ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือโคร่งไซบีเรีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
เสือโคร่งไซบีเรีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึงเกือบ 3 เมตร และหนักได้ถึงเกือบ 300 กิโลกรัม เป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเสือโคร่งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าแผ่กว้าง กรามใหญ่ ลวดลายน้อย และพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองออกขาวมากกว่าเสือโคร่งชนิดอื่น ๆ สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะการปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มี[[หิมะ]]และความหนาวเย็นอยู่รอบตัว
 
ในอดีต เสือโคร่งไซบีเรียเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่กว้างขวางของ[[ทวีปเอเชีย]] แต่ในปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรียมีแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นป่าผืนเล็กที่อยู่ตอนเหนือของเมือง[[วลาดีวอสตอค|วลาดิวอสตอค]] [[ประเทศรัสเซีย]] ตามแนวชายฝั่งทะเล[[ทะเลญี่ปุ่น]]ทางตอนเหนือ และมีจำนวนเพียง 400 ตัว การทำเหมืองแร่และการทำไม้ในแถบไซบีเรียตะวันออกซึ่งเป็นถิ่นของเสือโคร่งไซบีเรีย
 
ที่[[ประเทศจีน]] ในปี [[ค.ศ. 1990]] มีการพบเห็นเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียใน[[เทือกเขาฉางไป๋]]ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ใน[[ประเทศเกาหลีเหนือ]] สันนิษฐานว่ายังมีเสือโคร่งไซบีเรียหลงเหลืออยู่บริเวณภูเขา[[เปกดู]] ซึ่งเป็นบริเวณพรมแดนที่ติดต่อ[[เทือกเขาฉางไป๋]]ของจีน
 
ปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรีย พบอาศัยอยู่ใน[[ป่าไทก้า]]ของ[[ไซบีเรีย]] คาดมีเหลืออยู่ในธรรมชาติราว 200 ตัว ส่วนในจีนคาดว่ามีประมาณ 14-17 ตัว โดยพบล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ในป่าของเขตศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติ [[มณฑลจี๋หลิน]] คาดว่าเป็นเสือเพศผู้ตัวผู้อายุราว 2 ปี ถูกจับภาพได้โดยกล้องวงจรปิด<ref>{{cite web|url=http://news.ch7.com/detail/90829/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2.html|title= จีนเผยคลิปภาพพบเสือหนุ่มไซบีเรียในพื้นที่ป่า|date=12 October 2014|accessdate=12 October 2014|publisher=ช่อง 7}}</ref>
 
ในเดือน[[พฤศจิกายน]] ปี [[ค.ศ. 2007]] มีรายงานว่า เสือโคร่งไซบีเรียวัย 12 ปี จำนวน 4 ตัว ใน[[สวนสัตว์]]ปิงชวนปาร์ค ในเมือง[[เสิ่นหยาง]] [[มณฑลเหลียวหนิง]] ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน รุมกินซากของเสือโคร่งไซบีเรียตัวหนึ่ง ที่อยู่ด้วยกันมานาน 5 ปี ซึ่งเป็นพฤติกรรมปกติที่เสืออาจกินซากพวกเดียวกันเอง แต่ไม่มีใครทราบว่าเสือตัวที่ตายนี้ ตายมาก่อนหน้านั้น หรือตายเพราะถูกเพื่อนเสือในกรงเดียวกันรุมฆ่า <ref>[http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9500000137604 สยอง! เสือโคร่งไซบีเรียหิวโซรุมกินโต๊ะพวกเดียวกัน จาก[[ผู้จัดการออนไลน์]]]</ref><ref>นิตยสาร SM@RTPET ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 คอลัมน์ สัตว์ป่าน่ารู้ หน้า 201-213 โดย พัชรินทร์ ธรรมรส</ref>