ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดสกลนคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Samapolphu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Samapolphu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41:
จังหวัดสกลนครตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการขุดพบฟอสซิล[[ไดโนเสาร์]]บริเวณแนว[[ทิวเขาภูพาน]] [[อำเภอวาริชภูมิ]] ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดสกลนครอยู่ร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรม[[บ้านเชียง]]ใน[[จังหวัดอุดรธานี]] จากการสำรวจแหล่งชุมชนโบราณในพื้นที่[[แอ่งสกลนคร]] บริเวณลุ่มแม่น้ำสงครามครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ[[อำเภอบ้านดุง]] [[อำเภอหนองหาน]] จังหวัดอุดรธานี [[อำเภอสว่างแดนดิน]] [[อำเภอวาริชภูมิ]] [[อำเภอพังโคน]] [[อำเภอวานรนิวาส]] [[อำเภอพรรณานิคม]] และรอบ ๆ [[หนองหาร]] [[อำเภอเมืองสกลนคร]] พบแหล่ง[[โบราณคดี]]ก่อนประวัติศาสตร์จำนวน 83 แห่ง ชุมชนโบราณของแอ่งสกลนครนี้มีอายุประมาณ 600 ปีก่อนพุทธกาลจนถึงพุทธศตวรรษที่ 8 (ระหว่าง 3,000-1,800 ปีมาแล้ว) จากหลักฐานการค้นพบต่าง ๆ ของที่นี่พบว่า ชุมชนโบราณในแอ่งสกลนครได้มีการรวมตัวกันเป็นสังคมขนาดใหญ่และอาจจะพัฒนาเป็นสังคมเมืองในสมัยต่อมา
 
สกลนครเดิมชื่อ '''[[หนองหารหลวง|เมืองหนองหารหลวง]]''' แห่งเป็นหัวเมืองเอกทางภาคเหนือของอาณาจักรขอมโบราณ เพื่อต้านการรุกรานจากอาณาจักรจามปา ที่ในขณะนั้นมีศูนย์กลางที่ธาตุพนมในปัจจุบัน โดยขุนขอมราชบุตรเจ้าเมืองอินทปัฐนคร ซึ่งได้อพยพครอบครัวและบ่าวไพร่มาจากเมือง[[เขมร]] มาสร้างเมืองใหม่ที่ริมหนองหารหลวง บริเวณท่านางอาบ ปัจจุบันเรียกว่าท่าศาลา [[อำเภอโคกศรีสุพรรณ]] มีเจ้าปกครองเรื่อยมาจนสิ้นสมัยพระเจ้าสุวรรณภิงคาระ เมื่อเกิดฝนแล้งทำให้ราษฎรอพยพไปเมืองเขมร เมืองหนองหารหลวงจึงร้างอยู่ระยะหนึ่ง ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่อสกลนครอยู่ภายใต้อิทธิพลของ[[อาณาจักรล้านช้าง]] จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "[[เชียงใหม่หนองหาร]]" หรือเมือง[[สระหลวง]] แต่ก็มีข้อสันนิฐานสันนิษฐานอย่างหนึ่งว่าในสมัยสุโขทัย ตามที่ระบุในศิลาจารึกว่า “...อยู่ในสองแคว ได้เจ็ดข้าว จึงนำพลมา มีทั้งชาวสระหลวง สองแคว ปากยม พระบาง ชากังราว สุพรรณภาว นครพระชุม เบื้อง...เมืองพาน เมือง...เมืองราด เมืองสะค้า เมืองลุมบาจาย เป็นบริพารจึงขึ้นมานบพระบาทลักษณตนหากประดิษฐานแต่ก่อนเหนือจอมเขาสุมนกูฏนี้...” สกลนคร น่าจะเป็นชายแดนทางทิศตะวันออกของสุโขทัยที่ชื่อ เมือง[[สะค้า]] เพราะจากลักษณะภูมิประเทศที่หนองน้ำขนาดใหญ่ และเป็นหัวเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยขอมแล้ว จากนั้นเมืองสกลนคร คงอยู่ใต้การปกครองกันไปมา ระหว่างอาณาจักรล้านช้างกับอาณาจักรสุโขทัย และไม่ค่อยมีบทบาททางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นนัก จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้คนกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กๆทำมาหากินตามริมหนองหาร จ่ายส่วย อากรให้เจ้าแขวงประเทศราชศรีโคตรบอง เพื่อถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองให้แก่ราชธานีกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น
 
จนมาถึงในสมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยครอบครัวมาตั้งบ้านเมืองดูแลรักษาองค์พระธาตุเชิงชุม จนมีผู้คนมากขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชิงชุมเป็น '''[[สกลทวาปี|เมืองสกลทวาปี]]''' โดยแต่งตั้งให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เจ้าเมืองสกลทวาปีคนแรก ต่อมาปี [[พ.ศ. 2369]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้เกิดกบฏ[[เจ้าอนุวงศ์]]เวียงจันทน์ เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้เตรียมกำลังป้องกันเมือง [[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] เป็นแม่ทัพมาตรวจราชการเห็นว่าเจ้าเมืองกรมการไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมือง ปล่อยให้ข้าศึก (ทัพเจ้าอนุวงศ์) ล่วงล้ำไป[[เมืองนครราชสีมา]]ได้โดยง่าย จึงสั่งให้นำตัวพระธานีไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนในเมืองสกลทวาปีไปอยู่ที่[[อำเภอกบินทร์บุรี|เมืองกบินทร์บุรี]]บ้าง [[อำเภอประจันตคาม|เมืองประจันตคาม]]บ้าง ให้คงเหลือรักษาองค์พระธาตุเชิงชุมแต่เพียงพวกเพี้ยศรีคอนชุม ตำบลธาตุเชิงชุม บ้านหนองเหียน บ้านจานเพ็ญ บ้านอ่อมแก้ว บ้านธาตุเจงเวง บ้านพราน บ้านนาคี บ้านวังยาง และบ้านพรรณา รวม 10 ตำบล เพื่อให้เป็นข้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุมเท่านั้น