ง]]
{{โครงวิทยาศาสตร์}}
 
==อ้างอิง==
http://www.pea-encom.com/index.php?mo=3&art=41956910
 
https://docs.google.com/document/d/1EuDkDyvE0wJJ_VOcc0kam7AGKDfZA1z7qF1TpwfYZpU/edit?hl=th&pli=1
 
http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=122&cno=6230
 
http://www.wyretidalenergy.com/tidal-barrage/la-rance-barrage
 
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379045586