ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาสุมังคละโพธิสัตว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย''' พระมหากษัตริย์ลาวผู้ครองราชสมบัติสืบต่อจาก[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] เอกสารลาวเรียกชื่อต่างๆ กัน เช่น พระยาแสนสุรินทร์ขว้างฟ้า พระสุมังคละโพธิสัตว์อัยการาชา จารึกบางหลักเรียกชื่อว่า พระสุมังคละไอยโกโพธิสัตว์
 
พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยมีชื่อเดิมอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ทราบว่าจัน เกิดเมื่อ [[พ.ศ. 2055]] ในสกุลนายบ้านแห่งหนึ่งในเขต[[เมืองหนองคาย]]ซึ่งขณะนั้นเป็นขอบขัณฑสีมาของ[[ราชอาณาจักรล้านช้าง]] เป็นคนที่เฉลียวฉลาดและกล้าหาญมาก เริ่มเข้ารับราชการในรัชกาล[[พระเจ้าโพธิสารราช]] จนได้อยู่ในตำแหน่งพระยายศลือเกียรติ์และพระยาแสนเมืองในรัชสมัย[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] ในคราวสงครามพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชร่วมมือกับ[[สมเด็จพระมหินทราธิราช]]แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ตี[[เมืองพิษณุโลก]] (อันเนื่องจากกรณี[[พระเทพกษัตรีย์]]) พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยผู้นี้ก็ได้เข้าร่วมทัพในสงครามครั้งนี้ด้วย
 
เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชหายสาบสูญไปใน [[พ.ศ. 2114]] พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยได้ขัดแย้งกับพระยาจันทสีหราช ซึ่งเป็นเสนาบดีคนสำคัญอีกคนหนึ่ง เนื่องจากต่างฝ่ายต่างต้องการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[[พระหน่อแก้วกุมาร]] พระราชโอรสที่เหลืออยู่ของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จนก่อสงครามกลางเมืองขึ้น ผลปรากฏว่าฝ่ายพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยเป็นฝ่ายชนะและได้สถาปนาตัวเองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (แต่นักประวัติศาสตร์จัดให้เป็นกษัตริย์องค์หนึ่งด้วย) มีพระนามว่า '''"พระสุมังคละโพธิสัตว์อัยการาชา"''' ในปี พ.ศ. 2115 ขณะมีอายุได้ 60 ปี แต่คนทั่วไปเรียกว่า "พระเจ้าปู่หลาน"
 
เหตุที่พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยใช้นามข้างต้นนี้ นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานจากพระนามเพราะว่าพระยาแสนสุรินทร์ฯ น่าจะมีความสัมพันธ์กับพระหน่อแก้วกุมารในฐานะ พระอัยกา (ตา) เนื่องจากเป็นไปได้ว่าพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยได้ถวายลูกสาวของตนให้เป็นพระสนมของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
 
พระสุมังคละโพธิสัตว์อัยการาชาครองราชสมบัติในกรุงเวียงจันทน์ได้เพียง 2-3 ปี ใน [[พ.ศ. 2118]] กองทัพพม่าของ[[พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง]]สามารถตีกรุงเวียงจันทน์ได้สำเร็จเป็นครั้งที่ 2 พระองค์จึงหลบไปซ่อนตัวอยู่ในป่า ทางกองทัพพม่าจึงตั้งให้[[พระมหาอุปราชาวรวังโส]] พระอนุชาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชปกครองกรุงเวียงจันทน์แทน
 
เมื่อกองทัพพม่าถอนทัพกลับไปแล้ว พระสุมังคละโพธิสัตว์อัยการาชาจึงออกจากป่ามาเข้าร่วมกับพระมหาอุปราชวรวังโส แต่กลับถูกพระมหาอุปราชวรวังโสจับตัวส่งไปให้[[อาณาจักรหงสาวดี]]แทน ซึ่งทางฝ่ายหงสาวดีก็ก็ให้การดูแลรับรองพระองค์เป็นอย่างดี ตราบจนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุวุ่นวายในอาณาจักรล้านช้างจนทำให้พระมหาอุปราชาวรวังโสสิ้นพระชนม์ใน [[พ.ศ. 2123]] [[พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง]]จึงส่งตัวพระสุมังคละโพธิสัตว์อัยการาชาให้กลับมาปราบปรามเหตุวุ่นวายและปกครองอาณาจักรล้านช้างอีกครั้ง โดยมีกองทัพพม่าคอยกำกับดูแลด้วย ในครั้งนี้พระองค์อยู่ในราชสมบัติต่อมาเพียง 2 ปีก็สวรรคตใน [[พ.ศ. 2125]]
 
พระสุมังคละโพธิสัตว์อัยการาชามีพระราชโอรสที่สืบราชสมบัติ 1 พระองค์ คือ [[พระยานครน้อย]]
บรรทัด 15:
==อ้างอิง==
* ดวงไซ หลวงพะสี, '''คู่มือพงสาวะดาน คนลาว แผ่นดินของลาว.''' พิมพ์ครั้งที่ 3. เวียงจันทน์: โรงพิมหนุ่มลาว, 2544.
* สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. '''ลำดับกษัตริย์ลาว.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545.
 
{{เริ่มกล่อง}}
{{สืบราชสมบัติ |
ก่อนหน้า= [[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] |
เส้น 32 ⟶ 31:
ถัดไป= [[พระยานครน้อย]] |
}}
{{จบกล่อง}}
 
{{เกิดปี|2055}}{{ตายปี|2125}}